ภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชน (คาทอลิกและโปรแตสแตนท์)

เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม 2018 เวลา 19.00 น คริสตชนคาทอลิกและโปรแตสแตนท์ ได้ภาวนาเพื่อเอกภาพคริสตชน ความเป็นหนึ่งเดียวกัน (คาทอลิกและโปรแตสแตนท์) หัวข้อ “พระหัตถ์ของพระเจ้าทรงพลานุภาพ” (เทียบ อพย.15:16) ณ อาสนวิหาร พระหฤทัยเชียงใหม่
มีบิชอป บรรดาบาทหลวง ศาสนจารย์และและสัตบุรุษ ได้แห่เข้ามาในวัดเพื่อทำการเริ่มพิธีภาวนา มีบทเทศน์ และให้พรแก่สัตบุรุษ หลังพิธีมีอาหารว่างสำหรับทุกคนและได้พูดคุยกันในโอกาสนี้ก่อนที่จะแยกย้ายกันกลับบ้านต่อไป

0

ไปเยี่ยมวัดนักบุญมอนิกา น่าน

เช้าวันเสาร์นี้ (20 มกราคม ค.ศ. 2018) นั่งรถไป 5 ชั่วโมง ถึงวัดนักบุญมอนิกา จ.น่าน คุณพ่อธนัย สุวรรณใจ เจ้าอาวาส และมีซิสเตอร์ 2 คน คณะมารีอาบัมบีน่า ช่วยงานอภิบาล

พ่อไปดูอาคารอภิบาล (หลังคาสีแดง) คือ เสร็จตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม ค.ศ. 2017

เช้าวันอาทิตย์ เวลา 09.00 น. มีสัตบุรุษและสามเณรเล็ก 18 คน คณะพระมหาไถ่ คุณพ่อชัยนรินทร์ เหลาพรม เป็นอธิการ ร่วมเสกอาคารอภิบาล เพื่อใช้เป็นสำนักงานแผนกพระคัมภีร์ ห้องประชุมเยาวชนของวัด ที่พักชาวบ้าน และผู้ป่วย

ต่อด้วยมิสซา และประชาสัมพันธ์เรื่อง กองทุนน้ำใจคาทอลิก หลังมิสซามีรับประทานอาหารว่าง สนทนาร่วมกัน

คุณพ่อมัทธีอา คณะเซเวเรี่ยน อันนา เปาลา และมอนีกา เยาวชาอาสาสมัครชาวบราซิล มาเยี่ยมซิสเตอร์เซเวเรี่ยน และยังมีสตรีชาวอังกฤษคนหนึ่งมาเยี่ยมเพื่อน ก็มาร่วมมิสซาด้วย

ทุกวันอาทิตย์ มีมิสซา เวลา 09.00 น. ภาษาไทย และ 16.00 น. เป็นภาษาอังกฤษครับ

“เวลานั้นสั้นนัก… จงกลับใจ และเชื่อข่าวดีเถิด”

************
บิชอป วีระ อาภรณ์รัตน์
21 มกราคม ค.ศ. 2018

1

สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลธรรมดา 21 มกราคม 2018

สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลธรรมดา 21 มกราคม 2018

บทอ่าน ยนา 3:1-5, 10   ;   1 คร 7:29-31   ;   มก 1:14-20

เวลาที่กำหนดไว้มาถึงแล้ว

พระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้างจากนักบุญยอห์นในแม่น้ำจอร์แดน  ทรงได้รับการมอบอำนาจของพระบิดา  โดยผ่านทางพระจิต  พระวรสารของนักบุญมาระโกได้บรรยายเรื่องนี้รวดเร็ว (และสั้น) มาก  หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ประโยค  นักบุญมาระโกได้สรุปให้เราทราบถึงการเทศน์ของพระเยซูเจ้า และการเรียกศิษย์สี่คนแรก

