Skip to content

ปีพิเศษมอบแด่นักบุญโยเซฟ

พระสันตะบิดรฟรานซิสได้ตราปีพิเศษมอบแด่นักบุญโยเซฟโอกาสครบ 150 ปีของการประกาศว่า นักบุญโยเซฟ เป็นอุปถัมภกของพระศาสนจักรสากล เริ่มจากวันอังคารที่ 8 ธันวาคม 2020/2563 และสิ้นสุด ในวันที่ 8 ธันวาคม 2021/2564

        เป็นการคาดไม่ถึงว่าวันสมโภชพระแม่ผู้ปฏิสนธินิรมล พระสันตะบิดรฟรานซีสได้ตราปีพิเศษนี้ ในเวลาเดียวกัน พระองค์ได้ทรงอักษรสมณลิขิตในหัวข้อ “ด้วยดวงใจของบิดา” (Patris corde) เป็นสมณลิขิตที่พระองค์ทรงกล่าวถึงการ รำพึงไตร่ตรองเกี่ยวโยงถึงผู้ปกป้องครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ท่านนี้  เป็นเนื้อความที่มุ่งสร้างความรักให้เข้มข้นต่อ “นักบุญผู้ยิ่งใหญ่” ท่านนี้  เพื่อเราแต่ละคนจะได้รับแรงผลักดัน “ให้ขอคำอ้อนวอนแทน และเพื่อเลียนแบบคุณธรรมและแรงขับเคลื่อน

ของชีวิตของท่าน”  และเป็นพิเศษเพื่อขอให้ได้มาซึ่ง “พระพรแห่งพระพรทั้งหลาย นั่นคือ การเปลี่ยนจิตใจ/การกลับใจ”

        สมณประมุขพระศาสนจักรคาทอลิกทรงอธิบายดังนี้ ว่านักบุญโยเซฟเป็น “บิดาผู้เป็นที่รัก” ของปวงประชา ว่านักบุญโยเซฟ “สอนเราให้มีความเชื่อในพระเจ้า คือ เชื่อว่าพระเจ้าทรงสามารถให้พวกเรากระทำการได้แม้ต้องผ่านความ กลัว ความกังวล ความเปราะบางของพวกเรา”  ว่าท่าน “ได้ตอบรับ (FIAT) เหมือนพระแม่มารี เมื่อทูตสวรรค์มาแจ้งข่าวดี แก่พระแม่”  ท่านได้ต้อนรับองค์พระเยซูในครอบครัวของท่าน อันแสดงถึง“ความมุ่งมั่นกระทำอย่างทรงพลัง และเปี่ยมด้วย ความอาจหาญ” เหตุก็เพราะว่า “การต้อนรับ คือวิธีหนึ่งซึ่งเอื้อต่อพระพรขององค์พระจิตให้มาอยู่กับเราในชีวิตได้”

        นักบุญโยเซฟเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ เป็นการปกปักษ์คุ้มครองด้วยความเป็นบิดาจากความ เป็นคนทำงานและผู้เฝ้าดูแล ตั้งแต่พระสันตะบิดรปีโอที่ 9 (Pius IX) จนถึงองค์ปัจจุบัน มีท่านอยู่ในความนึกคิดและจิตใจ ทุกครั้งที่มนุษยชาติต้องผ่านช่วงเวลาของความทุกข์ยุ่งยาก  พระสันตะบิดรทรงเน้นในสมณลิขิตถึง “ความต้องการบิดาในแบบนี้” เพื่อให้โลกของอนาคตต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ของวิกฤติ

        แม้นักบุญโยเซฟมิได้เป็นบิดาแท้ๆ ทางสายเลือด แต่ได้ปฏิบัติหน้าที่ของ “บิดรภาพ” ซึ่งเรามองไม่เคยเห็นในพระ ธรรมใหม่ บิดรภาพของพระบิดาจึงไม่ควรทำให้เราลืมมองบิดรภาพของนักบุญในอาชีพของช่างไม้ ผู้ได้ตระเวนไปกับกุมาร น้อยจากเบธเลเฮมไปจนถึงนาซาแรธโดยผ่านทางประเทศอียิปต์  ตลอดทางท่านทำตัวเป็นพ่อที่ดี  พระสันตะบิดรฟรานซีส ได้ทรงถือว่านักบุญโยเซฟ เหมือน “เงาของพระบิดาเจ้าสวรรค์” ในการอบรม ในการปกปักษ์คุ้มครอง และในความรักต่อ องค์พระกุมาร

