Skip to content

โครงการ “การทำให้การศึกษาแบบกระชับมั่นคงในระดับสากลในภาวะอันเนื่องมาจากผลกระทบของโลกาภิวัตน์”

(Global Compact on Education) คำปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เริ่มเปิดตัว ณ กรุงโรม เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 15 ตุลาคม 2020

การเปิดตัวโครงการดังกล่าวเลื่อนมาจากเดือน พฤษภาคม 2020 เนื่องจากผลกระทบที่มาจากโรคระบาดโคโรนาทั่วโลก (รวมถึงสาส์นที่ส่งโดยทางวีดีโอ) ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระบัญชามาแล้ว โดยมอบให้ศาสตาจารย์ ดร. พระพรหมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาส เป็นผู้แทนพุทธศาสนาในประเทศไทย ไปประชุมดังกล่าว ที่กรุงโรม ทว่าเหตุการณ์โรคระบาดทำให้โปรแกรมต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนแปลงไป

วันที่ 15 ตุลาคม 2020

        ผลกระทบในโลกาภิวัตน์ต่อการศึกษาเริ่มที่กรุงโรม วันนี้หลังจากที่เลื่อนไปในฤดูใบไม้ล่วงเพราะความเป็นห่วงเรื่องโรคไวรัสโคโรนา เหตุการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้มีการจัดการประชุมกันโดยกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิกเกิดขี้นในวันที่ 11-18 ตุลาคม 2020 และมีการลงนามแถลงการณ์ร่วมกันวันนี้ คือวันที่ 15 ตุลาคม

        “พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงมีพระดำริมอบโครงการนี้ให้กับสมณกระทรวงเพื่อการศึกษารคาทอลิกเป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งควรที่จะเกิดขึ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีการประชุมในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องวันที่ 10-17 พฤษภาคม เช่น “หมู่บ้านแห่งการศึกษา” พร้อมกับนิทัศนาการจากประสบการณ์นานาชาติที่ดีที่สุดจากนักศึกษาที่มาจากทั่วโลก”

        “ความไม่แน่นอนที่เชื่อมโยงกับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาพร้อมกับการตัดสินใจของเจ้าหน้าหน้าที่ภาครัฐในระดับสากล ทำให้ต้องมีการตัดสินใจเลื่อนการประชุมออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้มีความสบายใจมากที่สุด”

        ผลกระทบโลกาภิวัตน์ไม่ได้จำกัดอยู่แค่กับสถาบันการศึกษาเท่านั้น ทว่า “ในความเชื่อว่าหน้าที่ต่อการศึกษต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกคนนั้นหมายถึงผู้แทนของศาสนาต่าง ๆ องค์กรสากล สถาบันมนุษยธรรม รวมทั้งสถาบันวิชาการ เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมด้วย

        “จากมุมมองนี้จึงอาจเป็นที่เข้าใจได้ว่ายิ่งจะมีผู้เข้าร่วมมากและหลากหลายเท่าใดซึ่งเป็นความปรารถนาของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสจึงไม่เป็นแค่มิติเพิ่มเชิงบวกต่อผลกระทบโลกาภิวัตน์ต่อการศึกษาเท่านั้น แต่ในเวลาเดียวกันก็จะสร้างฐานที่มั่นคงและเป้าหมายของสมาพันธ์ดังกล่าวด้วย”

        สมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิกยังคงพยายามทำงานต่อไปเพื่อการประชุมขั้นพื้นฐานนี้ตามพระประสงค์ของพระสันตะปาปา ในสาระของสมณสาส์นของพระสันตะปาปาในการประชุมเรื่องผลกระทบนี้พระองค์ตรัสว่า “ขอให้พวกเราพยายามหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน กล้าหาญที่จะหากระบวนการของการเปลี่ยนแปลง และมองไปยังอนาคตด้วยความหวัง”

        สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงย้ำว่า “ข้าพเจ้าขอเชิญชวนทุกคนให้ช่วยกันทำงานเพื่อสมาพันธ์ดังกล่าวด้วยการปวารณาตนเองภายใต้กรอบแห่งชุมชนของพวกเรา เพื่อหล่อเลี้ยงความฝันของความเป็นมนุษย์ ซึ่งมีรากเหง้าอยู่ในความเอื้ออาทร และการตอบสนองต่อความปรารถนาของมนุษย์ และแผนการพระประสงค์ของพระเจ้า”

        พระสันตะปาปาทรงส่งสาส์นในรูปแบบของวีดีโอถึงที่ประชุมในวันนี้ซึ่งจัดขึ้นโดยรองบรรณาธิการแห่งสำนักข่าววาติกันอเลสซานโด จีซอตตี (Alessando Gisotti) ภายใต้การดูแลของพระคาร์ดินัลโจเซปเป้ แวร์ซาลดี้ (Gioseppe Versaldi) สมณมนตรีซึ่งเป็นประธานฝ่ายการศึกษาของวาติกัน

ต่อไปนี้เป็นสาส์นวีดีโอของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส:

***

คำปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาต่อผู้เข้าร่วมประชุม ผลกระทบระดับสากลต่อการศึกษา เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 15 ตุลาคม 2020

        วันนี้ ณ มหาวิทยาลัยแห่งสันตะสำนักลาเตรัน (Pontifical Lateran University) ในรายการถ่ายทอดสดที่สนับสนุนโดยสมณกระทรวงเพื่อการศึกษาคาทอลิก มีการถ่ายทอดคำปราศรัยผ่านทางวีดีโอของสมเด็จพระสันตะปาปาถึงผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องผลกระทบสากลต่อการศึกษา

พี่น้องชายหญิงที่เคารพ

        ขณะที่ข้าพเจ้าเชิญพวกท่านให้เริ่มกระบวนการเตรียมตัว ปรึกษาหารือกัน และวางแผนเพื่อสร้างเครือข่ายสากลสำหรับการศึกษา พวกเราไม่เคยคิดว่าจะมีสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้นวิกฤตโควิด19 ที่ขยายตัวแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อหลายสิ่งหลายอย่างดังที่พวกเราทราบ ความห่วงใยเกี่ยวกับสุขภาพบัดนี้ได้ขยายตัวออกไปสู่ความกังวลด้านเศรษฐกิจและสังคม ระบบการศึกษาทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคระบาดในทุกระดับ

ความพยามทุกหนทุกแห่งที่จะหาคำตอบอย่างรวดเร็วบนเวทีออนไลน์ของการศึกษา นี่ทำให้พวกเรามองเห็นได้อย่างชัดเจนถึงความไม่เท่าเทียมกันเกี่ยวกับโอกาสในเรื่องของเทคโนโลยีและการศึกษา   และก็ยังทำให้พวกเราเห็นด้วยว่าเนื่องจากการปิดประเทศรวมทั้งมาตรการอื่นๆ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่จำนวนมากต้องพลอยล้าหลังไปกับกระบวนการศึกษาตามธรรมชาติ สถิติเมื่อเร็วๆนี้จากองค์กรสากลทำให้บางคนต้องพูดซึ่งอาจจะรีบร้อนไปหน่อยว่านี่เป็น “หายนะของการศึกษา”  ซึ่งนักเรียนประมาณ 10 ล้านคนถูกบังคับให้ต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจอันสืบเนื่องมาจากไวรัสโคโรนา นี่เท่ากับเป็นการขยายความกว้างของช่องว่างที่น่ากลัวยิ่งขึ้น (ซึ่งเด็ก ๆ ที่กำลังอยู่ในวัยเรียนประมาณ 250 ล้านคนถูกตัดขาดออกจากการศึกษาไปแล้ว)

เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่น่าตกใจเช่นนี้ พวกเราทราบดีว่ามาตรการในการดูแลรักษาสุขภาพจะไม่เพียงพอนอกจากว่าจะค้นพบรูปแบบของวัฒนธรรมใหม่ พวกเรารับรู้ดีขึ้นถึงความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนรูปแบบของการพัฒนา  เพื่อที่จะสร้างหลักประกันว่าศักดิ์ศรีของมนุษย์ได้รับความเคารพ การพัฒนาต้องเริ่มจากโอกาสของการที่ต้องพึ่งพากันในระดับโลกเปิดโอกาสให้ชุมชน และประชาชนช่วยกันเอาใจใส่ดูแลบ้านส่วนรวมของพวกเราพร้อมกับส่งเสริมสันติภาพประโยชน์สุขของพวกเรา  พวกเราเรากำลังเผชิญกับวิกฤตใหญ่ที่ไม่สามารถจะทำให้วิบัติลดลงหรือจำกัดอยู่กับเพียงภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกสิ่ง โรคระบาดทำให้พวกเรารับรู้ว่าสิ่งที่เป็นวิกฤตคือวิธีการเข้าใจต่อความจริงของพวกเราและความสัมพันธ์ระหว่างกันของพวกเรา

ณ จุดนี้จึงมีความชัดเจนว่าการแก้ไขสถานการณ์อย่างง่ายๆ หรือการคิดตามใจตนเองจะใช้ไม่ได้ผล ดังที่พวกเราทราบการศึกษาหมายถึงการเปลี่ยนแปลง การให้การศึกษาเป็นความเสี่ยง และเป็นการสร้างความหวังที่จะทำลาย “ลัทธิกำหนดนิยม” (determinism) และ “ลัทธิแบบสุดโต่ง” (fatalism) ซึ่งการเห็นแก่ตัวของผู้ที่แข็งแรง ส่วนลัทธิประเพณีนิยม (conformism) ของคนที่อ่อนแอ และอุดมการณ์ของพวกที่เห็นสวรรค์บนแผ่นดินจะทำให้พวกเราเห็นว่านี่เป็นหนทางเดียวที่จะก้าวไปข้างหน้า [1]

การให้การศึกษาเป็นการกระทำที่ให้ความหวังเสมอ เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้ต้องมีการร่วมมือกันในการเปลี่ยนแปลง การอยู่นิ่งเฉยแบบแห้งแล้ง ทำให้พวกเราเป็นง่อยซึ่งค่อย ๆ นำไปสู่วิธีคิดที่รับรู้ถึงการที่พวกเราต้องพึ่งพากัน หากระบบการศึกษาของพวกเราในปัจจุบันที่ยังมีความคิดยึดติดอยู่กับที่ และการทำสิ่งซ้ำ ๆ ซึ่งไม่สามารถเปิดขอบฟ้าใหม่ซึ่งมีการต้อนรับสิ่งใหม่ ความเอื้ออาทรระหว่างชนชั้นและคุณค่าเหนือธรรมชาติซึ่งสามารถที่จะให้กำเนิดกับวัฒนธรรม นี่จะไม่หมายความหรือว่าพวกเรากำลังล้มเหลวที่จะฉกฉวยโอกาสที่ถูกเสนอมาให้พวกเราจากเวลาแห่งประวัติศาสตร์ครั้งนี้?

พวกเราทุกคนทราบดีว่าการเดินทางแห่งชีวิตเรียกร้องให้พวกเรามีความหวัง อันมีรากฐานอยู่ในความเอื้ออาทร การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างเรียกร้องให้ต้องมีกระบวนการศึกษา เพื่อที่จะสร้างความจริงซึ่งสามารถตอบสนองต่อการท้าทาย และปัญหาของโลกยุคร่วมสมัยในความเข้าใจ และของการพบหนทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความต้องการของชนทุกรุ่นทุกวัย และด้วยวิธีนี้เท่ากับเป็นการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ทั้งบัดนี้และต่อไปในอนาคต