จากกาลิลี

สำหรับประชาชนแคว้นยูเดีย  ซึ่งเป็นเมืองยิวเขตอื่น  กาลิลีเป็นแคว้น (ทางภาคเหนือ) ที่ถูกเหยียดหยามและถูกสงสัย  กาลิลีได้รับอิทธิพลด้านประเพณี  ด้านศาสนา  และวิธีการพูดจากคนต่างความเชื่อที่เป็นเพื่อนบ้าน  ชาวยิวทั่วไปคิดว่าไม่มีอะไรดีมาจากกาลิลี  ผลที่ตามมา คือ พระเยซูเจ้าเป็นชาวกาลิลี (นาซาเร็ธอยู่ในกาลิลี)  กำลังเทศน์สอนข่าวดีจากสถานที่เล็กๆ และไม่สำคัญ (วรรคที่ 14)  คำสอนเรื่องความรักสากลของพระเยซูเจ้าจากเมืองจนๆ และถูกเหยียดหยาม    คนที่มีอำนาจและคนที่มีสิทธิพิเศษต่อต้าน  ดังที่ผู้เขียนพระวรสารได้เน้นด้วยการชี้ว่า “หลังจากที่ยอห์นถูกจองจำ” (วรรคที่ 14)  เป็นการเตือนล่วงหน้าถึงสิ่งที่จะเกิดกับพระเยซูเจ้า

พระเยซูเจ้าทรงประกาศว่า “เวลาที่กำหนดไว้มาถึงแล้ว” (วรรคที่ 15)  วันของพระเจ้ามาถึงแล้ว  พระประสงค์ของพระเจ้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์  พระอาณาจักรของพระเจ้าถูกเปิดเผยในพระองค์  ไม่ใช่เรื่องที่เกิดในใจเราเอง  แต่เป็นแผนการของพระเจ้าซึ่งเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์  ซึ่งเรามนุษย์ดำเนินชีวิตและสิ้นใจ  พระอาณาจักรแห่งความยุติธรรมและความรักเป็นพระประสงค์ของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติ  และเพราะเหตุนี้จึงท้าทายทุกคน

เครื่องหมายแห่งกาลเวลา

การเป็นคริสตชน หมายความถึง การเอาใจใส่ เวลาแห่งพระพรพิเศษ (Kairos ภาษากรีก ไครอส) ที่พระเจ้าทรงเปิดเผยที่นี่และเวลานี้  เป็นมิติด้านประกาศกแท้ของชีวิตคริสตชนทุกคน ที่เสี่ยง  ต้องเอาใจใส่ต่อการพิพากษาของพระเจ้า  เกี่ยวกับสถานการณ์ชีวิตของเราในประเทศ  ต้องใส่ใจต่อปฏิกิริยาต่อกิจการบ้านเมืองที่ขัดแย้งกับอาณาจักรแห่งชีวิต  การเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันกับคนจน  เป็นประจักษ์พยานของชุมชนคริสตชน  ที่อยู่ท่ามกลางคนจน  และประชาชนที่ถูกทอดทิ้งในโลก  เพื่อเคารพศักดิ์ศรีมนุษย์  เพื่อเป็นความยินดีและความหวังของคนจนที่กำลังทนทุกข์  และเพื่อเรียนรู้จักการภาวนาที่ลึกซึ้งในท่ามกลางการต่อสู่เพื่ออิสรภาพ  ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องหมายของการประทับอยู่ของอาณาจักรพระเจ้าในประวัติศาสตร์ของเรา

ข้อเรียกร้องเพื่อเข้าในพระอาณาจักรของพระเจ้า คือ “จงกลับใจ” (วรรคที่ 15)  นี่เป็นคำสั่งเร่งด่วน  นักบุญเปาโลสอนว่า “เวลานั้นสั้นนัก” (1 คร 7:29)  เวลามาถึง  พร้อมกับพระพรของพระอาณาจักร  ช่วยเราให้มีทัศนคติใหม่ต่อพระเจ้าและผู้อื่น   ประกาศกโยนาห์ได้รับพันธกิจให้ไปบอกชาวนินะเวห์ให้กลับใจ  นินะเวห์เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอัสซีเรีย (ประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล  ปัจจุบันอยู่บริเวณตรงข้ามกับเมืองโมซูล  ประเทศอิรัค)  เป็นศัตรูของอิสราเอล (ยนา 1:1-2)  ประกาศกโยนาห์เป็นชาวยิวผู้รักประเทศของตน  ไม่ต้องการรับภาระหน้าที่นี้  แต่ในที่สุดได้ยอมรับพระประสงค์ของพระเจ้าเพื่อให้อภัย  ซึ่งไม่จำกัดเชื้อชาติหรือศาสนา (3:1-5)  พระอาณาจักรของพระเจ้าเป็นพระหรรษทาน  แต่ก็เรียกร้องเรา  ศิษย์กลุ่มแรกได้ยิน “ข่าวดีนี้”  และเป็นส่วนหนึ่งในพันธกิจของพระเยซูเจ้า (มก 1:16-20)  ข่าวดีนี้ได้เปลี่ยนแปลงชีวิตของพวกเขา  และต้องเปลี่ยนชีวิตของเราด้วยครับ

บิชอป  วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปล
จาก  Sharing the Word Through the Liturgical Year
โดย Gustavo Gutierrez, หน้า 130-132.

รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี และรู้ให้

มีมากกว่า 80 ประเทศทั่วโลกที่ฉลองวันเด็กในวันที่ต่างกัน เราโชคดีที่ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศเหล่านี้ ที่กำหนดให้วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ประเทศไทยได้เริ่มมีการเฉลิมฉลองเพื่อให้เด็กๆ ได้มีโอกาสสนุกสนาน และสร้างจิตสำนึกในบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศ

วันเด็กปีนี้ คณะโฟโคลาเรเชียงใหม่ได้จัดกิจกรรมงานวันเด็ก ในวันอาทิตย์ที่ 14 มกราคม 2561  โดยจัดขึ้น 2 แห่ง คือ ที่หมู่บ้านเวียงทอง อำเภอเมือง และหมู่บ้านป่ายางงาม อำเภอดอยสะเก็ด โดย นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ให้คำขวัญของปีนี้คือ  “รู้คิด รู้เท่าทัน สร้างสรรค์เทคโนโลยี” และพวกเราได้เพิ่มเติมคำว่า “รู้ให้” กับบรรดาเด็กๆ ที่พวกเราได้จัดกิจกรรมให้ในโอกาสนี้

ท่ามกลางโลกของวัตถุนิยมและบริโภคนิยม พวกเราได้นำเสนอ “วัฒนธรรมการแบ่งปันและการให้”  แก่เด็กๆโดยยึดแบบอย่างที่ยิ่งใหญ่ของพวกเรา คือพระแม่มารีย์  เราได้เชิญเด็กๆ ที่เคยมาร่วมกิจกรรมกับพวกเราอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 24 คน มาร่วมกิจกรรมวันเด็กที่บ้านโฟโคลาเรหญิง (หมู่บ้านเวียงทอง)  ขณะที่เด็ก ๆ อีก 40 คน ที่หมู่บ้านป่ายางงาม ซึ่งเป็นหมู่บ้านชนเผ่าลาหู่ เด็กๆได้เล่นเกมส์และทานอาหารเที่ยงพร้อมกับพ่อแม่ พี่น้อง และเพื่อนๆ  นอกจากความสนุกสนานแล้ว เด็กๆได้เรียนรู้ “การให้และการแบ่งปัน” แม้ว่าพวกเขาจะไม่มีเงิน หรือสิ่งของต่างๆ แต่พวกเขาก็ได้เรียนรู้จากตัวอย่างชีวิตแห่งการให้ของแม่พระ เช่น ให้รอยยิ้ม ให้การฟัง ให้มิตรภาพ ให้ความสุภาพ ให้ความอดทน ฯลฯ  ซึ่งให้ความสุขทางจิตใจที่มีค่ามากและไม่รู้ลืม

Over 80 countries all over the globe celebrate Children’s Day on different dates. We are fortunate that Thailand is one of these countries that dedicate a special day for children every second Saturday of January each year. Since 1955 the Children’s Day in Thailand is celebrated to provide children the opportunity to have fun and create awareness about their significant role towards the development of the country.

As part of this year’s Children’s Day, the Focolare Movement in Chiang Mai held the celebration last Sunday, January 14, 2018 in two different places – Wiang Thong Village in the Chiang Mai District and Pa Yang Ngam Village in the Doisaket District. This year’s National Children’s Day theme that was given by the Thai Prime Minister Prayut Chan-o-cha was “Ruu Khit, Ruu Thao Than, Srangsan Technology”, to which we have added “Lae Ruu Hai”.