        พระสันตะปาปาฟรานซีสทรงชี้ว่า นักบุญโยเซฟคือ “ผู้เสนอวิงวอนแทน เป็นผู้สนับสนุนและนำทางเมื่อมีปัญหา” เป็นเหมือนภาพลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ที่แลไม่เห็น เหมือน “ประตู/คนข้างบ้าน” ที่เปิดเผยตัวตนออกมาทุกครั้งเมื่อมี ปัญหา และมาบรรเทาใจและช่วยเหลือ พระองค์ทรงเน้นว่า ในความหมายนี้ นักบุญโยเซฟ“ได้ทำหน้าที่อย่างไม่มีใครเทียบ ในประวัติความรอดพ้นของมนุษย์”

        ความศรัทธาต่อนักบุญโยเซฟมีมาแต่โบราณกาลทั่วไปในพระศาสนจักร พระสันตะบิดรปีโอที่ 9 ได้ทรงตราให้ นักบุญ โยเซฟเป็นอุปภัมภกของพระศาสนจักรในวันที่ 8 ธันวาคม 1870/2413 “ต่อจากพระแม่มารี มารดาพระเจ้า ไม่มี นักบุญองค์ใดสำคัญใน คำสอนของพระศาสนจักรเท่านักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระแม่”  พระสันตะบิดรฟรานซีสยอมรับ ว่าพระองค์มีใจศรัทธาเป็นพิเศษต่อองค์อุปภัมภกของพระศาสนจักรสากลท่านนี้

        วันที่ 1 พฤษภาคม 2020/2563 อันเป็นวันระลึกถึงนักบุญโยเซฟ กรรมกร  พระสันตะบิดรฟรานซีสได้ถวายบูชา ขอบพระคุณ ประจำวัน ณ สมณสำนักนักบุญมารธา ข้างๆ พระแท่นมีรูปปั้นนักบุญโยเซฟ กำลังสอนวิชาช่างไม้แก่พระ กุมารเยซู  พระองค์ได้ทรงภาวนาผ่านทางคำเสนอวิงวอนของนักบุญโยเซฟเพื่อผู้ตกงาน ผู้ตกระกำลำบากจากสุขภาพอนามัย

        หนึ่งปีให้หลังของสมณสมัยของพระองค์ พระสันตะบิดรฟรานซีสได้ทรงอักษรถึงบทบาทของนักบุญโยเซฟในปี 1854/2397 ว่า “เป็นความหวังแน่ของพระศาสนจักรองจากพระแม่พรหมจารีมารี” สถานภาพของนักบุญโยเซฟ ไม่โดดเด่นในพระวรสาร เพราะอยู่ภายในร่มเงาของสถานภาพของพระแม่พรหมจารีมารีและองค์พระคริสต์อย่างเห็นได้ชัด  การเน้นบทบาทของนักบุญโยเซฟให้โดดเด่นนี้จึงดูย้อนแย้งแต่เหมาะสมยิ่ง  150 ปีต่อมา พระสันตะบิดรฟรานซีส ได้ทรงรื้อฟื้นความศรัทธาของพระสันตะบิดรปีโอที่ 9 โดยยกนักบุญโยเซฟให้เป็น “ผู้ช่วยสร้างโครงเรือนใหม่ของสังคม”

        ในปี 1889/2432 พระสันตะบิดรเลโอที่ 13 ได้ทรงอธิบายอย่างสวยงามถึงสถานภาพ ขององค์อุปถัมภกของพระ ศาสนจักรสากลในสมณสาส์นเวียน Quamquam pluries ว่า “บ้านศักดิ์สิทธิ์ที่นักบุญโยเซฟบริหารจัดการด้วยอำนาจหน้าที่ ของความเป็นบิดาเปี่ยมด้วยผลแรกเริ่มของพระศาสนจักรที่กำลังเยาว์วัย”  ส่วนพระสันตะบิดรฟรานซีสได้ทรงประกาศว่า นักบุญโยเซฟก็เหมือนพระแม่มารีต่อหน้าทูตสวรรค์ หรือเหมือนองค์พระเยซูที่เกทเซมานี “ได้รู้กล่าวตอบรับภาระหน้าที่ ‘FIAT’ “ พระสันตะบิดรได้ทรงเน้นอีกว่า “การเป็นบิดา คือการพาลูกให้เข้าในประสบการณ์ของชีวิต และของความเป็นจริง ไม่เหนี่ยวรั้งไว้กับตน ไม่ควบคุม ไม่แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ช่วยให้มีศักยภาพในการเลือก ในการมีอิสระ ในความต้องการจากไป”