พวกเราถือว่าการศึกษาเป็นวิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดที่จะทำให้โลก และประวัติศาสตร์มีความเป็นมนุษย์มากกว่า ที่สำคัญคือการศึกษาเป็นเรื่องของความรักและความรับผิดชอบที่สืบทอดต่อกันมาจากชนรุ่นหนึ่งสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้การศึกษาจึงเป็นยาที่รักษาตามธรรมชาติมีผลต่อวัฒนธรรมที่เห็นแก่ตัว ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดวัฒนธรรมที่ถือตนเองเป็นใหญ่ในการอยู่นิ่งเฉย  อนาคตของพวกเราจะแบ่งแยกกันไม่ได้ จะต้องไม่มีความคิดที่โง่เขลา ไม่มีแต่การจินตนาการ ขาดความตั้งใจ ขาดการเสวนา และขาดการเข้าใจซึ่งกันและกัน นั่นไม่อาจที่จะเป็นอนาคตของพวกเรา

ทุกวันนี้จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูกันใหม่กับการศึกษาที่สังคมทุกระดับต้องมีส่วนร่วม ขอให้พวกเราฟังเสียงร้องอ้อนวอนของเด็ก ๆ เยาวชนที่เปิดดวงตาของพวกเราให้เห็นถึงความต้องการเร่งด่วน และโอกาสแห่งการฟื้นฟูการศึกษาขึ้นมาใหม่ ที่ไม่หลงให้มองไปในทิศทางอื่น ซึ่งเป็นการสนับสนุนความอยุติธรรมทางสังคม การใช้ความรุนแรงต่อสิทธิ รูปแบบที่น่าชังของความยากจน และการสูญเสียชีวิตมนุษย์

สิ่งที่เรียกร้องคือกระบวนการแบบองค์รวมที่ตอบสนองสถานการณ์แห่งการอยู่อย่างโดดเดี่ยว และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับอนาคตนที่มีผลกระทบต่อบรรดาเยาวชนและก่อให้เกิดการสิ้นหวัง การติดยาเสพติด การก้าวร้าว ความเกลียดชัง และการรังแกกันเอารัดเอาเปรียบ นี่หมายถึงการที่ต้องเดินทางร่วมกันที่ไม่เมินเฉยต่อการใช้ความรุนแรง การล่วงละเมิดต่อผู้เยาว์ พฤติกรรมการแต่งงานของเด็ก การเอาเด็กมาเป็นทหาร และการขายเด็กไปเป็นทาส นี่ยังไม่ต้องพูดถึง “ความทุกข์” ที่โลกของพวกเราต้องแบกรับจากผลของการเอารัดเอาเปรียบที่ขาดจิตสำนึกขาดหัวใจที่ก่อให้เกิดวิกฤตของสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ และสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ในบางช่วงแห่งประวัติศาสตร์จำเป็นต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาด ที่สามารถไม่เพียงแต่จะหล่อหลอมวิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือต้องรวมถึงจุดยืนที่เกี่ยวกับอนาคตด้วย ท่ามกลางวิกฤตแห่งสุขภาพอนามัยในปัจจุบัน ความยากจนและความสับสนที่ปรากฎขึ้น พวกเราเชื่อว่านี่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องสร้างสมาพันธ์ระดับโลกเกี่ยวกับการศึกษาเพื่อชนรุ่นหลัง  นี่เรียกร้องหน้าที่จากครอบครัว ชุมชน โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถาบัน ศาสนา ภาครัฐ และครอบครัวมนุษย์ทั้งมวล ให้มีการศึกษาสำหรับทั้งหญิงชายที่บรรลุนิติภาวะแล้วด้วย