In a world of materialism and consumerism, we propose to the children the culture of sharing and giving whose great model is our Mother Mary. 24 boys and girls celebrated this special day in the Women’s Focolare House in Wiang Thong Village while 40 little children in a Lahu Catholic Village played games, had lunch together and enjoyed the celebration with their parents, brothers, sisters and friends. Everyone had fun during this memorable day but what raises our spirit the most is that our children learned that they can “give and share” to others even if they do not have money or material things by following Mary’s example.

1516249200403

ศีลมหาสนิท – บูชามิสซาขอบพระคุณ: บทพระสิริรุ่งโรจน์ และ บทภาวนาเปิด

ศีลมหาสนิท – บูชามิสซาขอบพระคุณ: บทพระสิริรุ่งโรจน์ และ บทภาวนาเปิด
‘ขอให้จารีตพิธีสามารถกลายเป็นโรงเรียนแท้จริงแห่งการสวดภาวนาสำหรับพวกเรา’

วันพุธที่ 10  มกราคม ค.ศ. 2018

 

นครรัฐวาติกัน – วันพุธที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2018 การเข้าเฝ้าทั่วไปกับพระสันตะปาปาฟรังซิสกำหนดไว้เป็นเวลา 9.25 น. ณ ห้องประชุมใหย่ เปาโล ที่6 ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสเสด็จไปพบกลุ่มผู้แสวงบุญและสัตบุรุษชาวอิตาเลียนและที่มาจากทั่วโลก

ในคำปราศรัยที่เป็นภาษาอิตาเลียนสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสยังทรงสอนคำสอนต่อไปเกี่ยวกับ พิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ  ครั้งนี้พระองค์ทรงชวนให้รำพึงถึงบทเพลง บทพระสิริรุ่งโรจน์และบทภาวนาเปิดพิธี

        หลังจากที่ได้สรุปคำสอนเป็นหลายภาษาแล้วสมเด็จพระสันตะปาปาเสด็จไปต้อนรับทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น

การเข้าเฝ้าจบลงด้วยการขับร้องบทเพลง ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลายตามด้วยการอวยพรของสมเด็จพระสันตะปาปา

* *

คำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปา
อรุณสวัสดิ์พี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

        ในการเรียนคำสอนที่แล้วมาเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท หรือพิธีบูชามิสซา เรามีการไตร่ตรองกันเกี่ยวกับการสำนึกถึงบาปซึ่งช่วยให้เราสำรวมตนและแสดงตนต่อพระเจ้าอย่างที่เราเป็น การสำนึกตนเองว่าเป็นคนบาปโดยหวังว่าจะได้รับการอภัย

ความจริงความกตัญญูทีเราแสดงออกในบทเพลง “พระสิริรุ่งโรจน์” ที่เข้ามาในชีวิตของเรานั้นเกิดจากการสัมผัสระหว่างความน่าสงสารของมนุษย์และพระเมตตาของพระเจ้า  ซึ่งเป็น “บทเพลงเก่าแก่ที่ได้รับความเคารพซึ่งพระศาสนจักรที่รวบรวมกันในพระจิตถวายการสรรเสริญพร้อมกับการวิงวอนต่อพระบิดาและพระชุมพา” (Ordinamento General del Messale Romano, 53)

บทเพลงนี้เริ่มต้นด้วย “พระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าในสรวงสวรรค์”  เป็นการนำเอาบทเพลงของทูตสวรรค์ที่ขับร้องด้วยความชื่นชมยินดีในการบังเกิดของพระเยซูคริสต์ ที่เบ็ธเลแฮม และเป็นการประกาศถึงความเชื่อมโยงระหว่างสวรรค์กับโลกมนุษย์ บทเพลงนี้ยังหมายถึงตัวเราด้วยซึ่งสำรวมตนในการสวดภาวนาว่า พระสิริรุ้งโรจน์จงมีแด่พระเจ้าในสรวงสวรรค์ และสันติสุขจงมีแด่มนุษย์ผู้มีน้ำใจดี” หลังเพลง “พระสิริรุ่งโรจน์”  หรือ บางครั้งไม่มีการร้องเพลงบทนี้ หลังพิธีกรรมอภัยบาปบทสวดที่ตามมาจะมีลักษณะพิเศษที่เรียกว่า “ภาวนาเปิดพิธี – Collect” ซึ่งแสดงถึงคุณลักษณะจำเพาะแห่งการเฉลิมฉลองที่แตกต่างกันออกไปตามวันและเวลาของปี (เทียบ Ibid. 54)  เมื่อบาทหลวงกล่าวเชิญ “ให้เราภาวนา” บาทหลวงเตือนสัตบุรุษให้สำรวมตนพร้อมกับบาทหลวงแล้วยกจิตขึ้นในช่วงเวลาเงียบสั้นๆเพื่อที่จะได้ตระหนักว่าเรากำลังอยู่ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าพร้อมกับยกจิตใจขึ้นหาพระองค์แจ้งความประสงค์ส่วนตัวที่ตนเข้ามาร่วมถวายบูชามิสซาขอบพระคุณ (เทียบ Ibid. 54) บาทหลวงกล่าว “ให้เราภาวนา” จากนั้นก็เป็นเวลาแห่งความเงียบครู่หนึ่ง แต่ละคนคิดถึงสิ่งที่ตนมีความต้องการและสิ่งที่ตนอยากวิงวอนขอในคำภาวนา