        ในสมณดำริ (Motu Propio) BonumSane ปี 1920/2463 พระสันตะบิดรเบเนดิกที่ 15 ได้ทรงสรรเสริญความมีเกียรติ ของท่านช่างไม้

        “เหตุเพราะว่า นักบุญโยเซฟจากราชวงศ์กษัตริย์ ได้เป็นหนึ่งเดียวกันด้วยการแต่งงานกับสตรีที่ยิ่งใหญ่ และ ศักดิ์สิทธิ์กว่าสตรีใดๆ  ได้ชื่อเด่นด้วยการเป็นบิดาของพระเจ้า ได้ผ่านชีวิตการทำงาน เลี้ยงชีพด้วยหยาดเหงื่อแรงงาน และ ประคบประหงมครอบครัวของท่านอย่างไม่มีที่ติ”  พระองค์ทรงเล็งเห็นในตัวนักบุญ  เป็นข้อพิสูจน์ว่าสถานภาพ ความต่ำต้อยไม่มีอะไรน่าอายแม้แต่นิด การรำพึงไตร่ตรองนี้ได้รับการยืนยันในบทเทศน์ของพระสันตะบิดรเบเนดิก ปี 2006/2549 ว่า “คริสตชนต้องดำเนินชีวิตธรรมจิตที่ช่วยสร้างความศักดิ์สิทธิ์ผ่านการทำงานโดยเลียนแบบ นักบุญ โยเซฟ ผู้ คอยดูแลและความต้องการของครอบครัวศักดิ์สิทธิ์ ด้วยลำแข้งของท่านเอง เพราะเหตุนี้  พระศาสนจักรจึงยกท่านให้เป็น องค์อุปถัมภกของผู้ใช้แรงงาน/กรรมกร” พระองค์ได้ทรงมอบให้นักบุญโยเซฟเป็นผู้พิทักษ์ <<บรรดาเยาวชน ที่มีความ  ลำบากในการแทรกเข้าในโลกของการทำงาน คนว่างงานและคนที่มีปัญหาต้องทนทุกข์จากวิกฤตของการไม่มีการจ้างทำ งาน>>  ความคิดในเรื่องนี้ปรากฏอีกครั้งในสมณสาส์นเวียน Patris corde ของพระสันตะปาปาฟรานซีส

        ในปี 1989/2532 ในสมณสาส์นเวียน Redemtoris Custos นักบุญพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้กล่าวถึงความ สำคัญของนักบุญโยเซฟ พระองค์ทรงบ่งชี้ถึง “แบบอย่างของนักบุญโยเซฟ ผู้ได้ถวายทั้งชีวิตเพื่อรับใช้พระวจนาตถ์ผู้รับสภาพมนุษย์”   7 ปีก่อนนี้ (1982/2525) พระองค์ได้ให้สมญานามนักบุญโยเซฟว่าเป็น “ผู้ปกปักษ์พระผู้ช่วยให้รอดพ้น” เพราะท่านนักบุญมี “ความเชื่ออย่างวีระบุรุษ ในทุกกรณีของชีวิต”  พระสันตะบิดรฟรานซีสได้ทรงประกาศยืนยันในลักษณะ เดียวกัน พระองค์ตรัสในปี 2020/2563 ว่า “ความสุขแท้/เป็นบุญแท้ของนักบุญโยเซฟ มิใช่อยู่ที่ตรรกะของการเสียสละตน แต่เป็นพระพรแห่งตัวตนของท่าน

