สมเด็จพระสันตะปาปาทรงพบปะสัตบุรุษ: การตอบสนองต่อวิกฤตการอพยพเป็น ‘เรื่องอัปยศอดสูของมนุษยชาติ’
ในการพบปะสัตบุรุษทั่วไปในวันพุธ ( 29 ธันวาคม 2021) สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงไตร่ตรองถึงความกล้าหาญของนักบุญโยเซฟในการช่วยพระเยซูจากการสังหารหมู่ที่เบธเลเฮม และขอให้คริสตชนดำเนินชีวิตตามความกล้าหาญนั้นในชีวิตประจำวันของเรา
.
https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2021-12/pope-francis-general-audience-saint-joseph-courage-refugees.html
https://www.vaticannews.va/en/pope/news/2021-12/pope-francis-general-audience-saint-joseph-courage-refugees.html
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
โดย เดวิน วัตกินส์
29 ธันวาคม 2021
.
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงสอนคำสอนต่อเนื่องเรื่องนักบุญโยเซฟในการพบปะสัตบุรุษทั่วไปประจำสัปดาห์ โดยทรงเน้นที่บทบาทของท่านนักบุญในฐานะ “ผู้อพยพที่ถูกข่มเหงและกล้าหาญ”
.
หลังจากการพรรณนาถึงนักบุญโยเซฟในพระวรสารของนักบุญมัทธิว (2:13-23) สมเด็จพระสันตะปาปาได้ทรงกล่าวถึงการสังหารหมู่ของเด็กทุกคนที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบในเมืองเบธเลเฮม ตามคำสั่งของกษัตริย์เฮโรดหลังจากการมาเยือนของพวกโหราจารย์
.
ความอัปยศของความไม่แน่นอน
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
ในการหนีไปอียิปต์เพื่อหนีจากพระพิโรธของกษัตริย์เฮโรด ครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ “ต้องทนทุกข์กับความอัปยศอดสูเช่นนี้ และประสบกับความไม่ปลอดภัย ความกลัว และความเจ็บปวดจากการต้องจากบ้านเกิดของตน”
.
ผู้ร่วมสมัยของเราหลายคนถูกบังคับให้อดทนต่อความอยุติธรรมและความทุกข์ทรมานแบบเดียวกัน
“สาเหตุมักมาจากความเย่อหยิ่งและความรุนแรงของผู้มีอำนาจ นี่เป็นกรณีของพระเยซูเช่นกัน”
.
ผู้กดขี่ที่โหดร้ายและผู้อพยพที่กล้าหาญ
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวว่ากษัตริย์เฮโรดสั่งการให้สังหารหมู่ เพราะพระองค์รู้สึกว่าอำนาจของพระองค์ถูกคุกคามโดย “กษัตริย์ของชาวยิว” ที่เพิ่งประสูติใหม่
.
“การหลบหนีไปยังอียิปต์” – ดังที่ทราบกันดี – ได้ช่วยชีวิตพระเยซู แต่ไม่ได้ป้องกันการสังหารเด็กผู้บริสุทธิ์จำนวนมาก
.
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสว่าตอนนี้เผยให้เห็นบุคลิกที่ขัดแย้งกันสองคน: “ด้านหนึ่ง กษัตริย์เฮโรดทรงมีความโหดร้าย และในทางกลับกัน นักบุญโยเซฟเปี่ยมด้วยความเอาใจใส่และความกล้าหาญ”
.
เฮโรดเป็นสัญลักษณ์ของทรราชและเผด็จการทุกยุคทุกสมัย – แม้แต่พวกเราเอง – ผู้ปกป้องอำนาจของพวกเขาด้วยความโหดร้ายทารุณและโดย “การกระทำความรุนแรงที่ไร้มนุษยธรรม”
.
กระนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงกล่าวว่า เราเองก็สามารถยอมจำนนต่อทัศนคติแบบเดียวกัน เมื่อเรา “พยายามขจัดความกลัวของเราด้วยความเย่อหยิ่ง แม้ว่าเพียงด้วยคำพูดหรือประกอบด้วยการข่มเหงเล็กๆน้อยๆที่ตั้งใจจะทำให้คนใกล้ชิดต้องอับอาย”
.
ความกล้าหาญ: คุณธรรมในชีวิตประจำวัน
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
นักบุญโยเซฟ ตรงกันข้ามกับกษัตริย์เฮโรด: “ผู้ชอบธรรม” ผู้แสดงความกล้าหาญในการทำตามคำสั่งของทูตสวรรค์ให้หนี
.
