ธรรมนูญความเป็นเอกภาพของบิชอป (Episcopalis communio)
ของพระสันตะปาปาฟรานซิสเกี่ยวกับซีนอดของคณะบิชอป
1. ความเป็นเอกภาพของบิชอป (episcopalis communio) ปรากฏให้เห็นได้ทั้งคำว่าพร้อมกับและภายใต้เปโตรเป็นพิเศษในการประชุมซีนอดของบรรดาบิชอป ซีนอดของคณะบิชอปที่สถาปนาขึ้นโดยพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 เมื่อวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1965 นั้น เป็นผลพวงที่ล้ำค่าที่สุดแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 [1] ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา – ในฐานะที่เป็นสถาบันใหม่ทว่าเก่าแก่ในเรื่องแรงบันดาลใจ – ได้ให้การสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพให้กับพระสันตะปาปาด้วยช่องทางที่พระศาสนจักรเองสร้างขึ้นมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เกี่ยวกับเรื่องที่มีความสำคัญที่ต้องการความรู้ และการตัดสินใจเป็นพิเศษ เพื่อความดีงามของพระศาสนจักรทั้งครบ โดยอาศัยวิธีนี้คือซีนอดของคณะบิชอป “ที่เป็นผู้แทนแห่งหมู่คณะบิชอปทุกองค์จะแสดงความจริงให้ปรากฏว่าบิชอปทุกองค์มีความเป็นเอกภาพในฐานันดรแห่งความเอื้ออาทรส่งเสริมต่อกันเพื่อพระศาสนจักรสากล” [2]
เกินกว่าห้าสิบปีมาแล้วที่ซีนอดของคณะบิชอปได้กลายเป็นเครื่องมืออันทรงคุณค่าแห่งการแบ่งปันความรู้ การสวดภาวนาร่วมกัน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างซื่อสัตย์ การทำให้ความเชื่อของคริสตชนมีความลึกล้ำยิ่งขึ้น การปฏิรูปโครงสร้างของพระศาสนจักร และการส่งสริมงานอภิบาลทั่วโลก โดยอาศัยวิธีนี้ ณ ที่ประชุมซีนอดไม่เพียงแต่จะรับใช้ในฐานะที่เป็นสถาบันอภิสิทธิ์ของการตีความ และการให้การยอมรับอำนาจการสั่งสอนแห่งสภาสังคายนาเท่านั้น แต่ยังจะให้ความสำคัญในการกระตุ้นอำนาจการสั่งสอนต่อๆ ไปของพระสันตะปาปาอีกด้วย
ทุกวันนี้ก็เช่นเดียวกัน ณ จุดหนึ่งแห่งประวัติศาสตร์พระศาสนจักรที่กำลังเริ่ม “ศักราชใหม่แห่งการประกาศพระวรสาร” [3] เรียกร้อง “พระศาสนจักรทั่วโลก… ต้องมีสถานภาพแห่งการกระทำพันธกิจ” [4] ซีนอดของคณะบิชอปก็เช่นเดียวกับทุกสถาบันของพระศาสนจักร จะต้องเป็น “ช่องทางที่เหมาะสมสำหรับการประกาศพระวรสารในโลกทุกวันนี้แทนที่จะมัวแต่ปกป้องโครงสร้างตนเอง” [5] ที่สำคัญที่สุดต้องรับรู้ว่า “หน้าที่ในการประกาศพระวรสารจนทั่วทุกแห่งหนในโลกต้องเป็นหน้าที่แรกของคณะบิชอป” ในคำพูดแห่งสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ซีนอดจำเป็นต้อง “พิจารณาเป็นพิเศษถึงงานอภิบาลซึ่งเป็นพันธกิจที่ยิ่งใหญ่ และศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของพระศาสนจักร” [6]
2. นี่เป็นพระญาณสอดส่องของพระเจ้าที่ซีนอดของคณะบิชอปถูกสถาปนาขึ้นในบริบทแห่งสภาสังคายนาครั้งสุดท้าย ความจริงสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ตามร่องรอยมาจากสภาสังคายนาวาติกันที่ 1 [7] จึงทำให้คำสอนเรื่องหมู่คณะบิชอปมีความล้ำลึกมากยิ่งขึ้นภายใต้ธรรมประเพณีที่แท้จริงของพระศาสนจักรโดยมุ่งเป้าเป็นพิเศษไปที่ความเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ และธรรมชาติที่เป็นเอกภาพของหมู่คณะ [8] จึงปรากฏอย่างชัดเจนว่าบิชอปแต่ละองค์จะมีความรับผิดชอบโดยทันทีและไม่อาจที่จะแยกออกจากกันได้สำหรับพระศาสนจักรท้องถิ่นที่มอบไว้ให้อยู่ภายใต้การอภิบาลและความเอื้ออาทรส่งเสริมของตนเองเพื่อพระศาสนจักรสากล [9]
ความเอื้ออาทรนี้ที่แสดงถึงมิติเหนือเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) ในคุณสมบัติ (munus) ของบิชอปจะนำมาใช้เป็นรูปแบบแห่งการประชุมของบรรดาบิชอป และแสดงออกในการกระทำที่เป็นเอกภาพของบรรดาบิชอปที่มาจากทั่วโลก เมื่อการกระทำดังกล่าวมีการประกาศออกมาและเป็นที่ยอมรับโดยพระสันตะปาปา [10] ต้องจำไว้ว่านี่เกี่ยวข้องกับพระสันตะปาปาที่จะเลือกและส่งเสริมวิธีการ ซึ่งหมู่คณะบิชอปจะปฏิบัติหน้าที่เหนือพระศาสนจักรสากลตามความต้องการแห่งประชากรของพระเจ้า [11]
ในระหว่างที่มีการอภิปรายกันในสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 พร้อมกับคำสอนเรื่องความเป็นหมู่คณะของบิชอป มีการขอร้องเกิดขึ้นหลายครั้งให้บรรดาบิชอปมีความสัมพันธ์กับพระสันตะปาปาอย่างเหนียวแน่นโดยผ่านองค์กรกลางถาวรที่แตกต่างจากสมณกระทรวงแห่งโรมันคูเรีย หวังว่าองค์กรกลางนี้อยู่เหนือรูปแบบพิเศษใดๆ สภาสังคายนาฯ แสดงให้เห็นถึงความเอื้ออาทรของคณะพระคาร์ดินัลถึงความต้องการแห่งประชากรของพระเจ้า และเพื่อความเป็นเอกภาพของพระศาสนจักรต่างๆ
3. วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1965 เพื่อตอบสนองต่อการขอร้องนี้พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงประกาศกับบรรดาปิตาจารย์แห่งสภาสังคายนา ฯ ที่มารวมตัวกันเพื่อเปิดวาระที่สี่แห่งสภาสังคายนาฯ ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่กระทำโดยความคิดริเริ่มและด้วยอำนาจของพระองค์เองที่จะตั้งสถาบันซีนอดของคณะบิชอป สถาบันนี้ “ประกอบด้วยคณะบิชอปที่ส่วนใหญ่จะได้รับการแต่งตั้งโดยสภาบิชอปคาทอลิก ชึ่งกรุงโรมจะเรียกตามความจำเป็นของพระศาสนจักรเพื่อปรึกษาหารือและขอความร่วมมือ ซึ่งพระสันตะปาปาทรงเห็นสมควรเพื่อความดีงามของพระศาสนจักร”
ในสมณกฤษฎีกาชื่อ “Apostolica Sollicitudo” ที่ประกาศใช้ในวันต่อมาพระสันตะปาปาเปาโลกที่ 6 ทรงสถาปนาซีนอดของคณะบิชอปขึ้น “ซึ่งบรรดาบิชอปที่ได้รับการเลือกจากภูมิภาคต่างๆ ของโลกจะให้ความช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพแก่ผู้เลี้ยงแกะสูงสุดของพระศาสนจักร” สถาบันซีนอด “ถูกสถาปนาขึ้นมาในทำนองที่จะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นสถาบันกลางของพระศาสนจักร 2) เป็นผู้แทนของหมู่คณะบิชอป 3) โดยธรรมชาติแล้วเป็นสถาบันถาวร 4) สำหรับโครงสร้างจะทำหน้าที่เป็นระยะเวลาหนึ่งเมื่อถูกเรียกร้อง” [12]