        ในการนำนักบุญโยเซฟให้มาโดดเด่นในประวัติความรอดพ้น พระสันตะบิดรฟรานซีสมีพระประสงค์แสดงให้ เห็นว่า พระเจ้าได้ทรงเลือกพลังอำนาจหน้าที่เชิงสร้างสรรค์จากบรรดาผู้ต่ำต้อย เพื่อคว่ำบาตรตรรกะแห่งอำนาจ และพลัง ที่คอยกดทับเหยียบย่ำ

        ต้องยอมรับว่า ตั้งแต่สังคายนาวาติกันที่สอนเป็นต้นมา ความศรัทธาต่อนักบุญโยเซฟเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พระสันตะ บิดรฟรานซีสทรงเตือนให้ระลึกแนวความคิดของสมณประมุขสูงสุดของพระศาสนจักร ผู้ “พยายามเข้าใจให้ลุ่มลึกสารที่ พระวรสารถ่ายทอด เนื้อความบางเนื้อความ เพื่อดึงบทบาทเด่นของนักบุญโยเซฟในประวัติศาสตร์ความรอดพ้น อาทิ บุญราศีพระสันตะบิดรปีโอที่ 9 ได้ประกาศให้ท่านนักบุญเป็นองค์อุปภัมภกของพระศาสนจักรคาทอลิกผู้ น่าเลื่อมใส/ คารวะริยะพระสันตะบิดรปีโอที่ 12 นำเสนอท่านนักบุญเป็นองค์อุปภัมภกของคนใช้แรงงาน/กรรมกร และนักบุญพระสัน ตะบิดรยอห์น ปอลที่ 2 นำเสนอท่านนักบุญเป็นผู้ปกปักษ์พระผู้ช่วยให้รอดพ้น ประชากรทั่วไปมีความศรัทธาต่อท่านนักบุญ ว่าเป็นองค์อุปภัมภกเพื่อวอนการตาที่ดี” เป็นต้น

        การพินิจไตร่ตรองดังกล่าวมาข้างต้นเกิดในตัวของพระสันตะบิดรในช่วงวิกฤตของโรคระบาด COVID-19 ที่ทั้ง พระองค์และพวกเราได้สัมผัสกับประสบการณ์ร้ายอันหนักหน่วง ในเวลาเดียวกันได้ทรงเห็นว่าชีวิตของพวกเราหลายๆ ครั้ง ยังคงอยู่และได้รับการอุ้มชูจากบุคคลธรรมดาหลายท่านที่บ่อยครั้งเราลืมพวกเขา  พระสันตะบิดรมีพระประสงค์คารวะบุคคลเหล่านี้ที่ทุ่มเททุกวันเพื่อรับใช้เพื่อนพี่น้องในสังคม ไม่โดดเด่นในข่าวในรายการทีวีหรือในหมู่ข่าวสารทางการเมือง พระองค์มีพระประสงค์ส่ง “การไตร่ตรองส่วนพระองค์นี้” เพื่อส่งเสริมและให้กำลังใจพวกเขา พระองค์ได้ตรัสว่า “พวกเรา สามารถพบนักบุญโยเซฟเหมือนผู้ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครเห็น แต่เป็นผู้ปฏิบัติภารกิจประจำวันอย่างเงียบๆ และหลบหน้า หลบตา เป็นผู้เสนอวิงวอน เป็นผู้พยุงและนำทางในช่วงวิกฤตของชีวิต  นักบุญโยเซฟเตือนพวกเราว่ามีผู้ที่ปฏิบัติภารกิจดู ซ่อนเร้นอยู่“หลังฉาก” ได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างหาใครเปรียบได้ในประวัติความรอดพ้น ขอให้พวกเขาได้รับการรู้จากเรา” พระองค์จึงมีพระประสงค์แสดงความรู้คุณต่อผู้ต่ำต้อยเหล่านั้น ต่อผู้ที่ประวัติศาสตร์ทางการซ่อนบังไว้  แต่พวกเขาได้ช่วย สร้างและถักทอสายสัมพันธ์ให้เป็นจริงในสังคมซึ่งผู้เห็นแก่ได้ เห็นแก่ตัวต้องการเป็นเครื่องผลักดันให้เปลี่ยนจิตใจ/กลับใจ

