Skip to content

สาส์นผ่านทางวีดีโอของพระสันตะปาปาฟรานซิสประทานมายังผู้เข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติ

เรื่อง การเมืองอันมีรากเหง้าอยู่ในและพร้อมกับประชาชน (15 เมษายน 2021)

เจริญพรมายังพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย

ข้าพเจ้ารู้สึกยินที่มีโอกาสปราศรัยทักทายท่านในช่วงเริ่มต้นของการประชุมที่จัดโดยศูนย์กลางเทววิทยาแห่งชุมชน ณ กรุงลอนดอน เกี่ยวกับหัวข้อในหนังสือ “ขอให้พวกเราฝัน”(Let Us Dream) และที่สำคัญคือนี่เกี่ยวกับกระบวนการขับเคลื่อนของประชาชน และองค์กรที่ให้การสนับสนุน

        ข้าพเจ้าขอกล่าวต้อนรับเป็นพิเศษมายังกระบวนการรณรงค์ของชาวคาทอลิกเพื่อการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม ซึ่งทำการฉลองครบ 50 ปีในการช่วยเหลือชุมชนที่ยากจนในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อที่พวกเขาจะได้มีชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีด้วยการส่งเสริมพวกเขาให้มีส่วนในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลไปยังพวกเขา

        นี่ยังเป็นสนามแห่งการทำงานของอีกหลายองค์กรในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศในเครือสหราชอาณาจักร ประเทศเยอรมนี และที่อื่น ซึ่งมีพันธกิจในการเดินเคียงคู่กับประชาชน กล่าวคือ ผืนแผ่นดิน บ้านสถานพำนักอาศัย และการทำงาน ซึ่งอธิบายจาก “อักษร T สามตัว ในภาษาสเปนิช tierra, techo y trabajo” ที่มีความสำคัญในความเป็นเอกภาพสามัคคีหรือ “solidarity” [1] และอยู่เคียงข้างกับพวกเขาเมื่อพวกเขาพบกับทัศนคติที่ถูกเบียดเบียน ถูกรัดเอาเปรียบ และดูถูกดูแคลนเพราะความยากจน และการที่พวกเขาไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานอันเป็นผลพวงตามมา เพราะโรคระบาดทำให้พวกท่าน ณ ที่ประชุม ต้องทำงานอย่างหนักยิ่งขึ้นและเป็นประจักษ์พยานชีวิตอย่างเร่งด่วนในสภาวะการณ์อันจำเป็นเช่นนี้

        เป้าหมายของการประชุมอย่างหนึ่งของพวกท่านก็เพื่อที่จะแสดงว่าการตอบสนองที่แท้จริงกับการตื่นตัวของมวลชนนั้นไม่ใช่เป็นการเห็นแก่ตัวเพิ่มขึ้น แต่เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ซึ่งต้องเป็นการเมืองแห่งภราดรภาพโดยมีรากเหง้าอยู่ในชีวิตของปวงประชา ในหนังสือที่เขียนขึ้นไม่นานมานี้ของคุณพ่ออันกุส ริทชีย์ (Angus Ritchie) เรียกการเมืองประเภทนี้เป็น “การรวมประชากรทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน”  ข้าพเจ้าชื่นชอบคำว่า “ประชานิยม – Popularism” เพื่อที่จะแสดงถึงความคิดบางสิ่งบางอย่าง [2] ที่สำคัญไม่ใช่ชื่อหรือวิสัยทัศน์เหมือนกัน แต่เกี่ยวกับการแสวงหาวิธีการที่จะรับประกันว่าชีวิตของประชาชนนั้นมีค่าที่คู่ควรกับความเป็นมนุษย์ เป็นชีวิตที่สามารถสร้างคุณธรรมขั้นสูงและสร้างความสัมพันธ์กันใหม่ [3]