ซีนอดของคณะบิชอป ซึ่งชื่อในตัวเองเตือนใจพวกเรารำลึกถึงธรรมประเพณีอันเก่าแก่ของซีนอด ที่มีความมั่งคั่ง ซึ่งเป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษแห่งพระศาสนจักรจารีตตะวันออก โดยปกติแล้วมักจะทำหน้าที่เกี่ยวกับบทบาทของการปรึกษาหารือกันภายใต้การนำของพระจิต ในขณะเดียวกันซีนอดก็อาจที่จะมีอำนาจตัดสินใจหากพระสันตะปาปาทรงให้การอนุญาต [13]
4. เมื่อสถาปนาซีนอดให้เป็นดุจ “สถาบันถาวรพิเศษแห่งผู้เลี้ยงแกะผู้ศักดิ์สิทธิ์” พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทราบว่า “เช่นเดียวกันกับสถาบันมนุษย์ทุกสถาบัน อาจมีการพัฒนาขึ้นได้ด้วยกาลเวลา” [14] การพัฒนาต่อมาได้รับการหล่อเลี้ยงในมุมมองหนึ่งด้วยการยอมรับคำสอนที่บังเกิดผลแห่งสภาสังคายนา ฯ เกี่ยวกับหมู่คณะบิชอป และในอีกมุมมองหนึ่งจากประสบการณ์ของการประชุมซีนอดหลายครั้งที่เกิดขึ้นที่กรุงโรมจตั้งแต่ปี 1967 หลังจากที่ระเบียบกฎเกณฑ์ของซีนอดของคณะบิชอป (Ordo Synodi Episcoporum) ได้ถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นครั้งแรก
เช่นเดียวกันหลังจากที่มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายทั้งของกรุงโรมและของพระศาสนจักรจารีตตะวันออก ซึ่งทำให้ซีนอดเป็นส่วนหนึ่งแห่งกฎหมายสากล [15] ซีนอดยังคงมีการพัฒนากันต่อไปทีละเล็กทีละน้อยจนกระทั่งมาถึงการจัดพิมพ์ระเบียบของซีนอด (Ordo Synodi) โดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2006 ที่มีความสำคัญพิเศษคือมีการสถาปนาสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด ซึ่งประกอบด้วย เลขาธิการของคณะบิชอปเป็นพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่งที่ทำหน้าที่ต่างๆ ที่ค่อยพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อความมั่นคงแห่งโครงสร้างแห่งสถาบันซีนอดจะได้มีความมั่นคงถาวรตลอดเวลา เมื่อมีการประชุมซีนอดซีนอด แต่ละครั้ง
ในหลายปีที่ผ่านมานี้มีการตั้งข้อสังเกตถึงประสิทธิภาพแห่งการปฏิบัติการของซีนอด ซึ่งเกี่ยวกับปัญหาที่ต้องการการตอบสนองให้ทันการ และมีความเป็นเอกภาพจากผู้เลี้ยงแกะของของพระศาสนจักร มีความปรารถนาเพิ่มขึ้นที่ต้องการให้ซีนอดเป็นการแสดงออกอย่างเป็นพิเศษและเป็นการตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของความเอื้ออาทรแห่งคณะคณะบิชอปสำหรับพระศาสนจักรส่วนต่างๆ พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ยืนยันว่า “บางทีเครื่องมือนี้สามารถที่จะพัฒนาไปให้มีความสมบูรณ์ได้” [16]
5. ด้วยเหตุนี้ตั้งแต่เริ่มต้นแห่งพันธกิจเปโตรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าใส่ใจเป็นพิเศษต่อซีนอดของคณะบิชอปโดยมั่นใจว่านี่สามารถที่จะมีประสบการณ์กับการ “พัฒนากันต่อไปเพื่อที่จะส่งเสริมการเสวนา และความร่วมมือกันท่ามกลางหมู่คณะบิชอป และระหว่างหมู่คณะบิชอปกับบิชอปแห่งกรุงโรม” [17] การขีดเส้นใต้งานฟื้นฟูนี้ต้องเป็นความเชื่อมั่นของบิชอปทุกองค์ที่ได้รับการแต่งตั้งให้รับใช้ประชากรศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้า ซึ่งพวกหเขาก็เป็นสมาชิกอยู่ด้วยอาศัยพิธีล้างบาป
นี่เป็นความจริงแท้แน่นอนดังที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 สอนว่า “เมื่อบรรดาบิชอปทำการสอนในความเป็นเอกภาพกับพระสันตะปาปา พวกเขาควรได้รับความเคารพจากทุกคนในฐานะที่พวกเขาเป็นประจักษ์พยานของพระเจ้าและของความจริงคาทอลิก สัตบุรุษจะต้องเห็นพ้องกับคำตัดสินของบิชอปและยึดถือด้วยเจตนารมณ์แห่งศาสนา” [18] แต่ก็เป็นความจริงด้วยว่า “สำหรับบิชอปทุกองค์ชีวิตของพระศาสนจักร และชีวิตในพระศาสนจักรเป็นเงื่อนไขแห่งการทำพันธกิจในการสั่งสอน” [19]
ดังนั้นบิชอปจึงเป็นทั้งผู้สอนและเป็นศิษย์ เขาเป็นผู้สอนเมื่อได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษจากพระจิต เขาจะประกาศพระวาจาแห่งความจริงให้กับสัตบุรุษในพระนามของพระเยซูคริสต์ผู้เป็นศีรษะและผู้เลี้ยงแกะสูงสุด ขณะเดียวกันเขาก็เป็นศิษย์เมื่อทราบว่าพระจิตทรงประทานพระพรให้กับทุกคนที่ได้รับพิธีล้างบาป ดังนั้นเขาก็จะต้องฟังเสียงของพระเยซูคริสต์ที่ตรัสโดยอาศัยประชากรของพระเจ้าด้วยการทำให้สำนึก “ความไม่รู้จักผิดพลาดใน “เรื่องของ ข้อความเชื่อ credendo” [20] อันที่จริง “กายภาพสากลที่ประกอบขึ้นด้วยประชากรทั้งปวงของพระเจ้าที่ได้รับการเจิมจากพระจิต (เทียบ 1 ยน 2: 20, 27) ไม่สารมารถที่จะหลงผิดในความเชื่อได้ นี่เป็นคุณสมบัติที่เป็นของประชากรโดยทั่วไป เป็นเจตนารมณ์แห่งความเชื่อเหนือธรรมชาติ อันเป็นวิธีที่พวกเขาจะต้องทำให้คุณสมบัตินี้ปรากฏออกมาให้เห็น “นับจากบิชอปจนถึงสัตบุรุษที่เป็นฆราวาสคนสุดท้าย” พวกเขาจะต้องแสดงให้เห็นถึงความเห็นพ้องต้องกันสากลในเรื่องของความเชื่อและศีลธรรม” [21] ดังนั้นบิชอปจึงถูกเรียกร้องให้ต้องนำฝูงแกะด้วยการ “เดินนำหน้าพวกเขาด้วยการชี้ให้พวกเขาเห็นหนทาง เดินท่ามกลางพวกเขาเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับความเป็นเอกภาพ และเดิมตามหลังพวกเขาเพื่อสร้างหลักประกันว่าจะไม่มีผู้ใดถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องไม่สูญเสียกลิ่นแห่งประชากรของพระเจ้าเพื่อที่จะพบกับเส้นทางใหม่” บิชอปที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางประชากรของตนจะเปิดหูกว้างฟังว่า “พระจิตจะตรัสสิ่งใดกับพระศาสนจักร” (วว. 2: 7) และฟัง “เสียงของฝูงแกะ” โดยผ่านสถาบันต่างๆ ของพระศาสนจักรที่มีหน้าที่ให้คำแนะนำบิชอปในการส่งเสริมการเสวนาที่ซื่อสัตย์และสร้างสรรค์” [22]