        ในเนื้อความที่เกี่ยวโยงด้านจิตวิทยาและด้านชีวิตธรรมจิต พระสันตะบิดรฟรานซีสทรงอธิบายดังนี้ “เจ้ามารร้าย ผลักดันให้เรามองความเปราะบางของเราและมีการตัดสินในเชิงลบ ตรงกันข้าม องค์พระจิตทรงให้เรามองในแสงสว่าง แห่งความอ่อนโยน ละมุนละมัย อันเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่สามารถสัมผัสสิ่งที่เปราะบางในตัวเรา  การชี้นิ้วตำหนิตัดสินความผู้อื่น เมื่อเราพูดหรือสนทนากับเขา คือเครื่องหมายของการไร้ศักยภาพในการต้อนรับความเปราะบางในตัวเรา ความอ่อนแอ ของเราเอง ความอ่อนโยนละมุนละมัยเท่านั้นที่จะทำให้เราพ้นเงื้อมือของผู้กล่าวหาเรา (เทียบวิวรณ์ 12:10) ด้วยเหตุนี้ จึงมีความสำคัญที่เราต้องพบความเมตตาอ่อนโยนของพระเจ้า เป็นพิเศษในศีล/เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์แห่งการคืนดี อันเป็น/มีประสบการณ์กับความจริงและความอ่อนโยนอย่างแท้จริง”

        การน้อมรับโดยดุษณีความเปราะบางและความอ่อนแอของเราภายใต้สายพระเนตรอันอ่อนโยนละมุนละไมของ องค์พระเยซู เป็นเงื่อนไขอันขาดมิได้ของการได้มาซึ่งความรักเผื่อแผ่ต่อเพื่อนพี่น้องของเรา

        พระสันตะบิดรฟรานซีสมีพระประสงค์ให้เราเข้าใจว่า การอ่านสมณสาส์นเวียงฉบับนี้จะสร้างกำลังใจและความ อาจหาญแก่ประชาสัตบุรุษทุกคน “การอ่านอย่างผิวเผินจะทำให้เกิดความรู้สึกว่า โลกตกอยู่ในอำนาจของผู้ที่แข็งแกร่ง และมีอำนาจ  แต่ “ข่าวดี” แห่งพระวรสารชี้ชัดว่า แม้จะมีความโอ้อวด แม้จะมีความรุนแรงของผู้คุกคามทางโลก พระเจ้าทรง พบวิธีเสมอในการทำให้แผนการแห่งการรอดพ้นเป็นจริงจนได้  แม้ชีวิตดูเหมือนอยู่ใต้อำนาจของผู้ทรงพลัง  แต่พระวรสาร บอกเราว่าพระเจ้าทรงช่วยเราให้รอดพ้นเสมอ ถ้าเรามีความอาจหาญแบบสร้างสรรค์  เหมือนนักบุญโยเซฟ  ช่างไม้แห่ง นาซาแรธ ผู้รู้จักเปลี่ยนแปรปัญหาให้กลายเป็นโอกาส เพราะความไว้วางใจในพระญาณเอื้ออาทร”  เนื้อความเหล่านี้ เป็น ความหวังแก่พวกเราผู้หลายต่อหลายครั้งยอมเป็นทาสของความรู้สึก ว่าชีวิตต้องอยู่ใต้อำนาจของพลังที่บดขยี้เราอยู่ตลอดเวลา พระสันตะบิดรฟรานซีสทางเชื้อเชิญให้เราสร้างความอาจหาญ “เชิงสร้างสรรค์” ในตัวเรา (เหมือนความอาจหาญของ เพื่อนๆ  ที่ได้หย่อนคนพิการผ่านทางหลังคาบ้าน ในพระวรสาร)

        จากสมณสาส์นเวียนฉบับนี้ ทำให้พระสันตะบิดรฟรานซีสอยู่เหนือการพิพาทที่มีเป็นประจำต่อการวิจารณ์ วิจัยท่าที แนวความคิดและการประกาศของพระองค์  พระองค์ “ได้ทรงเปิดประตูกว้างอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน”

        ความศักดิ์สิทธิ์ครบครันขององค์พระเยซูและพระแม่มารี มิได้บดบังนักบุญโยเซฟ จากการเป็นแบบอย่างของ บรรดาบิดาของครอบครัวและของบรรดาคู่ชีวิต  บุรุษผู้เจริญชีวิตอย่างเงียบๆ ได้เป็นแบบอย่างของผู้ที่เจริญชีวิตภาวนา เพ่งพิศด้วย