        ในหนังสือ ขอให้พวกเราฝัน (Let Us Dream) ข้าพเจ้าเรียกว่า “การเมือง – Politics – พร้อมกับอักษร P-popularism” เป็นการเมืองในการบริการรับใช้ ซึ่งเปิดหนทางใหม่ให้ประชาชนจัดตั้งองค์กรเพื่อที่จะแสดงออกซึ่งตัวตนของตน  อันเป็นการเมืองที่มิใช่เพียงเพื่อประชาชนเท่านั้น แต่ต้องพร้อมกับประชาชนด้วยที่มีรากเหง้าอยู่ในชุมชนของพวกเขา และในคุณค่าของพวกเขา ในอีกมุมมองหนึ่ง ประชานิยมจะค่อนข้างที่จะได้รับแรงบันดาลใจไนอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ด้วยคำนิยมที่ว่า “ทุกสิ่งเพื่อประชาชน แต่ไม่มีสิ่งใดที่บ่งพร้อมกับประชาขน” – จึงกลายเป็นการเมืองแบบอุปถัมภ์ค้ำชู ดังนั้นในวิสัยทัศน์ประชานิยมเช่นนี้ ประชาชนไม่ได้เป็นพระเอกในเรื่องราวเป้าหมายชีวิตของตน แต่ลงเอยด้วยการอยู่ที่ปลายแถวแห่งอุดมการณ์ (คือการนำประชาชนมาเป็นเพียงเครื่องมือและอ้างอิง)

เมื่อประชาชนไม่ได้รับการเหลียวแลพวกเขาไม่ได้เพียงแค่ถูกปฏิเสธการอยู่ดีกินดีอย่างชอบธรรมเท่านั้น แต่ประชาชนยังขาดศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์โดยถูกกระทำด้วย พวกเขาไม่ได้เป็นพระเอกในเป้าหมายชีวิตและประวัติศาสตร์ของตนเองอีกต่อไป และไม่สามารถที่จะแสดงตนเองด้วยคุณค่าและวัฒนธรรมของตนเอง ความคิดสร้างสรรค์และผลงานที่เป็นการกระทำของตนเอง นั่นคือเหตุผลที่เป็นไปไม่ได้ที่พระศาสนจักรจะแยกการส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมออกจากคุณค่าฝ่ายจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นต้นตอแห่งศักดิ์ศรีของมนุษย์ดังกล่าว ในชุมชนคริสตชนคุณค่าเหล่านั้นเกิดจากการที่ได้พบกับพระเยซูคริสต์ ผู้ซึ่งแสวงหาลูกแกะที่หายไปหรือที่หมดกำลังใจอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ผู้ที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพิ่อประทังชีวิตไปวันๆ เพื่อที่จะนำพระพักตร์และการประทับอยู่ของพระเจ้ามาสู่พวกเขาเพื่อที่จะเป็น “พระเจ้าสถิตอยู่กับพวกเรา”

        พวกท่านหลายคนที่มาชุมนุมกันต่างทำงานกันมาแล้วหลายปีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่อยู่ตามชายขอบสังคม พวกท่านเดินควบคู่ไปกับกระบวนการขับเคลื่อนของประชาชน บางครั้งอาจจะไม่ค่อยสะดวกสบายนัก บางคนกล่าวหาว่าพวกท่านเล่นการเมือง ส่วนคนอื่นก็กล่าวหาว่าท่านจะไปบังคับให้คนอื่นนับถือศาสนาของท่าน ท่านก็เข้าใจดีว่าการให้ความเคารพต่อผู้อื่นยังหมายถึงการให้ความเคารพต่อสถาบันของพวกเขารวมถึงศาสนาของเขาด้วย และบทบาทของสถาบันเหล่านั้นก็ไม่ต้องไปบังคับผู้ใด แต่จะต้องเดินไปพร้อมกับประชาชนโดยเตือนใจพวกเขาถึงพระพักตร์ของพระเจ้า ซึ่งก้าวเดินล่วงหน้าพวกเราไปแล้วเสมอ

        นั่นคือเหตุที่เหตุใดผู้อภิบาลของประชาชน ซึ่งเป็นเสมือนผู้เลี้ยงดูลูกแกะฝ่ายศาสนาเป็นผู้ที่แสวงหาหนทางที่จะเดินไปข้างหน้า ท่ามกลางและอยู่ข้างหลังประชากร อยู่ข้างหน้าเพื่อที่จะชี้ให้เห็นหนทางที่อยู่ข้างหน้า อยู่ท่ามกลางเพื่อที่จะมีความรู้สึกกับประชาชนและไม่ให้พวกเขาเดินหลงทาง อยู่ข้างหลังเพื่อที่จะช่วยผู้ที่พลัดหลง และช่วยให้พวกเขาแสดงหาหนทางด้วยตัวของเขาเอง และได้พบกับหนทางที่ถูกต้อง

        นั่นคือเหตุผลที่หนังสือ ขอให้พวกเราฝัน (Let Us Dream) ที่ข้าพเจ้าพูดถึงความปรารถนา ซึ่งทุกเขตศาสนปกครอง (สังฆมณฑล) ในโลกจะต้องให้ความร่วมมือกันอย่างสม่ำเสมอกับกระบวนการขับเคลื่อนของประชาชน [4]