6. ในทำนองเดียวกันซีนอดของคณะบิชอปต้องเป็นเครื่องมืออภิสิทธิ์ที่ยิ่งวันยิ่งเพิ่มขึ้นเพื่อฟังประชากรของพระเจ้า “สำหรับปิตาจารย์แห่งการประชุมซีนอดสิ่งแรกที่พวกเราวอนขอจากพระจิตคือพระพรแห่งการฟังพระเจ้า เพื่อที่พร้อมกับพระองค์พวกเราจะได้สามารถฟังเสียงของประชากรที่จะฟังเสียงของพวกเขา จนกระทั่งพวกเราหายใจออกมาเป็นความปรารถนาที่พระเจ้าทรงเรียกร้องจากพวกเรา” [23]
แม้ตามโครงสร้างของสถาบันซีนอดดูเหมือนจะเป็นองค์กรเฉพาะของบิชอป นี่ไม่ได้หมายความว่าซีนอดมีขึ้นโดยแยกตัวเองออกจากประชาสัตบุรุษ ตรงกันข้ามซีนอดเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุดที่จะฟังเสียงแห่งประชากรทั้งปวงของพระเจ้า โดยเฉพาะอย่างโดยผ่านบิชอปที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระศาสนจักรในฐานะที่เป็น “ผู้พิทักษ์ ผู้ตีความ และประจักษ์พยานแห่งความเชื่อที่แท้จริงของพระศาสนจักรทั้งมวล” [24] โดยการแสดงให้เห็นจากการประชุมครั้งหนึ่งสู่การประชุมอีกครั้งหนึ่งว่า นั่นเป็นการแสดงออกที่สวยงามมากแห่งการก้าวเดินไปด้วยกันดุจ “ปัจจัยที่สร้างสรรค์แห่งพระศาสนจักร” [25]
เพราะฉะนั้นดังที่พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงประกาศว่า “การประชุมใหญ่ทุกครั้งของซีนอดเป็นประสบการณ์อันทรงพลังของพระศาสนจักร แม้กระบวนการที่เป็นรูปธรรมของซีนอดยังจะสามารถทำให้ได้ดีกว่านี้ก็ตาม บรรดาบิชอปที่มารวมตัวกันในการประชุมในซีนอดเป็นผู้แทนจากพระศาสนจักรของตน แต่พวกเขายังจะต้องใส่ใจในมิติแห่งสภาบิชอปคาทอลิกฯ ของตนด้วยซึ่งเลือกเขาและความคิดเห็นที่สภาบิชอปฯ มีซึ่งเขาจะต้องเป็นตัวแทนเพื่อสื่อในที่ประชุม พวกเขาจึงต้องแสดงให้เห็นถึงคำแนะนำแห่งองค์กรทั้งปวงของพระศาสนจักร และสุดท้ายในความหมายบางประการแสดงถึงเจตนาแห่งคริสตนทุกคนซี่งพวกเขาเป็นผู้เลี้ยงดูลูกแกะ” [26]
7. ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรเป็นประจักษ์พยานมากมายถึงความสำคัญของการปรึกษาหารือเพื่อสร้างความมั่นใจถึงความคิดเห็นของบรรดาบิชอปและประชาสัตบุรุษในเรื่องที่เกี่ยวกับความดีของพระศาสนจักร ดังนั้นแม้กระทั่งในการเตรียมการประชุมใหญ่ของซีนอดเป็นความสำคัญยิ่งที่จะต้องมีการปรึกษาหารือกับทุกพระศาสนจักรเป็นพิเศษ ในขั้นตอนแรกนี้โดยอาศัยการดำเนินการตามการชี้นำของสำนักเลขาธิการแห่งซีนอดของคณะบิชอปจะต้องนำเสนอปัญหาต่าง ๆ ที่จะต้องมีการวิเคราะห์ในการประชุมซีนอดใหญ่ให้กับบรรดาบาดหลวง ดีคอน (deacon) และสัตบุรุษแห่งพระศาสนจักรของตนทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลและที่เป็นสมาคมโดยไม่มองข้ามการสะท้อนความเห็นกลับขององค์กรท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาสมณะและสภาภิบาล ซึ่งโดยพื้นฐานจากจุดนี้ “พระศาสนจักรที่ก้าวเดินไปด้วยกันก็จะเริ่มขึ้น” [27]
ในระหว่างการประชุมซีนอดใหญ่แบบภาครวมทุกครั้ง การปรึกษาหารือกับประชาสัตบุรุษต้องตามมาด้วยการไตร่ตรอง ในส่วนของบิชอปที่ได้รับเลือกมาเพื่อการนี้ ซึ่งต้องพร้อมใจกันแสวงหาความเห็นร่วมกันที่ไม่ใช่เกิดจากตรรกะของมนุษย์ แต่จากการนอมน้อมต่อพระจิตของพระเยซูคริสต์ โดยอาศัยการใส่ใจต่อจิสำนึกในความเชื่อ (sensus fidei) แห่งประชากรของพระเจ้า – “ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องไตร่ตรองแยกยะด้วยความระมัดระวังถึงการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็นของสาธารณะชน” [28] – สมาชิกแห่งกระบวนการซีนอดจะเสนอความคิดเห็นของตนแก่พระสันตะปาปาเพื่อช่วยในพันธกิจของพระองค์ในฐานะที่ทรงเป็นผู้เลี้ยงดูแกะสากลของพระศาสนจักร จากมุมมองนี้ “ความจริงที่ว่าซีนอดโดยปกติแล้วมีเพียงบทบาทของการปรึกษาหารือจะไม่ไปลดความสำคัญลงไป ในพระศาสนจักรเป้าหมายแห่งคณะใดๆ ไม่ว่าจะเพื่อการปรึกษาหารือหรือการตัดสินใจจะต้องเป็นการแสวงหาความดีงามส่วนรวมของพระศาสนจักรเสมอ ดังนั้นเมื่อเกิดมีปัญหาที่เกี่ยวกับความเชื่อเอง ด้วยจิตสำนึกของพระศาสนจักร หรือที่เรียกว่า consensus ecclesiaeจะต้องไม่ถูกกำหนดด้วยการลงคะแนนเสียง แต่จะต้องเป็นผลแห่งการกระทำของพระจิตผู้เป็นดวงวิญญาณแห่งพระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์” [29] ดังนั้นการลงคะแนนเสียงจากบรรดาปิตาจารย์ของซีนอด “หากเป็นเอกฉันเชิงจริยธรรมจึงมีน้ำหนักเพียงพอ ทั้งในเชิงพระศาสนจักร ซึ่งอยู่เหนือรูปแบบของการลงคะแนนเสียงเชิงปรึกษาหารือ” [30]
สุดท้าย การประชุมซีนอดใหญ่ระดับสากลต้องตามมาด้วยขั้นตอนในภาคปฏิบัติ เพื่อที่จะเริ่มให้การตอบรับข้อสรุปแห่งซีนอดของพระศาสนจักรท้องถิ่นทุกแห่ง เมื่อได้รับความเห็นชอบจากพระสันตะปาปาแล้วในมิติที่พระองค์ทรงตัดสินพระทัยว่าสิ่งนั้นเหมาะสมที่สุดแล้ว ณ จุดนี้ต้องจำว่า “ความจริงนั้นวัฒนธรรมนั้นหลากหลาย และหลักการทั่วไปทุกหลักการ… จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรม หากจะให้เป็นสิ่งที่น่าเคารพและนำมาใช้ได้” [31] ด้วยวิธีนี้พวกเราอาจเห็นได้ว่ากระบวนการก้าวเดินไปด้วยกันไม่เพียงแค่จะมีจุดยืนที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดที่จะทำให้กระบวนการสามารถเข้าถึงประชากรของพระเจ้า ซึ่งพระพรแห่งพระหรรษทานที่ได้รับมาจากพระจิตโดยอาศัยการรวมตัวกันของบรรดาบิชอปในการประชุมจะหลั่งไหลมา
8. ซีนอดของคณะบิชอป ซึ่ง “ในมุมมองหนึ่งเป็นภาพลักษณ์” ของการประชุมสภาสังคายนาฯ และสะท้อนถึงทั้ง “เจตนารมณ์และกระบวนการ” [32] ที่ประกอบด้วยด้วยบิชอป กระนั้นก็ตามดังที่เกิดขึ้นในสภาสังคายนาฯ [33] มีบางท่านที่ไม่ใช่ดำรงตำแหน่งบิชอปอาจถูกเรียกให้รับใช้จากที่ประชุมซีนอดใหญ่ บทบาทของพวกเขาจะถูกกำหนดสำหรับแต่ละกรณีโดยพระสันตะปาปา สำหรับประเด็นนี้ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษถึงงานที่สามารถมอบให้ได้จากสถาบันชีวิตผู้ถวายตัว และสมาคมเพื่อชีวิตแห่งการประกาศพระวรสาร