 

        นักบุญโยเซฟเป็นคู่ชีวิตจริงของพระแม่มารี “โยเซฟ โอรสกษัตริย์ดาวิด อย่ากลัวที่จะรับมารีมาเป็นภรรยาของ ท่านเลย” (มัทธิว 1:20) การสมรสของทั้งสองเป็นที่ปรารถนาของพระเจ้า คงเป็นเรื่องแปลกถ้าเราให้คุณค่าของทั้งสอง ท่านน้อยกว่าการสมรสของคู่ชีวิตอื่น ๆ   นักบุญโยเซฟเป็นสามีแท้ของพระแม่มารี ท่านได้ร่วมทั้งทุกข์ทั้งสุขด้วยกัน แค่นึกถึงการเดินทางไปเบธเรเฮม แล้วต้องเดินทางหนีไปประเทศอียิปต์ ก็น่าจะเพียงพอเพื่อพิสูจน์การดำเนินชีวิตฉันสามี ของนักบุญโยเซฟ  ส่วนพระแม่มารีได้ปฏิบัติหน้าที่สมกับที่เป็นคู่อุปถัมภ์จริงตามที่เขียนไว้แบบพระคัมภีร์ “พระเจ้าตรัสว่า  ‘…เราจะสร้างผู้ช่วยผู้เหมาะสมให้เขา’” (ปฐมกาล 2:18)  นักบุญโยเซฟมีความรักต่อกันและกัน ชีวิตคู่ครององท่านทั้งสอง น่าเป็นบทลอกเลียนแบบของพวกเรา 

 

ความรักฉันสามีภรรยาดำเนินไปในจุดสูงสุดสมบูรณ์แบบ จนองค์ พระเยซู ได้ตรัสเตือนสติว่า “ดังนั้นสิ่งที่พระเจ้าทรงรวมกันไว้ มนุษย์อย่าแยกเลย” (มาระโก 10:9)  นักบุญพระสันตะบิดรเปาโลที่ 6 ได้ทรงประกาศว่า “ความรักของนักบุญโยเซฟและของพระแม่มารี คือจุดสูงสุดของความศักดิ์สิทธิ์ที่โปรยปรายลงทั่วทั้ง โลก” (เทียบพระดำรัส  4 พฤษภาคม 1970/2513)  ชีวิตคู่ของอาดัมและเอวาเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของการสร้างโลก ชีวิตคู่ของนักบุญโยเซฟและพระแม่มารีได้เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของ

การสร้างโลกใหม่

        นักบุญโยเซฟเป็นบิดาจริง  แม้นักบุญโยเซฟมิได้เป็นบิดาทางสายโลหิตตามพันธุ์กรรมของมนุษย์ แต่สิ่งนี้หาได้ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่บิดาของนักบุญโยเซฟในทุกขอบข่ายของชีวิต  นักบุญพระสันตะบิดรยอห์น ปอลที่สอง ได้ทรงอักษรไว้ในสมณสาส์นเตือนใจ Redemptoris Custus (15 สิงหาคม 1989/2532)ทรงยืนยันว่า “นักบุญโยเซฟได้ปฏิบัติ ภารกิจกันสูงส่งในการเลี้ยงดูกุมารน้อยเยซู นั่นคือเลี้ยงดูเรื่องอาหาร เรื่องเสื้อผ้า สอนธรรมบัญญัติและอาชีพสอดรับกับ หน้าที่ที่บิดาผู้หนึ่งต้องกระทำ”

        พระสิริรุ่งโรจน์อันยิ่งใหญ่แก่คู่ชีวิตของพระแม่มารี เพราะองค์พระเยซูได้เรียนเรียก “อับบา : พ่อจ๋า” โดยการดูชีวิต ของนักบุญโยเซฟ  แล้วยังทำให้องค์พระเยซูเรียกพระบิดาเจ้าสวรรค์ได้สนิทปากอีกด้วย เพราะพระบิดาเจ้าเป็นพ่อ มาก ยิ่งกว่านักบุญโยเซฟอย่างเทียบไม่ติด  แต่ความเลิศเด่นกว่าของพระบิดาเจ้าหาได้บดบังความยิ่งใหญ่ของคู่ชีวิตของพระแม่ พรหมจารีไม่