        การออกไปพบปะกับพระเยซูคริสต์ผู้มีบาดแผลและเสด็จกลับคืนชีพในชุมชนที่ยากจนที่สุดของพวกเรา จะทำให้พวกเราค้นพบใหม่ซึ่งความร้อนรนในงานธรรมทูต เพราะว่าตรงนี้นี่เองที่พระศาสนจักรบังเกิดขึ้นมาในบริบทแห่งไม้กางเขน “ถ้าพระศาสนจักรไม่ใส่ใจคนยากจน พระศาสนจักรก็จะไม่ใช่พระศาสนจักรของพระเยซูคริสต์  พระศาสนจักรจะตกอยู่ในการล่อลวงแบบเก่า ๆ ที่จะเป็นเพียงผู้ดีมีจริยธรรมและปัญญา” .. รูปแบบใหม่ของลัทธิ “Pelagianism” (ลัทธิบูชาการกระทำทำความดีและเสรีภาพของมนุษย์ พึ่งกำลังตนเอง ปฏิเสธพละกำลังจากพระเจ้า) หรือเป็นชีวิตที่เป็นแก่นแท้ชนิดหนึ่ง [5]

        ในทำนองเดียวกันการเมืองที่หันหลังให้กับคนยากจนจะไม่มีวันที่สามารถที่ส่งเสริมความดีส่วนรวมได้ การเมืองที่หันหลังให้กับผู้ที่อยู่ตามชายขอบสังคมจะไม่มีวันที่เขาจะเข้าใจศูนย์กลาง และจะสับสนเรื่องอนาคตกับการทำนายด้วยตัวตนเองโดยเริ่มต้นจากการใช้อำนาจไปในทางที่ผิดราวกับเป็นการมองในกระจกเงา

        หนทางหนึ่งในการหันหลังให้กับคนยากจนคือการดูถูกวัฒนธรรม เมินเฉยในชีวิตจิต และมองไม่เห็นคุณค่าทางศาสนาของประชาชน ซึ่งหลังจากการที่ไม่สนใจใยดีหรือมัวแต่สั่งการเพราะตนเองมีอำนาจ การดูหมิ่นดูแคลนวัฒนธรรมของประชาชนเป็นจุดเริ่มของการใช้อำนาจไปในทางที่ผิด

        เมื่อรับรู้ถึงความสำคัญของชีวิตฝ่ายจิตในชีวิตของประชาชน นั่นพวกเราจะทำให้เกิดการเมืองรูปแบบใหม่ นั่นเป็นเหตุผลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ชุมชมแห่งความเชื่อจะต้องมาพบปะกัน การรักสามัคคีกันฉันพี่ฉันน้องเพื่อที่จะช่วยกันทำงาน “สำหรับ/เพื่อ และพร้อมกับประชาชน”  พร้อมกับพี่น้อง  ท่านมหาอิหม่ามอหเหม็ด อัล-ตาย์เยบ(Grand Imam Ahmad Al-Tayyeb) “พวกเราร่วมกันประกาศว่า พวกเรายอมรับวัฒนธรรมแห่งการเสวนาว่าเป็นหนทางแห่งความร่วมมือกัน และเป็นความเข้าใจร่วมกันว่าเป็นวิธีที่เป็นมาตรฐาน” [6] ทว่าต้องเพื่อรับใช้ประชาชนเสมอ

        พี่น้องที่รัก บัดนี้ยิ่งกว่ายุคใด ๆ พวกเราต้องสร้างอนาคตจากฐานราก จากการเมืองพร้อมกับประชาชนโดยมีรากเหง้าอยู่ในประชาชน ขอให้การประชุมของท่านให้แสงสว่างกับหนทางดังกล่าว

        ขอขอบคุณ  

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บสาส์นวีดีโอของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)

เชิงอรรถ

______________________________

[1] In Spanish: tierra, techo y trabajo.

[2] Angus Ritchie, Inclusive Populism: Creating Citizens in the Global Age (Univ. Notre Dame Press, 2019).

[3] Pope Francis, Let Us Dream. The Path to a Better Future. In conversation with Austen Ivereigh (Simon & Schuster, 2020) p. 112.

[4] Let Us Dream, p. 121.

[5] Let Us Dream, p. 120.

[6] Document on Human Fraternity, quoted in Fratelli tutti, no. 285.