นอกจากผู้ที่เป็นสมาชิกแล้วแขกที่ได้รับเชิญบางคนซึ่งไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงอาจเข้าร่วมประชุมซีนอดได้ พวกนี้ได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ (Periti) ซึ่งช่วยในการเขียนเอกสาร ผู้ตรวจสอบ (Auditores) ซึ่งเชี่ยวชาญเป็นพิเศษเกี่ยวกับประเด็นที่มีการอภิปรายกัน ผู้แทนจากคริสตจักรและชุมชนคริสตจักรที่ยังไม่มีเอกภาพอย่างสมบูรณ์กับพระศาสนจักรคาทอลิก นอกจากนี้แล้วยังสามารถที่จะเชิญแขกพิเศษ (Invitati Speciales) ที่คัดเลือกมาเพราะอำนาจอันเป็นที่ยอมรับกันของพวกเขา
ซีนอดมีการประชุมกันในหลายรูปแบบของการรวมตัวกัน [34] หากสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการประชุมซีนอดใหญ่อาจแบ่งออกไปหลายวาระก็ได้ การประชุมในแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดล้วนเป็นโอกาสสำคัญสำหรับการฟังร่วมกันต่อสิ่งที่พระจิต “จะทรงตรัสต่อพระศาสนจักร” (วว. 2: 7) ดังนั้นในการประชุมซีนอดต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการเฉลิมฉลองจารีตพิธีกรรม และรูปแบบอื่น ๆ สำหรับการอธิษฐานภาวนา เพื่อวอนขอพระพรแห่งการไตร่ตรองและความสมานฉันสำหรับบรรดาสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม นี่ยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องและชอบธรรมที่จะปฏิบัติตามธรรมประเพณีโบราณของการประชุมซีนอดที่จะนำพระคัมภีร์มาประดิษฐานไว้อย่างสง่างามก่อนเริ่มการประชุมในแต่ละวัน เป็นสัญลักษณ์ที่เตือนใจพวกเราถึงความจำเป็นที่ต้องเป็นผู้ที่ว่านอนสอนง่ายต่อพระวาจาของพระเจ้าซึ่งเป็นวาจาแห่งความจริง” (คส 1: 5)
9. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอด – ประกอบด้วยเลขาธิการ รองเลขาธิการที่ช่อยเลขาธิการในกิจกรรมทุกอย่าง และคณะบิชอปที่ปรึกษาอีกจำนวนหนึ่ง – จะทำหน้าที่ทั้งก่อนการประชุมซีนอดและเตรียมการสำหรับการประชุมครั้งต่อไป ในขั้นตอนกระบวนการก่อนที่จะมีการประชุมจะต้องเลือกหัวข้อที่จะมีการอภิปรายกันในที่ประชุมจากการเสนอของคณะบิชอป สำนักเลขาจะต้องเลือกหัวข้อที่เป็นความต้องการแห่งประชากรของพระเจ้าและจะเริ่มกระบวนการปรึกษาหารือพร้อมกับร่างเอกสารเตรียมการ ซึ่งรวมถึงผลแห่งการปรึกษาหารือด้วย ในขั้นตอนกระบวนการหลังการประชุมพร้อมกับสมณกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแห่งโรมันคูเรียจะทำการสรุปผลและการแนะนำแห่งการประชุม ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากพระสันตะปาปา
สำหรับคณะที่ปรึกษาที่ประกอบเป็นสำนักเลขาธิการ เมื่อคำนึงถึงโครงสร้างพิเศษของสำนักเลขาธิการ จะต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษต่อคณะที่ปรึกษาตามปกติ ซึ่งส่วนใหญ่จะประกอบด้วยบิชอปท้องถิ่นที่เลือกโดยบรรดาปิตาจารย์แห่งที่ประชุมซีนอด มีการแสดงให้เห็นแล้วถึงคุณประโยชน์ของการทำเช่นนี้ เป็นการสอดคล้องกันกับความปรารถนาแห่งปิตาจารย์ของซีนอดที่ขอร้องบิชอปบางองค์จากบรรดาผู้ที่รับผิดชอบในงานอภิบาลจากทั่วโลกในฐานะที่เป็นผู้ร่วมงานอย่างถาวรของพระสันตะปาปาในพันธกิจของพระองค์ผู้เป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะสากล นอกเหนือไปจากคณะที่ปรึกษานี้แล้วอาจตั้งคณะที่ปรึกษาอื่นๆ ได้อีกภายในสำนักเลขาธิการเพื่อเตรียมการประชุมซีนอดอื่น ๆ นอกเหนือจาการประชุมซีนอดสมัยสามัญตามปกติ
ในขณะเดียวกันสำนักเลขาธิการจะต้องพร้อมที่จะรับใช้พระสันตะปาปาเสมอไม่ว่าเรื่องอะไรที่พระองค์จะทรงขอร้อง เพื่อสร้างหลักประกันว่าคณะที่ปรึกษาจะมีการติดต่อประจำวันกับประชากรของพระเจ้าแม้กระทั่งนอกบริบทของการประชุมซีนอดก็ตาม
10. ผลอีกประการหนึ่งของซีนอดก็คือการชี้ให้เห็นความสำคัญยิ่งวันยิ่งเพิ่มขึ้นถึงความสัมพันธ์อันล้ำลึกที่มีอยู่ในพระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์ทั้งระหว่างผู้นำพระศาสนจักรกับประชาสัตบุรุษ (ศาสนบริกรผู้เป็นสมณะบริกรทุกคนที่ได้รับพิธีล้างบาปท่ามกลางผู้ที่ได้รับพิธีล้างบาปอื่นๆ ถูกสถาปนาขึ้นโดยพระเยซูคริสต์เพื่อเลี้ยงดูฝูงแกะ) และระหว่างคณะบิชอปกับพระสันตะปาปา ผู้ทรงเป็น “บิชอปท่ามกลางหมู่คณะบิชอปที่ถูกเรียกร้องในเวลาเดียวกันว่าเป็น – ผู้สืบตำแหน่งต่อจากเปโตร – ให้เป็นผู้นำพระศาสนจักรแห่งกรุงโรมซึ่งดู และในเรื่องของความรักความเมตตาทั่วพระศาสนจักร” [35] นี่เป็นการพิทักษ์คุ้มครองเรื่องหนึ่งเรื่องใดมิให้เป็นอิสระโดยไม่ขึ้นกับผู้ใด
สิ่งที่สำคัญคือหมู่คณะบิชอปไม่เคยมีตัวตนโดยปราศจากผู้เป็นศีรษะ [36] และเช่นเดียวกันบิชอปแห่งกรุงโรมผู้ทรงมี “อำนาจเต็มเปี่ยม สูงสุด สากลเหนือพระศาสนจักร และ… สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจาเครื่องกีดขวางใดๆ” [37] จะร่วมเป็นเอกภาพกับคณะบิชอปเสมอ ซึ่งอันที่จริงแล้วพร้อมกับพระศาสนจักรทั้งปวง” [38] สำหรับประเด็นนี้ “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าบิชอปแห่งกรุงโรมต้องการหมู่คณะบิชอปและพี่น้องอื่นๆ สำหรับคำแนะนำ ปรีชาญาณและประสบการณ์ของพวกเขา อันที่จริงผู้สืบตำแหน่งต่อจากเปโตรต้องประกาศให้ทุกคนทราบว่า “พระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต” เป็นผู้ใด และในเวลาเดียวกันก็ต้องใส่ใจกับสิ่งที่พระจิตจะส่งแรงบันดาลใจให้บนริมฝีปากของผู้ที่ – รับพระวาจาของพระเยซูคริสต์ ผู้ทรงประกาศว่า “ท่านเป็นศิลา” (เทียบ มธ. 16: 16-18) – ผู้มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในหมู่คณะแห่งการแพร่ธรรม” [39]
ยิ่งไปกว่านี้อีกข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าโยอาศัยการสนับสนุน “การกลับใจปรับเปลี่ยนทัศนะคติของพระสันตะปาปา… ซึ่งจะสามารถช่วยให้การปฏิบัติพันธกิจได้อย่างสัตย์ซื่อมากกว่าต่อความหมายซึ่งพระเยซูคริสต์ทรงปรารถนาที่จะประทานให้สำหรับความจำเป็นแห่งกาลเวลาปัจจุบันในการประกาศพระวรสาร” [40] กิจกรรมต่าง ๆ ในการประชุมซีนอดจะสามารถช่วยให้มีการก่อร่างสร้างความเป็นเอกภาพในหมู่คริสตชนตามพระประสงค์ของพระเจ้า (เทียบ ยน. 17: 21) โดยอาศัยการกระทำดังกล่าวจะช่วยพระศาสนจักรคาทอลิกตามที่พระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ทรงแสดงความปรารถนาเมื่อหลายปีมาแล้วว่า “เพื่อที่จะพบหนทางแห่งการทำหน้าที่ผู้นำสูงสุด ในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธสิ่งที่สำคัญกับการกระทำพันธกิจอย่างน้อยก็ต้องเปิดใจกว้างสู่สถานการณ์ใหม่” [41]
ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 342 พร้อมกับคำนึงถึงเรื่องราวที่กล่าวมาข้างต้น ข้าพเจ้าจึงประกาศให้ตั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
I. การประชุมซีนอด
มาตรา 1.
ประธานและรูปแบบแห่งการประชุมซีนอด
§1. ซีนอดของคณะบิชอปขึ้นตรงกับพระสันตะปาปาผู้ซึ่งเป็นองค์ประธาน
§2. จะต้องมีการประชุม:
1° ในการประชุมใหญ่สมัยสามัญ เมื่อจะมีการอภิปรายกันถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับความดีงามส่วนรวมของพระศาสนจักรสากล
2° ในการประชุมสมัยวิสามัญเมื่อเรื่องราวที่จะนำมาอภิปรายกันเกี่ยวกับความดีงามส่วนรวมของพระศาสนจักรสากลที่เรียกร้องให้ต้องมีการพิจารณากันอย่างเร่งด่วน
3° ในการประชุมซีนอดสมัยพิเศษเมื่อจะมีการอภิปรายกันถึงเรื่องราวที่ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ภูมิภาคหนึ่งหรือหลายภูมิภาค
§3. หากพระสันตะปาปาเห็นสมควรโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยเหตุผลโดยธรรมชาติแห่งความเป็นเอกภาพของคริสตชน พระองค์อาจเรียกร้องให้มีการประชุมซีนอด ซึ่งจะเป็นไปตามระเบียบที่พระองค์ทรงตั้งไว้
มาตรา 2
สมาชิกและผู้เข้าร่วมประชุมอื่นๆ ในการประชุมซีนอด
§1. สมาชิกของซีนอดได้แก่ผู้ที่มีรายชื่ออยู่ในประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 346
§2. ตามหัวข้อของการประชุมและสิ่งแวดล้อมบางคนที่ไม่ใช่ดำรงตำแหน่งบิชอปอาจได้รับการเชิญให้เข้าร่วมประชุมซีนอดได้ โดยบทบาทของพวกเขาจะถูกกำหนดเป็นกรณีไปโดยพระสันตะปาปา
§3. การกำหนดสมาชิกและผู้เข้าร่วมประชุมคนอื่นๆ ในแต่ละการประชุมซีนอดจะเกิดขึ้นตามแนวแห่งกฎหมายพิเศษ
มาตรา 3
ภาคต่างๆ ของการประชุมซีนอด
§1. ตามหัวข้อของการประชุมและสิ่งแวดล้อมการประชุมซีนอดอาจจัดขึ้นโดยแยกช่วงเวลากันและทำในเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความเห็นชอบของพระสันตะปาปา
§2. ระหว่างเวลาของภาคการประชุมสำนักเลขาธิการแห่งซีนอดพร้อมกับผู้กำกับการประชุม และเลขานุการพิเศษแห่งการประชุมซีนอดมีหน้าที่ต้องส่งเสริมการไตร่ตรองต่อไปเกี่ยวกับเนื้อหาสาระหรือในบางมิติที่มีความสำคัญเป็นพิเศษที่เกิดขึ้นจากการทำงานของที่ประชุม
§3. สมาชิกและผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ จะคงอยู่ในตำแหน่งอย่างไม่ขาดช่วงตอนจนกระทั่งปิดการประชุมซีนอด
มาตรา 4
ขั้นตอนของการประชุมซีนอด
การประชุมซีนอดในแต่ละครั้งจะเผยให้พวกเราเห็นขั้นตอนต่างๆ เป็นชุด ๆ ขั้นตอนของการเตรียมการ ขั้นตอนของการอภิปราย และขั้นตอนของการปฏิบัติ
II. ขั้นตอนของการเตรียมการประชุมซีนอด
มาตรา 5
การเริ่มต้นและเป้าหมายของของขั้นตอนการเตรียมการ
§1. ขั้นตอนการเตรียมการ เริ่มต้นเมื่อพระสันตะปาปาทรงเปิดการประชุมซีนอดอย่างเป็นทางการโดยกำหนดหัวข้อหนึ่งหรือหลายหัวข้อเพื่อการไตร่ตรอง
§2. โดยการประสานงานของสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด ขั้นตอนการเตรียมการจะมีเป้าหมายในการไตร่ตรองแห่งประชากรของพระเจ้าเกี่ยวหัวข้อของการประชุมซีนอด
มาตรา 6
การปรึกหารือกับประชากรของพระเจ้า
§1. การปรึกษาหารือกับประชากรของพระเจ้าจะเกิดขึ้นในพระศาสนจักรภาคต่างๆ โดยอาศัยกระบวนการซีนอดของคณะบิชอป สภาพระอัยกา และพระศาสนจักรซึ่งมีอำนาจปกครองตนเองซึ่งดำเนินการโดยสภาบิชอปฯ
ในพระศาสนจักรแต่ละแห่ง บิชอปจะทำการปรึกษาหารือกับประชากรของพระเจ้าโดยผ่านองค์กรซึ่งมีส่วนร่วมที่กำหนดโดยกฎหมาย ซึ่งจะไม่ตัดวิธีการอื่น ๆ ที่เห็นว่าเหมาะสม
§2. สหภาพ สหพันธ์ และสถาบันนักบวชชายหญิงอาจใช้คณะที่ปรึกษาของตน และสมาชิกอื่น ๆแห่งสถาบันและสมาคมที่เกี่ยวข้อง
§3. ในทำนองเดียวกัน สมาพันธ์แห่งประชาสัตบุรุษที่ได้รับการยอมรับจากสันตะสำนักอาจจะพิจารณาเรื่องนี้กับบรรดาสมาชิกของตนเองได้
§4. สมณกระทรวงแห่งโรมันคูเรียจะให้การสนับสนุนโดยคำนึงถึงความสามารถและขอบเขตเฉพาะในเนื้องานของตนเอง
§5. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดอาจหาวิธีการอื่น ๆ ของการปรึกษาหารือกับประชากรของพระเจ้า
มาตรา 7
การมอบความช่วยเหลือในขั้นตอนการเตรียมกับสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
§1. พระศาสนจักรแต่ละแห่งจะส่งความช่วยเหลือให้กับการประชุมซีนอดของบิคณะชอปแห่งพระศาสนจักรของพระอัยกา หรือสภาของพระอัยกา หรือของที่ประชุมของพระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครองตนเองไปยังสภาบิชอปฯ ในเขตปกครองของตน
องค์กรที่กล่าวไว้ข้างต้นในทางกลับกันจะส่งเอกสารที่ตนได้รับต่อไปยังสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
สหพันธ์เจ้าคณะนักบวชชายและสหพันธ์เจ้าคณะนักบวชหญิงสากลก็เช่นเดียวกันจะส่งเรื่องที่สถาบันเตรียมไว้ไปยังสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
สมณกระทรวงแห่งโรมันคูเรียจะส่งเอกสารของตนตรงไปยังสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
§2. สิทธิแห่งสัตบุรุษทั้งในฐานะส่วนตัว และในความสัมพันธ์กับผู้อื่นจะส่งความคิดเห็นของตนตรงไปยังสำนักเลขาธิการแห่งซีนอดได้เช่นเดียวกัน
มาตรา 8
การเรียกประชุมก่อนการประชุมสมัชชาใหญ่
§1. ตามหัวข้อการประชุมและสภาพแวดล้อม เลขาธิการแห่งซีนอดอาจเสนอเรียกให้มีการประชุมก่อนการประชุมซีนอดใหญ่ระดับสากล โดยการมีส่วนร่วมของสมาชิกที่เป็นสัตบุรุษบางคนที่สำนักเลขาธิการคัดเลือกเพื่อที่พวกเขาที่มาจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน เพื่อจะได้ช่วยแสดงความคิดเห็นต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่