ในช่วงที่เงียบนั้นใช่ว่าจะไม่มีการสวดภาวนาก็หาไม่ แต่เป็นการสำรวมใจฟังเสียงต่างๆที่มาจากใจโดยเฉพาะย่างยิ่งเสียงขอพระจิตซึ่งเกิดขึ้น “ในช่วงเวลาแห่งพิธีอภัยบาปและการเชิญให้เราภาวนาซึ่งช่วยให้เราสำรวม  ความเงียบหลังบทอ่านและบทเทศน์จะช่วยให้เรารำพึงสั้นๆถึงสิ่งที่เราได้ฟัง และความเงียบหลังการรับศีลมหาสนิทก็เพื่อส่งเสริมการสวดภาวนาภายในสรรเสริญและทูนวอนขอต่อพระเจ้า (เทียบ Ibid. 4r5)เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มการสวดภาวนาความเงียบจะช่วยให้เราสำรวมตนเองและไตร่ตรองว่าเรามาที่นี่กันเพื่ออะไร  แล้วเราจะเห็นถึงความสำคัญในการฟังจิตใจของเราพร้อมกับเปิดใจกว้างให้กับพระคริสตเจ้า  บางครั้งเรามาจากวันที่เหน็ดเหนื่อยจากการงาน  จากวันที่มีความชื่นชมยินดี  จากวันที่มีความเศร้า  แล้วเราอยากที่จะเล่าให้พระเยซูคริสตเจ้าฟังพร้อมกับวอนขอความช่วยเหลือขอให้พระองค์อยู่ใกล้ชิดกับเรา  เราอาจมีญาติหรือมิตรสหายที่ป่วยหรือกำลังผ่านการทดลองอย่างหนัก  เราต้องการฝากชะตากรรมของพระศาสนจักรและของโลกไว้กับพระเจ้า  และสำหรับสิ่งเหล่านี้ความเงียบจะเป็นประโยชน์ เมื่อบาทหลวงรวบรวมความตั้งใจของทุกคนแล้วก็จะเปล่งเสียงดังต่อพระเจ้าในนามของทุกคนแล้วอธิษฐานภาวนาซึ่งเป็นการจบพิธีเริ่มต้นซึ่งอันที่จริงแล้บทอธิษฐานนั้นเป็นความตั้งใจของแต่ละคน  ข้าพเจ้าจึงอยากขอร้องบาทหลวงให้รักษาเวลาแห่งความเงียบนี้และไม่ต้องรีบร้อนจนเกินไปก่อนที่จะกล่าว “ให้เราภาวนา”ข้าพเจ้าขอแนะนำเรื่องนี้กับบาทหลวง  หากไม่มีความเงียบเราอาจพลาดโอกาส โดยมิได้มีการสำรวมจิตใจ

บาทหลวงจะอธิษฐานบทภาวนาเปิดพิธี(Collect)ด้วยการกางแขนออกซึ่งเป็นวิสัยของผู้ที่ทำการนมัสการซึ่งบรรดาคริสตชน ซึ่งต่างทำกันเช่นนี้ตั้งแต่ศตวรรษแรกเฉกเช่นที่มีจารึกไว้ในห้องศพใต้ดินเพื่อเลียนแบบฉบับของพระคริสตเจ้าที่กางแขนออกบนไม้กางเขน ณ บนไม้กางเขนนั้นพระคริสตเจ้าเป็นผู้ถวายการนมัสการและเป็นคำภาวนาในเวลาเดียวกันด้วย  ในพระเยซูคริสต์ที่ถูกตรึงบนไม้กางเขนนั้นเราเห็นบาทหลวงผู้ถวายการนมัสการซึ่งเป็นที่พอพระทัยของพระองค์ นั่นคือ เป็นการนบนอบเยี่ยงบุตร