 

ชีวิตและการปฏิบัติทางด้านชีวิตธรรมจิตของนักบุญโยเซฟคงสะท้อนหลายอย่างของพระเจ้าในตัวท่าน จนองค์ พระเยซูใช้คำๆ เดียวกันเรียกพระบิดาเจ้าสวรรค์ “พระบิดาแท้ขององค์พระเยซู พระเจ้าแห่งนิรันดรกาลได้ทรงเลือกนักบุญ โยเซฟผู้ศักดิ์สิทธิ์เพื่อรับภาระหน้าที่เป็นบิดาขององค์พระบุตรแต่องค์เดียวของพระองค์ในกาลเวลา และเหมือนได้ทรง โปรยปรายแสงรัศมีหรือประกายแห่งความรักอันสุดคณนาลงสู่ท่านนักบุญโยเซฟ” (เทียบ Bossuet) แม้พระคัมภีร์มิได้พูดถึง ท่านนักบุญนอกจากกล่าวถึงกิจการบางอย่างเท่านั้นก็ตาม สิ่งนี้ดูเหมือนเป็นธรรมล้ำลึก ทำให้เรานึกถึงแบบฉบับชีวิต นักพรตของนักบุญเทเรซาแห่งอาวิลาผู้มีชีวิตเพ่งพิศอยู่ในอาราม แต่มีชีวิตเต็มเปี่ยมด้วยความรักเผื่อแผ่ ท่านหลอม รวมเชือมโยงความรักพระเจ้าเข้ากับความรักเพื่อนพี่น้อง  อันเป็นความรักเผื่อแผ่ที่สมบูรณ์แบบ  นักบุญโยเซฟได้ปฏิบัติ ภารกิจด้วยจิตที่รำพึงเพ่งพิศตลอดเวลา

        ความเป็นมาของความศรัทธาต่อนักบุญโยเซฟ องค์อุปถัมภกของครองครัวของบรรดาผู้ใช้แรงงาน/กรรมกร และ ของกรณี ความยุ่งยากต่างๆ ท่านมีบทบาทพิเศษยิ่งในหัวใจของบรรดาศาสนิก  แต่ในความเป็นจริงความศรัทธาต่อท่าน เป็นจริงเป็นจังก็เพียงเมื่อไม่นานนี้เอง

        ในช่วงแรกศตวรรษ พระศาสนจักรมิได้ให้ความสำคัญกับคารวะกิจต่อนักบุญโยเซฟเป็นพิเศษ เพราะได้เลือกคัด องค์อุปถัมภกที่ตอบโจทย์ของสถานการณ์ในเวลานั้น  จึงมีการเน้นไปที่บรรดามรณสักขีมากกว่า รวมถึงเน้นบรรดาวีระบุรุษ พยานแห่งความเชื่อและบรรดาอัครธรรมทูต

วิวัฒนาการและพัฒนาการของคารวะกิจต่อนักบุญโยเซฟเริ่มสมัยสงครามครูเสดและช่วงเวลาการแสวงบุญไปยัง ดิน แดน ศักดิ์สิทธิ์  อันที่จริงความทรงจำเกี่ยวกับนักบุญโยเซฟและองค์พระเยซูปะปนอย่างแนบแน่นกันอยู่ ทั้งที่เบธเรเฮม และที่นาซาแรธ  จากความศรัทธาของศาสนิกนี้ผลักดันให้มีการศึกษาด้านพิธีกรรมและเทววิทยา  บิดาบุญธรรมขององค์ พระคริสต์ได้เริ่มรับการคารวะนับถือในบรรดานักพรต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักพรตฟรานซีสกันและโดมินิกัน

        ดูเหมือนประเทศฝรั่งเศสมีบทบาทสำคัญแต่พัฒนาการของคารวะกิจต่อนักบุญโยเซฟ ในศตวรรษที่ 15 นักเทว วิทยา  ฌัง แยร์ซง (Jean GERSON 1363/1906-1429/1972) ผู้มีศรัทธาและได้เลือกนักบุญโยเซฟเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่ เยาว์วัย ได้พยายามผลักดันและส่งเสริมคารวะกิจต่อนักบุญโยเซฟนี้  เขาได้เขียนหนังสือเล่มแรกเป็นเกียรติแด่นักบุญโยเซฟ ในสังคายานา Constance (1414/1957-1418/1961)  เขาได้อ้อนวอนให้มีการสมโภชพิเศษมอบแด่นักบุญโยเซฟ วันสมโภช นักบุญโยเซฟจึงปรากฏในปฏิทินคาทอลิก