และคนอื่นๆอีกบางคนก็จะได้รับการเชิญเช่นเดียวกัน
§2. การประชุมดังกล่าวอาจจะทำในระดับภูมิภาคที่รวมถึงซีนอดแห่งพระศาสนจักรแห่งพระอัยกาต่างๆ แห่งพระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครองตนเอง และสภาบิชอปของท้องถิ่นรวมทั้งการประชุมสากลแห่งสภาบิชอป เพื่อที่จะพิจารณากันถึงรูปแบบทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีของพระศาสนจักรในภูมิภาคต่างๆ
มาตรา 9
การมีส่วนร่วมของสถาบันการศึกษาชั้นสูง
สถาบันการศึกษาระดับสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันที่มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับหัวข้อของการประชุมหรือปัญหาพิเศษที่เกี่ยวข้องอาจทำการศึกษาวิจัยด้วยความคิดริเริ่มของตนหรือเมื่อได้รับการขอร้องจากซีนอดแห่งพระศาสนจักรของบรรดาพระอัยกา หรือพระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครองตนเอง และสภาบิชอป หรือด้วยการขอร้องจากสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
การศึกษาวิจัยเหล่านี้จะต้องส่งไปยังสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
มาตรา 10
ธรรมนูญแห่งคณะกรรมาธิการเตรียมการประชุม
§1. เพื่อค้นคว้าเนื้อหาต่อไป และเพื่อการเขียนเอกสารที่อาจมีการพิมพ์ออกก่อนการประชุมซีนอดใหญ่ระดับสากล สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดอาจขอให้คณะกรรมาธิการเตรียมงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญรับมอบงานนี้ไป
§2. คณะกรรมาธิการชุดนี้จะได้รับการแต่งตั้งโดยสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นประธาน
III. ขั้นตอนแห่งการอภิปรายของการประชุมซีนอด
มาตรา 11
ประธาน ผู้ควบคุมการประชุม และเลขาธิการพิเศษ
ก่อนเริ่มการประชุมพระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้ง:
1° บุคคลผู้หนึ่งเป็นประธานซึ่งจะดูแลการประชุมในพระนามของพระองค์ และด้วยอำนาจของพระองค์
2° ผู้ดำเนินการประชุมจะประสานการอภิปรายเกี่ยวกับหัวข้อขอการประชุมซีนอด และต้องอธิบายว่ามีเอกสารใดบ้างที่ต้องส่งให้กับที่ประชุม
3° เลขาธิการพิเศษบุคคลหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งบุคคลจะเป็นผู้ช่วยผู้ดำเนินการประชุมในทุกกิจกรรม
มาตรา 12
ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ตรวจสอบ ผู้แทน และ แขกรับเชิญพิเศษ
§1. บุคคลต่อไปนี้อาจได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมโดยปราศจากสิทธิในการลงคะแนนเสียง
1° ผู้เชี่ยวชาญซึ่งร่วมมือกับเลขาธิการด้วยความสามารถเป็นพิเศษเกี่ยวกับหัวข้อของการประชุมซึ่งอาจมีการเพิ่มที่ปรึกษาแห่งสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
2° ผู้ตรวจสอบที่ช่วยงานของซีนอดด้วยประสบการณ์และความรอบรู้ของตน
3° ผู้แทนพระศาสนจักรและชุมชนคริสตจักรที่ยังไม่มีความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์กับพระศาสนจักรคาทอลิก
§2. ในกรณีพิเศษแขกพิเศษบางท่านอาจได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความรอบรู้และมีความสามารถเป็นพิเศษเกี่ยวกับหัวข้อของการประชุมแต่จะไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียง
มาตรา 13
การเปิดและปิดการประชุมซีนอด
การเปิดและปิดซีนอดจะเป็นพิธีบูชาขอบพระคุณที่มีพระสันตะปาปาเป็นประธาน ซึ่งสมาชิกและผู้เข้าร่วมประชุมจะเข้าร่วมพิธีตามกรณีของสภาพแวดล้อม
มาตรา 14
การประชุมซีนอดที่ครอบคลุมทุกหัวข้อเรียกว่าการประชุมใหญ่
และการประชุมกลุ่มย่อย
การประชุมซีนอดที่ครอบคลุมทุกหัวข้อเรียกว่าการประชุมใหญ่ ซึ่งบรรดาสมาชิก ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทน และเเขกรับเชิญต่างเข้ามามีส่วนร่วม มิฉะนั้นก็เป็นการประชุมกลุ่มย่อยซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งออกเป็นกลุ่มตามแนวแห่งกฎเกณฑ์เฉพาะ
มาตรา 15
การอภิปรายหัวข้อของการประชุมซีนอด
§1. ในการประชุมใหญ่ บรรดาสมาชิกจะแสดงความคิดเห็นของตนตามกฎเกณฑ์เฉพาะ
§2. เป็นครั้งคราวจะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเสรีระหว่างสมาชิกในเรื่องที่กำลังมีการอภิปรายกันอยู่
§3. ผู้ตรวจสอบ ผู้แทน และแขกผู้รับเชิญอาจได้รับการทาบทามให้มีการพูดเกี่ยวกับหัวข้อของการประชุมซีนอด
มาตรา 16
การสถาปนาคณะกรรมการเพื่อการศึกษาวิจัย
ตามหัวข้อในการประชุมและสภาพแวดล้อม และด้วยความเคารพต่อกฎหมาย คณะกรรมการศึกษาวิจัยบางคณะอาจมีการแต่งตั้งขึ้นมา ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกและผู้เข้าร่วมประชุมอื่นๆ ในการประชุมซีนอด
มาตรา 17
การเขียนและการอนุมัติเอกสารขั้นสุดท้าย
§1. ผลสรุปของการประชุมจะนำมารวบรวมกันไว้ในเอกสารสุดท้าย
§2. สำหรับการเขียนเอกสารขั้นสุดท้ายจะมีการตั้งคณะกรรมการพิเศษที่ประกอบด้วยผู้กำกับการประชุมซึ่งเป็นประธานของคณะกรรมการ เลขาธิการ เลขานุการพิเศษ และสมาชิกบางท่านที่พระสันตะปาปาจะทรงแต่งตั้ง
§3. เอกสารสุดท้ายจะถูกส่งไปเพื่อความเห็นชอบของบรรดาสมาชิกตามกฎหมายโดยเห็นแก่การเห็นพ้องเชิงจริยธรรมเท่าที่จะสามารถทำได้
มาตรา 18
การมอบเอกสารสุดท้ายแด่พระสันตะปาปา
§1. เมื่อได้รับการอนุมัติจากบรรดาสมาชิกแล้วเอกสารสุดท้ายของการประชุมจะถูกส่งไปให้พระสันตะปาปาผู้ที่จะอนุมัติให้มีการจัดพิมพ์
หากมีการอนุมัติอย่างรวดเร็วจากพระสันตะปาปา เอกสารนั้นก็เป็นก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งอำนาจการสั่งสอนของผู้ที่สืบตำแหน่งต่อจากเปโตร
§2. หากพระสันตะปาปามอบอำนาจให้กับที่ประชุมซีนอดตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 343 เอกสารสุดท้ายดังกล่าวก็จักมีส่วนในอำนาจการสั่งสอนตามปกติแห่งผู้สืบตำแหน่งต่อจากเปโตร เมื่อมีการให้สัตยาบันและประกาศใช้โดยพระองค์