ในจารีตของโรมันบทภาวนาแม้จะนั้นสั้นแต่มั่งคั่งด้วยความหมาย การรำพึงที่สวยงามสามารถทำได้จากบทภาวนาเหล่านี้ซึ่งสวยงามมาก เมื่อหวนกลับไปพูดถึงการำพึงบทสวดแม้จะเป็นบทสวดนอกพิธีมิสซา บทสวดเหล่านั้นสามารถช่วยเราให้เรียนรู้ว่าจะต้องปฏิบัติต่อพระเจ้าอย่างไร ต้องใช้คำพูดอย่างไร  ขอให้จารีตพิธีกรรมเป็นโรงเรียนแท้จริงแห่งการสวดภาวนาสำหรับทุกคน

(วิษณุ ธัญญอนันต์ เก็บเรื่องนี้มาร่วมกันไตร่ตรอง)

คาร์ดินัลปาโรลินเลขาธิการแห่งสันตะสำนัก (นายกรัฐมนตรี……

คาร์ดินัลปาโรลินเลขาธิการแห่งสันตะสำนัก (นายกรัฐมนตรีของวาติกัน):
เพื่อที่คูเรียจะได้เป็นผู้ช่วยพระสันตะปาปาอย่างแท้จริง

การให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าววาติกัน:  สมณสาส์นเตือนใจ “ความชื่นชมยินดีแห่งความรัก(Amoris Laetitia)”เกิดจากความจริงใหม่ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงนำเสนอด้วยความเฉลียวฉลาด พระศาสนจักรขอร้องคนหนุ่มสาวให้ช่วยกันเผยแพร่พระวรสาร

วันที่ 11มกราม 2018

พระคาร์ดินัลปีเอโตร ปาโรลิน

ในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าววาติกันในหลายๆเรื่อง ในประเด็นที่เกี่ยวกับการปฏิรูปโรมัน คูเรีย พระคาร์ดินัลปีเอโตร ปาโรลิน (เลขาธิการแห่งรัฐ) กล่าว่าเป้าหมายของการปฏิรูป คือ “เพื่อที่คูเรียจะได้กลายเป็น เครื่องมือในการช่วยสมเด็จพระสันตะปาปาได้อย่างเกิดผลแท้จริง”

เมื่อพูดถึงขั้นตอนที่ได้ทำไปแล้วเกี่ยวกับโครงการประชุม“C9” พระคาร์ดินัลพูดถึงการกลับใจพร้อมกับอธิบายว่า นี่คือ “จิตตารมย์ล้ำลึกที่ควรที่จะเป็นแรงบันดาลใจในการปฏิรูปทุกอย่าง” เฉกเช่นที่การกลับใจเป็น “มิติพื้นฐานแห่งชีวิตคริสตชน”

สำหรับเรื่องราวต่างๆที่มีการพูดถึงกันมากคือ สมณสาส์นเตือนใจความชื่นชมยินดีแห่งความรัก(Amoris Laetitia)ซึ่ง “เกิดจากความจริงใหม่ที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงนำเสนอด้วยความเฉลียวฉลาดและด้วยความมานะพากเพียร” เอกสารดังกล่าวเป็นการขอร้องให้มีการช่วยเหลือชีวิตครอบครัว “นอกเหนือไปจากที่ครอบครัวเป็นที่รักของพระศาสนจักรและครอบครัวกำลังเผชิญกับปัญหามากมายอยู่ในโลกขณะนี้” พระคาร์ดินัลปาโรลินได้กล่าว

นอกจากนี้แล้วเลขาธิการแห่งสันตะสำนัก นครรัฐวาติกันยังกล่าวด้วยว่าในปี ค.ศ.2018 นี้ พระศาสนจักรจะมุ่งเป้าไปที่บรรดาเยาวชน และจะกระทำด้วยวิธีการใหม่โดย “ขอร้องพวกเขาให้ทำสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้สำหรับพระศาสนจักรและพวกเขาสามารถที่จะทำอะไรได้บ้างเพื่อการเผยแพร่พระวรสาร”

