เมียนมา: พระศาสนจักรที่มัณฑะเลย์ (Mandalay Church) วอนชาวคาทอลิกภาวนาเพื่อสันติภาพ
หลังจากการเพิ่มระดับของความรุนแรงในเมียนมา ผู้นำพระศาสนจักรท้องถิ่นขอให้ชาวคาทอลิกในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเอกภาพและภาวนา
.
โดย นักเขียนข่าววาติกัน
14 มกราคม 2022, 9:17 น.
.
อาร์ชบิชอปมาร์โค ทิน วิน แห่งมัณฑะเลย์ (Archbishop Marco Tin Win, of Mandalay) ได้ร้องขอชาวคาทอลิกทุกคน ทั้งคณะสงฆ์ นักบวช และฆราวาส ร่วมกับท่านในการภาวนาเพื่อเมียนมา ที่แตกสลายด้วย “โควิด-19 ความหิวโหย สงครามกลางเมือง และการทรมาน”
.
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา อาร์ชบิชอปได้เรียกสัตบุรุษทุกเย็นวันเสาร์เป็นเวลาหนึ่งชั่วโมงแห่งการนมัสการ (ศีลมหาสนิท) และกระตุ้นให้พวกเขาร่วมมิสซาในวันอาทิตย์แรกของทุกเดือนภาวนาเพื่อสันติภาพ
.
อาร์ชบิชอป ทิน วิน เรียกร้องให้ผู้คนไม่สูญเสียความหวังและมีความเชื่ออย่างลึกซึ้งในพระเจ้า ท่ามกลางความกลัว ความวิตกกังวล และความสิ้นหวังที่ครอบงำประเทศ
.
ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
การต่อสู้กันอย่างรุนแรงระหว่างรัฐบาลทหารและกองกำลังตรงข้ามเกิดขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาในรัฐชาวคริสต์เตียนคายา (Christian Kayah) รัฐชิน (Chin) และรัฐกะเหรี่ยง (Karen) ที่ซึ่งพลเรือนถูกบังคับให้ออกจากบ้านและหนีไปลี้ภัยในสถาบันต่างๆของพระศาสนจักร
เสรีภาพทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เริ่มเบ่งบานในปี 2011 หลังจากการปกครองโดยทหารมากกว่า 50 ปี ถูกขัดจังหวะอย่างกะทันหันโดยการทำรัฐประหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่แล้ว ซึ่งก่อให้เกิดความไม่สงบและวิกฤตทางสังคมที่รุนแรง
.
มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,400 คน และผู้ลี้ภัยหลายพันคน
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
เมื่อวันที่ 3 มกราคม มีรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยประมาณ 192,300 คนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย กะยา (Kayah) กะเหรี่ยง (Karen) มอญ (Mon) และตะนาวศรี (Tanintharyi) และมีผู้อพยพเข้ามาในประเทศไทยประมาณ 4,700 คน ตามรายงานของสหประชาชาติเมื่อวันที่ 11 มกราคม
.
บ้านมากกว่า 1,550 หลังและทรัพย์สินของพลเรือนอื่นๆ รวมถึงวัดและโรงเรียน ถูกทำลายหรือเผาทิ้ง และประชาชน 157,500 คนต้องอพยพในเมืองซากาย (Sagaing) มาเกว (Magway) และชิน (Chin)
.
การต่อสู้กับพลเรือนและผู้ประท้วงเพื่อประชาธิปไตยทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน และมีผู้ถูกควบคุมตัวมากกว่า 10,000 คน
“เมื่อไหร่หลายทศวรรษของสงครามกลางเมืองในเมียนมาจะยุติลง” พระคาร์ดินัลชาร์ลส์ โบ อาร์ชบิชอปแห่งย่างกุ้ง (Cardinal Charles Bo, Archbishop of Yangon) ถามในการวิงวอนของท่านเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม “เมื่อไหร่เราจะได้มีสันติภาพ ความยุติธรรม และเสรีภาพที่แท้จริง เมื่อไหร่เราจะเลิกฆ่ากันเอง”
.
ยูนิเซฟ (Unicef) ประณาม
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
เดโบรา โคมินี (Debora Comini) ผู้อำนวยการยูนิเซฟประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก ได้ประณามการสังหารเด็กอย่างน้อย 4 คนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว และอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บอันเป็นผลมาจากความรุนแรงในประเทศ
.
ยูนิเซฟย้ำว่า “กังวลอย่างยิ่งต่อความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น” ในประเทศ และประณามการใช้การโจมตีทางอากาศและอาวุธหนักในพื้นที่พลเรือน นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้ “ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้แน่ใจว่ามีการสอบสวนอย่างอิสระต่อเหตุการณ์เหล่านี้เพื่อให้ผู้ที่รับผิดชอบสามารถอธิบายได้”
.
ความสำคัญสูงสุด: การปกป้องเด็ก
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
“เรารู้สึกขุ่นเคืองเป็นอย่างยิ่งกับการโจมตีเด็กที่เกิดขึ้นระหว่างการต่อสู้ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วประเทศ” โคมินีกล่าว
เธอเสริมว่า “คู่กรณีในความขัดแย้งต้องถือว่าการคุ้มครองเด็กเป็นความสำคัญสูงสุด และดำเนินการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กๆจะถูกกันออกจากการต่อสู้และชุมชนจะไม่ถูกใช้เป็นเป้าหมาย ตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกำหนดไว้ และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กซึ่งเมียนมาเป็นผู้ลงนามด้วย”
(+ ฟ. วีระ อาภรณ์รัตน์ แปล)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- คำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิส ประทานแด่ที่ประชุมสมัชชาเทววิทยาสากลเกี่ยวกับชีวิตสมณะ
- 2021 กับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส: การเดินทาง การปฏิรูป และการท้าทายของโควิด
- “ความรักประจำวันของพวกเรา” (Our Daily Love)
โอกาสเปิดปีครอบครัว “ความชื่นชมยินดีในความรัก – AMORIS LAETITIA” - ไปเยี่ยมศูนย์… คำสอนของกรุงโรม
- โครงการ “การทำให้การศึกษาแบบกระชับมั่นคงในระดับสากลในภาวะอันเนื่องมาจากผลกระทบของโลกาภิวัตน์”