ในกรณีเช่นนี้เอกสารดังกล่าวจะมีการพิมพ์ขึ้นพร้อมการลงนามของพระสันตะปาปา และบรรดาสมาชิกของที่ประชุม
IV. ขั้นตอนของการปฏิบัติตามข้อสรุปแห่งการประชุมซีนอด
มาตรา 19
การน้อมรับการปฏิบัติตามข้อสรุปของการประชุมซีนอด
§1. บิชอปหรือพระอัยกาแห่งเขตศาสนปกครองมีหน้าที่น้อมรับ และปฏิบัติตามข้อสรุปแห่งการประชุมซีนอดเมื่อข้อสรุปดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากพระสันตะปาปาแล้วโดยอาศัยความช่วยเหลือของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมต่างๆ ที่กำหนดไว้ด้วยกฎหมาย
§2. ซีนอดแห่งคณะบิชอป พระอัยกา พระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครอบงตนเอง และสภาบิชอปจะเป็นผู้ประสานงานในการปฏิบัติตามข้อสรุปแห่งการประชุมซีนอดในภูมิภาคต่างๆ และเพื่อเป้าหมายนี้อาจจะตั้งความคิดริเริ่มร่วมกันได้
มาตรา 20
หน้าที่ของสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
§1. พร้อมกับสมณกระทรวงที่เชี่ยวชาญแห่งโรมันคูเรีย รวมถึงสมณกระทรวงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ ตามหัวข้อของการประชุมและสภาพแวดล้อม สำนักเลขาธิการจะส่งเสริมการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้รับความเห็นชอบจากพระสันตะปาปา
§2. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดอาจตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษา และเพื่อนำเสนอความคิดริเริ่มที่เหมาะสมอื่น ๆ เพื่อเป้าหมายนี้
§3. ในกรณีพิเศษสำนักเลขาธิการฯ โดยพระบัญชาของพระสันตะปาปาอาจออกเอกสารเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อสรุปแห่งซีนอด โดยการฟังคำแนะนจากสมณกระทรวงที่เชี่ยวชาญ
มาตรา 21
การตั้งคณะกรรมการเพื่อการปฏิบัติตามข้อสรุป
§1. ตามหัวข้อของการประชุมและสภาพแวดล้อม สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดอาจต้องพึ่งคณะกรรมการเพื่อการปฏิบัติตามข้อสรุปซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ
§2. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดจะแต่งตั้งสมาชิกของตนโดยปรึกษากับสมณมนตรีแห่งสมณกระทรวงที่เชี่ยวชาญแห่งโรมันคูเรีย และทำหน้าที่เป็นประธาน
§3. คณะกรรมการดังกล่าวจะช่วยสำนักเลขาธิการแห่งซีนอดในการปฏิบัติหน้าที่ดังที่ระบุไว้ในมาตรา 20 §1 โดยอาศัยการหมั่นศึกษาทำความเข้าใจ
V. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
มาตรา 22
ธรรมนูญแห่งสำนักเลขาธิการ
§1. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดเป็นสถาบันถาวรเพื่อรับใช้การประชุมซีนอดของคณะบิชอปโดยขึ้นตรงต่อพระสันตะปาปา
§2. สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดจะประกอบด้วยเลขาธิการ รองเลขาธิการ ซึ่งช่วยเลขาธิการในทุกกิจกรรม คณะที่ปรึกษา และหากพวกเขาได้รับการแต่งตั้งโดยคณะที่ปรึกษาในที่ประชุมใหญ่แห่งซีนอดตามที่ระบุไว้ในมาตรา 25
§3. เลขาธิการ และรองเลขาธิการได้รับแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา และเป็นสมาชิกของที่ประชุมซีนอด
§4. สำนักเลขาธิการจะจัดหาเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งพร้อมคณะที่ปรึกษาเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของตน
มาตรา 23
หน้าที่ของสำนักเลขาธิการแห่งซีนอด
§1. สำนักเลขาธิการมีความสามารถเตรียมการและนำลงสู่ภาคปฏิบัติซึ่งข้อสรุปของการประชุมซีนอด รวมถึงประเด็นอื่น ๆ ที่พระสันตะปาปาทรงปรารถนาที่จะนำมาใช้เพื่อความดีงามของพระศาสนจักรสากล
§2. เพื่อจุดประสงค์นี้สำนักเลขาธิการจะร่วมมือกับสภาซีนอดแห่งจารีตตะวันออก พระศาสนจักรที่มีอำนาจปกครองตนเอง และสภาบิชอปรวมทั้งสมณกระทรวงต่างๆ แห่งโรมันคูเรีย
มาตรา 24
การประชุมสมัยสามัญแห่งสำนักเลขาธิการ
§1. การประชุมสมัยสามัญของสำนักเลขาธิการสามารถเตรียมการและนำลงสู่ภาคปฏิบัติ ซึ่งการประชุมสมัยสามัญแห่งซีนอด
§2. ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยบิชอปแห่งเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมใหญ่แห่งซีนอดเพื่อเป็นผู้แทนของภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกตามความแห่งกฎหมายเฉพาะ ซึ่งในบุคคลเหล่านั้นนั้นจะประกอบด้วยสมณมนตรีแห่งสมณกระทรวงของโรมันคูเรีย พระอัยกาแห่งพระศาสนจักรจารีตตะวันออก และบิชอปพระศาสนจักรคาทอลิก นอกนั้นยังได้แก่สมณมนตรีแห่งสมณกระทรวงในโรมันคูเรีย ผู้ที่รอบรู้ในหัวข้อของการประชุม ซึ่งแต่งตั้งโดยพระสันตะปาปารวมถึงบิชอปบางองค์ด้วย
§3. สมาชิกแห่งคณะกรรมการจะกระทำหน้าที่เมื่อสิ้นการประชุมซีนอดใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง พวกเขาเป็นสมาชิกของการประชุมซีนอดสมัยสามัญ และหมดหน้าที่ของพวกเขาเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง
มาตรา 25
คณะกรรมการอื่นๆ แห่งสำนักเลขาธิการ
§1. คณะกรรมการแห่งสำนักเลขาธิการแห่งซีนอดเพื่อการเตรียมการประชุมสมัยวิสามัญและการประชุมสมัยพิเศษ ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา
§2. สมาชิกของคณะกรรมการเหล่านี้จะมีส่วนร่วมในการประชุมซีนอดตามกฎหมายเฉพาะ และหน้าที่ของพวกเขาจะสิ้นสุดลงพร้อมกับการสิ้นสุดของการประชุม
§3. คณะกรรมการแห่งสำนักเลขาธิการเพื่อการปฏิบัติตามมติของการประชุมสมัยวิสามัญ และการประชุมสมัยพิเศษส่วนใหญ่จะประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของซีนอดตามกฎหมายเฉพาะกาล พร้อมกับสมาชิกเพิ่มเติมที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา
§4. คณะกรรมการดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นเวลา 5 ปีจากวันที่ปิดการประชุมซีนอด นอกจากว่าพระสันตะปาปจะทรงตัดสินพระทัยให้เป็นอย่างอื่น