        นักบุญเทเรซาแห่งอาวิลา มีความศรัทธาอย่างพิเศษต่อนักบุญโยเซฟผู้เป็นภาพลักษณ์ของบิดา นักบุญเทเรซาเรียก ขานและภาวนาต่อนักบุญโยเซฟอย่างไม่หยุดยั้ง  อาราม 13 ใน 18 แห่งใช้นักบุญโยเซฟเป็นศาสนนาม

        ต้นศตวรรษที่ 17 พระสันตะบิดรเกรโกรี่ที่ 15 และพระสันตะบิดรอูร์บัน ที่ 8 ได้ตราให้วันที่ 19 มีนาคม เป็นวันสมโภชนักบุญโยเซฟ

        วันที่ 17 มิถุนายน 1660/2203 นักบุญโยเซฟได้ประจักษ์มาหา Gaspard RICARD หนุ่มเลี้ยงแกะผู้กำลังกระหายน้ำจัด และได้ชี้ให้เขาเห็นลำธารอัศจรรย์หลังจากได้ยกก้อนหินหนักออกอย่างง่ายดาย  เหตุเกิดใกล้หมู่บ้าน Cotignac (ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส) สถานที่นี้ได้กลายเป็นสักการะสถานเพื่อการแสวงบุญอย่างรวดเร็ว

       

Bossuet ได้เคยถวายคำเทศน์กล่าวสรรเสริญนักบุญโยเซฟต่อพระพักตร์ Anne of Austria (สมเด็จพระราชินี พระมารดาของหลุยส์ ที่ 14) ทำให้นักบุญเป็นที่ศรัทธามากในรั้วในวังไปด้วย  เมื่อคาร์ดินัล MAZARIN มรณภาพ  พระเจ้าหลุยส์ได้ขึ้นเสวยราชย์ สิ่งแรกพระองค์ทรงตัดสินพระทัย คือได้ตราให้วันสมโภชนักบุญโยเซฟ 19 มีนาคม เป็นวันหยุดทางการทั่วอาณาจักรฝรั่งเศส

 

        จะว่าไปแล้ว เราสามารถสร้างมโนภาพให้ยอมรับว่า นักบุญโยเซฟได้แบ่งปันกับพระแม่มารีในสัมผัสแรกกับองค์ พระกุมารพระมนุษยเจ้า ได้เล้าโลม มอบความเสน่หา ได้เล่นได้หยอกเย้าพระกุมารน้อย ได้มีชีวิตที่สนิทแนบแน่นเหมือน พ่อแม่ป้ายแดง ที่เพิ่งได้ลูกใหม่ๆ  พระเจ้าได้ทรงมอบพระบุตรของพระองค์ และได้ทรงมอบอำนาจหน้าที่ของความ เป็นบิดาเหนือองค์พระเยซูและเหนือมนุษย์ชาติในเวลาเดียวกัน

 

        พระศาสนจักรยังได้มอบภารกิจหลากหลายให้นักบุญโยเซฟ นอกจากเป็นองค์อุปถัมภกของผู้ใช้แรงงาน/กรรมการ ของครอบครัว ท่านยังได้รับภารกิจให้เป็นองค์อุปถัมภก ของผู้ให้การอบรม ของการตายอย่างดีในศีลในพร  เมื่อได้รับภาระ ดูแล อบรมและปกป้องกุมารน้อย  นักบุญโยเซฟจึงได้รับพระพรพิเศษเพื่อศักยภาพ ในการทำให้ภารหน้าที่อันได้รับมอบ หมายลุล่วงไปอย่างดี การตายอย่างเรียบง่ายห้อมล้อมด้วยองค์พระเยซู และพระแม่มารีเชื้อเชิญพวกเราให้วอนพระหรรษทานแห่งการตายดี

(บทรำพึงนี้ ได้รับการแบ่งปันมาจาก คพ. ปรีชา ธรรมนิยม โอ.เอ็มไอ.)