ในการสัมภาษณ์ดังกล่าวซึ่งจัดทำทางวีดีโอด้วยในเว็บไซต์ www.vaticannews.vaแต่การสัมภาษณ์ต้องหยุดชงักลงเพราะพระสันตะปาปาฟรังซิสกำลังจะเสด็จไปเยือนประเทศชิลีและเปรู  ตามคำบอกเล่าของพระคาร์ดินัลจะมีสิ่งท้าทายอยู่ 2 ประการที่พระสันตะปาปาฟรังซิสทรงมีอยู่ในพระทัย นั่นคือ 1 บทบาทของชนพื้นเมืองและ 2 การต่อสู้กับคอรัปชั่น  ข้าพเจ้าคิดว่าการเยือนของพระสันตะปาปาครั้งนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา แต่เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นท้าทายอย่างมาก” พระคาร์ดินัลปาโรลินสรุป

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บเรื่องนี้มาฝากเพื่อการไตร่ตรอง)

เมื่อบางคนทำผิดต่อคุณ

เมื่อบางคนทำผิดต่อคุณ  พระเจ้าทรงต้องการให้คุณเริ่มก้าวแรกในการแสวงหาสันติ  แม้ถ้าคุณเชื่อว่าคุณไม่ได้ทำอะไรผิด  ถ้าคุณคิดว่าคำบ่นของคนอื่นเกี่ยวกับคุณจะไม่มีใครรู้  หรือเป็นการเข้าใจผิด  คุณอาจสรุปว่า  คุณไม่รับผิดชอบ  ไม่ต้องเริ่มฟื้นฟูให้เกิดสันติ  สรุปผิดแล้ว  ไม่ตรงกับการสอนของพระเยซูเจ้า

“ขณะที่ท่านนำเครื่องบูชาไปถวายยังพระแท่น  ถ้าระลึกได้ว่าพี่น้องของท่านมีข้อบาดหมางกับท่านแล้ว  จงวางเครื่องบูชาไว้หน้าพระแท่น  กลับไปคืนดีกับพี่น้องเสียก่อน  แล้วจึงค่อยกลับมาถวายเครื่องบูชานั้น” (มธ 5:23-24)

มีเหตุผลบางประการสนับสนุนให้คุณเริ่มการคืนดี  แม้ถ้าคุณไม่คิดว่าตนทำผิด

ประการสำคัญที่สุด คือ พระเยซูเจ้าทรงสั่งคุณให้ไป  คุณจึงควรเริ่มก้าวแรกสู่สันติ  ด้วยความรักต่อผู้อื่น  ปรารถนาให้เขาได้ดี  คุณจะมีสันติในใจ  ไปหาคนที่บ่นว่าคุณ  ฟังเขาอย่างใส่ใจ  คุณอาจพบความผิดที่คุณมองไม่เห็น  หรือเป็นโอกาสแสดงให้คนอื่นให้พบว่ามันไม่จริง  ไม่ว่าอย่างไร  คุณจะมีมโนธรรมชัดแจ้ง  ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่จำเป็นของสันติแท้

เมื่อบางคนทำผิดต่อคุณ

พระเจ้าทรงต้องการให้คุณไปหาคนอื่น  เมื่อคุณเชื่อว่าเป็นความผิดร้ายแรงเกินกว่าจะมองข้ามไป  นี่คือเหตุผลที่พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ถ้าพี่น้องของท่านทำผิด  จงตักเตือนเขา  ถ้าเขากลับใจ  จงให้อภัยแก่เขา” (ลก 17:3)  บางครั้งเราอาจตัดสินใจยากว่า  ความผิดของคนนั้นร้ายแรงหรือไม่  มีข้อพิจารณา คือ

ฉันต้องไป  หากข้อขัดแย้งนั้นทำลายความสัมพันธ์ของฉันกับบางคน

ถ้าความรู้สึก  ความคิด  คำพูด  หรือกิจการนั้นมารบกวนคุณบ่อยๆ  แม้คุณอาจให้อภัยแล้ว  แต่ยังเครียดและขุ่นเคืองอยู่อีก  จึงต้องแก้ไข