ข้อกำหนดสุดท้าย
มาตรา 26
ตามเจตนารมณ์และกฎเกณฑ์แห่งธรรมนูญฉบับนี้ สำนักเลขาธิการแห่งซีนอดจะออกเอกสารการชี้นำเกี่ยวกับแนวทางของการดำเนินการประชุมซีนอด และในกิจกรรมแห่งสำนักเลขาธิการรวมถึงกฎระเบียบสำหรับการประชุมซีนอดในแต่ละครั้ง
มาตรา 27
ในเจตนารมณ์ของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรมาตรา 20 และของประมวลกฎหมายแห่งพระศาสนจักรจารีตตะวันออก มาตรา 1502 §2 เมื่อมีการประกาศและพิมพ์พระธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ข้อกำหนดที่ขัดแย้งอื่นๆ จะถูกยกเลิกโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อกำหนดต่อไปนื้:
1. ข้อกำหนดเหล่านั้นทั้งของพระศาสนจักรคาทอลิกและของพระศาสนจักรจารีตตะวันออกที่ทั้งหมดหรือเป็นบางส่วนที่ขัดแย้งโดยตรงกับมาตราหนึ่งมาตราใดแห่งพระธรรมนูญปัจจุบัน
2. กฎหมายมาตราต่าง ๆ แห่งสมณกฤษฎีกา “Apostolica Sollicitudo” ของพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ของวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1965
3. Ordo Synodi Episcoporum ของวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 2006 รวมถึง Adnexum de modo procedendi in Circulis minoribus
ข้าพเจ้าจึงมีบัญชาว่าสิ่งที่ระบุไว้ในพระธรรมนูญนี้จะมีผลบังคับอย่างเต็มที่ นับตั้งแต่วันที่มีการพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ลอส แซร์วาตอเร โรมาโน (L’Osservatore Romano) โดยมิต้องคำนึงถึงสิ่งใดที่อยู่ตรงกันข้ามแม้จะคู่ควรที่จะนำมาพิจารณา และขอให้มีการพิมพ์ลงในพระสมณกิจจานุเบกษาด้วย
ข้าพเจ้าปรารถนาให้ทุกคนรับพระธรรมนูญนี้อย่างพร้อมเพรียงและด้วยเต็มใจ โดยอาศัยความช่วยเหลือของพระแม่มารีย์พรหมจารี พระราชินีแห่งอัครสาวกและพระมารดาของพระศาสนจักร
ให้ไว้ ณ มหาวิหารนักบุญเปโตร กรุงโรม วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 2018 อันเป็นปีที่หกแห่งสมณสมัยของข้าพเจ้า
ฟรานซิส
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บธรรมนูญฉบับนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)
เชิงอรรถ
[1] Cf. Second Vatican Ecumenical Council, Decree on the Pastoral Office of Bishops Christus Dominus (28 October 1965), 5.
[2] Ibid.; cf. Saint John Paul II, Post-Synodal Apostolic Exhortation Pastores Gregis (16 October 2003), 58.
[3] Apostolic Exhortation Evangelii Gaudium (24 November 2013), 1.
[6] Second Vatican Ecumenical Council, Decree on the Missionary Activity of the Church Ad Gentes (7 October 1965), 29; cf. ID., Dogmatic Constitution on the Church Lumen Gentium (21 November 1964), 23.
[7] Lumen Gentium, 18.
[8] Cf. ibid., 21-22; Christus Dominus, 4.
[9] Cf. Lumen Gentium, 23; Christus Dominus, 3.
[10] Cf. Lumen Gentium, 22; Christus Dominus, 4; Codex Iuris Canonici (25 January 1983), can. 337, §§1-2; Codex Canonum Ecclesiarum Orientalium (18 October 1990), can. 50, §§1-2.
[11] Cf. Codex Iuris Canonici, can. 337, §3; Codex Canonum Ecclesiarum Orientalium, can. 50, §3.
[12] No. I.
[13] Cf. ibid., II.
[14] Ibid., Preamble.
[15] Cf. Codex Iuris Canonici, can. 342-348; Codex Canonum Ecclesiarum Orientalium, can. 46.
[16] Homily at the Mass for the Closing of the VI Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops (29 October 1983).
[17] Address to Members of the XIII Ordinary Council of the General Secretariat of the Synod of Bishops (13 June 2013).
[18] Lumen Gentium, 25.
[19] Post-Synodal Apostolic Exhortation Pastores Gregis, 28.
[20] Apostolic Exhortation Evangelii Gaudium, 119.
[21] Lumen Gentium, 12.
[22] Address to the Participants in the Symposium for New Bishops promoted by the Congregation for Bishops and by the Congregation for Eastern Churches (19 September 2013). Cf. Evangelii Gaudium, 31.
[23] Address at the Vigil of Prayer in preparation for the Synod on the Family (4 October 2014).
[24] Address on the Fiftieth Anniversary of the Synod of Bishops (17 October 2015).
[26] Post-Synodal Apostolic Exhortation Pastores Gregis, 58.
[27] Address on the Fiftieth Anniversary of the Synod of Bishops. Cf. Evangelii Gaudium, 31.
[28] Address on the Fiftieth Anniversary of the Synod of Bishops.
[29] Post-Synodal Apostolic Exhortation Pastores Gregis, 58.
[30] John Paul II, Address to the Council of the General Secretariat of the Synod of Bishops (30 April 1983).
[31] Closing Address of the XIV Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops (24 October 2015).
[32] Paul VI, Address for the start of the sessions of the I Ordinary General Assembly of the Synod of Bishops (30 September 1967).
[33] Cf. Codex Iuris Canonici, can. 339, §2; Codex Canonum Ecclesiarum Orientalium, can. 52, §2.
[34] Cf. Codex Iuris Canonici, can. 346.
[35] Address on the Fiftieth Anniversary of the Synod of Bishops.
[36] Cf. Lumen Gentium, 22.
[38] Codex Iuris Canonici, can. 333, §2; cf. Codex Canonum Ecclesiarum Orientalium, can. 45, §2; Pastores Gregis, 58.
[39] Letter to the General Secretary of the Synod of Bishops on the occasion of the elevation of the Undersecretary to the episcopal dignity (1 April 2014).
[41] Encyclical Letter Ut Unum Sint (25 May 1995), 95.