“ใครๆก็สามารถจินตนาการถึงความผันแปรที่ท่านต้องเผชิญระหว่างการเดินทางอันยาวนานและอันตราย และความยากลำบากที่เกี่ยวข้องกับการอยู่ต่างประเทศและการพูดภาษาอื่น ความยากลำบากมากมาย ความกล้าหาญของท่านยังปรากฏออกมาในช่วงเวลาที่ท่านกลับมา เมื่อทูตสวรรค์ให้ความมั่นใจ ท่านเอาชนะความกลัวที่เข้าใจได้และตั้งรกรากกับพระนางมารีย์และพระเยซูในเมืองนาซาเร็ธ”
.
อย่างไรก็ตาม ความกล้าหาญสามารถดำรงอยู่ได้ในชีวิตประจำวันของเรา และไม่ได้เป็นเพียงคุณธรรมของ “วีรบุรุษ” เท่านั้น
.
“ในทุกยุคทุกสมัยและทุกวัฒนธรรม” พระองค์ทรงกล่าวเสริม “เราพบชายหญิงที่กล้าหาญเพื่อที่จะสอดคล้องกับความเชื่อ ได้เอาชนะความยากลำบากทุกรูปแบบ และได้อดทนต่อความอยุติธรรม การประณาม และแม้กระทั่งความตาย”
.
ความกล้าหาญเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะบอกว่า “ความอดทน” เป็นหนึ่งในคุณธรรมสำคัญประการหนึ่ง
.
‘เรื่องอัปยศอดสูของมนุษยชาติ’
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
สุดท้าย สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสว่า นักบุญโยเซฟสอนให้เราเอาชนะความกลัว เพื่อเผชิญหน้ากับความทุกข์ยากในชีวิต และเชิญทุกคนภาวนาเผื่อผู้อพยพและผู้ลี้ภัยในสมัยของเราซึ่งถูกบังคับให้หนีจากบ้าน และสำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลบหนีหรือเสียชีวิตระหว่างการเดินทาง
.
“ให้เราคิดถึงคนที่ตกเป็นเหยื่อของสงครามและต้องการหนีจากบ้านเกิดเมืองนอน แต่ไม่สามารถ ให้เราคิดถึงผู้ย้ายถิ่นที่เริ่มเดินทางนั้นสู่เสรีภาพและลงท้ายที่ถนนหรือในทะเล ให้เราพิจารณาพระเยซูในอ้อมแขนของนักบุญโยเซฟและพระแม่มารีย์ที่กำลังหลบหนี และขอให้เราเห็นพระองค์ในบรรดาผู้อพยพแต่ละคนทุกวันนี้”
.
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงกล่าวว่าวิกฤตการอพยพที่กำลังดำเนินอยู่เป็น “เรื่องอัปยศอดสูของมนุษยชาติ” ซึ่งเราไม่สามารถเมินเฉยได้
.
บทภาวนาสำหรับผู้อพยพ
· • —– ٠ ✤ ٠ —– • ·
.
ข้าแต่นักบุญโยเซฟ
ท่านผู้ประสบความทุกข์ยากของผู้ต้องลี้ภัย
เพื่อช่วยชีวิตผู้ที่ท่านรักที่สุด
โปรดปกป้องทุกคนที่หนีเพราะสงคราม ความเกลียดชัง ความหิว
โปรดสนับสนุนพวกเขาในความยากลำบาก
ทำให้พวกเขาเข้มแข็งขึ้นด้วยความหวัง
โปรดให้พวกเขาพบกับการต้อนรับและความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกัน
โปรดนำทางพวกเขา และเปิดใจคนที่สามารถช่วยพวกเขาได้ด้วยเถิด อาแมน
(ฟ. วีระ อาภรณ์รัตน์ แปล)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- สมณลิขิตของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ถึงคู่สมรสสำหรับปี ครอบครัว
- พ่อแม่ที่เผชิญความท้าทายเพื่อลูก คือวีรบุรุษ
- สาส์นวันผู้ป่วยสากลของสมเด็จพระสันตะปาปา: ความใกล้ชิด ความรักเมตตาเพื่อผู้ทุกข์ยาก
- สาส์นจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส โอกาสครบรอบ 58 ปี ของวันภาวนาสากลเพื่อกระแสเรียก
- สาส์นของพระสันตะปาปาฟรานซิส สำหรับวันผู้สูงอายุสากล (ครั้งที่สอง)
วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ. 2022