ฉันต้องไป  เมื่อข้อขัดแย้งกำลังทำร้ายคนอื่น

ข้อขัดแย้ง หรือ การทะเลาะกัน  มันแรงเกินกว่าจะทิ้งไว้  ผลของมันทำร้ายคุณหรือคนอื่น  นักบุญเปาโลจึงสอนเราให้ปกป้องผู้อื่นมิให้ถูกชักนำไปทำบาป (1 คร 5:1-13)

ฉันต้องไป  เมื่อข้อขัดแย้งทำร้ายผู้ทำให้ไม่พอใจ

คุณต้องชี้แจงความผิด  เมื่อทำร้ายผู้กระทำนั้น  ไม่ว่าทำร้ายตนเอง เช่น แอลกอฮอล์ หรือทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือกับพระเจ้า    เพื่อความดีของคนอื่น  เป็นพิเศษครอบครัว  เพื่อนสนิท  เราต้องรับผิดชอบ  อย่าปล่อยให้คนที่เรารักติดกับในบาปหนัก

ฉันต้องไป  เมื่อข้อขัดแย้งไม่ให้เกียรติพระเจ้า

ถ้าใครประกาศว่าเป็นชาวคริสต์  แต่ประพฤติไม่เหมาะสม  อาจจำเป็นต้องบอกเขาให้ปรับปรุงความประพฤติ  แต่มิได้หมายความว่าทุกเรื่องเล็กๆ  เพราะพระเจ้าทรงอดทนกับสิ่งที่เราทำผิด  แต่เมื่อบาปของบางคนมีผลชัดเจนจนผู้อื่นมองชาวคริสต์ส่วนรวมไม่ดีไปด้วย  จึงจำเป็นต้องแก้ไข

            พระคัมภีร์สอนว่า “จงตักเตือนแก้ไขเขา  ด้วยความอ่อนโยน” (กท 6:1)
แปลสรุปจาก แปลจาก  Resolving  Everyday Conflict (ตอนที่ 18)
โดย  Ken  Sande  และ  Kevin  Johnson หน้า 90-94.

พิธีบวชบาทหลวงคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งเบธาราม สังฆมณฑลเชียงใหม่

เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2018 พิธีบวชบาทหลวงสังฆมณฑลเชียงใหม่ จำนวน 2 ท่าน
คุณพ่อฟอนโซ ประเสริฐ  พิทักษ์คีรีบูน          คติพจน์ “พระองค์ทรงรักเราถึงเพียงนี้” (1 ยน 4:10)
และ คุณพ่อยอห์น บอสโก สมหมาย  โสภาโอภาส       คติพจน์ “เรารู้จักเจ้าตั้งแต่ก่อนที่เราจะปั้นเจ้าในครรภ์มารดา” (ยรม 1:5)

โอกาสพิธีบวชบาทหลวงคณะพระหฤทัยของพระเยซูเจ้า แห่งเบธาราม  โดย บิชอปฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์ เป็นประธานในพิธี
ณ อาสนวิหารพระหฤทัยเชียงใหม่ เวลา 10.00 น.

และขอเรียนเชิญร่วมโมทนาคุณพิธีมิสซาแรก
วันจันทร์ที่15 มกราคม ค.ศ. 2018  ณ วัดนักบุญลูกา บ้านห้วยหอย ต.แม่วิน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
บ้านเกิด  คุณพ่ออัลฟอนโซ ประเสริฐ พิทักษ์คีรีบูน

วันอังคารที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2018 ณ วัดแม่พระเสด็จเยี่ยมนางเอลิซาเบธ บ้านพุยใต้ ต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
บ้านเกิด  คุณพ่อยอห์น บอสโก สมหมาย โสภาโอภาส

1

พิธีปฏิญาณตนตลอดชีพ คณะเบธาราม

เมื่อ วันที่ 12 มกราคม 2018 เวลา 10.00 น. สมาชิกเบธาราม จำนวน 2 ท่าน ได้ปฏิญาณตนตลอดชีพ ณ วัดน้อยของคณะเบธาราม เชียงใหม่ โอกาสนี้ได้มี คุณพ่อ ยอห์น ชาญ กุ๊นุ (SCJ) อธิการเจ้าคณะเบธารามแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธี คุณพ่อเจ้าคณะภาค ได้มาแสดงความยินดีด้วย และมีบรรดา คุณพ่อ ซิสเตอร์ ศิษย์เก่าและสัตบุรุษมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

1