ทุกวันนี้พวกเราถูกเรียกร้องให้ต้องมีความจริงใจที่จะสลัดทิ้งซึ่งการจัดการกับการศึกษาแบบผิวเผิน และหนทางลัดร้อยแปดประการที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ (มาตรฐาน) ผลของการทดสอบ การทำงานแบบระบบราชการ ซึ่งทำให้การสับสนในการศึกษาด้วยคำแนะนำที่ลงเอยด้วยการทิ้งระเบิดใส่วัฒนธรรม ตรงกันข้ามพวกเราควรที่จะมุ่งเป้าไปยังวัฒนธรรมแบบองค์รวม การมีส่วนร่วม  และมีหลากหลายรูปแบบ พวกเราจำเป็นต้องมีความกล้าหาญที่จะทำให้เกิดมีกระบวนการที่ทำงานอย่างอุทิศตนจริงจังเพื่อที่จะเอาชนะต่อระบบที่ไม่ได้ตอบสนองต่อปัญหาในปัจจุบัน และความขัดแย้งที่พวกเรามีอยู่ในปัจจุบัน  พวกเราต้องกล้าที่จะทบทวนสายใยแห่งความสัมพันธ์เพื่อเห็นแก่มนุษยชาติที่จะสามารถพูดภาษาแห่งความเป็นพี่น้องกัน คุณค่าการศึกษาของพวกเราจะวัดกันไม่ใช่ด้วยผลแห่งการทดสอบแบบมาตรฐานเท่านั้น แต่ต้องด้วยความสามารถที่มีผลต่อหัวใจของสังคม และช่วยให้เกิดมีวัฒนธรรมใหม่ ให้เป็นโลกที่มีความแตกต่าง  ถ้าหากเป็นไปได้และพวกเราถูกเรียกร้องว่าจะต้องสร้างคุณค่าสิ่งนี้อย่างไร นี่หมายถึงต้องรวมทุกมิติแห่งมวลมนุษย์ทั้งที่เป็นปัจเจกบุคคลและเป็นชุมชน

ขอให้พวกเราวิงวอนเป็นพิเศษต่อบรรดาชายหญิงที่มีวัฒนธรรม มีความรู้ดีทางด้านวิทยาศาสตร์และการกีฬา ทั้งผู้ที่เป็นศิลปินระดับมืออาชีพ โดยเฉพาะด้านสื่อในทุกภาคส่วนของโลกให้ร่วมกันสนับสนุนสมาพันธ์นี้ และส่งเสริมด้วยการเป็นประจักษ์พยาน และความพยายามของตนถึงคุณค่าของการดูแลเอาใจใส่ผู้อื่น ให้เกิดสันติสุข ความยุติธรรม ความดีงามเพื่อประโยชน์สุข ความสวยงาม การยอมรับ และภราดรภาพ พวกเราไม่ควรคาดหวังสิ่งใดจากผู้ที่ปกครองพวกเรา มิฉะนั้นจะกลายเป็นเรื่องของเด็กไร้สาระ พวกเรามีพื้นที่ซึ่งพวกเราสามารถร่วมรับผิดชอบด้วยกันในการสร้างสรรค์และจัดการให้เรื่องสำคัญนี้อยู่คงที่กับหนทางอันเป็นกระบวนการและการเปลี่ยนแปลงใหม่ ขอให้พวกเรามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการฟื้นฟูและสนับสนุนสังคมที่กำลังมีปัญหาของพวกเรา วันนี้พวกเรามีโอกาสดีที่จะแสดงความรู้สึกภายในแห่งความเป็นพี่น้องกันของพวกเรา ซึ่งอาจจะเป็นชาวสะมาเรียผู้ใจดีที่รับปัญหาของผู้อื่นมาไว้กับตนเองแทนที่จะสร้างความเกลียดชังและความเสียใจ” (Fratelli Tutti, ข้อ 77)  นี่เป็นการเรียกร้องให้มีกระบวนการที่หลากหลายที่พวกเราทุกคนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้คำตอบที่มีความหมาย ซึ่งความแตกต่างและวิธีการต่างจะนำพาทำให้พวกเราเป็นหนึ่งเดียวกันในการติดตามเพื่อความดีประโยชน์สุขส่วนรวม อันเป็นความสามารถที่จะสร้างความสมานฉัน นี่เป็นสิ่งที่พวกเราต้องการอย่างมากในทุกวันนี้

ด้วยเหตุนี้พวกเราจึงต้องปวารณาตนเองทั้งลักษณะส่วนตัวและในฐานะที่เป็นชุมชน:

* ประการแรก ต้องทำให้บุคคลในคุณค่าและศักดิ์ศรีของเขาเป็นศูนย์กลางของโครงการศึกษาทุกโครงการทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อที่จะส่งเสริมลักษณะจำเพาะ ความงดงาม อัตลักษณ์ และความสามารถของเขาในความสัมพันธ์กับผู้อื่น และกับโลกที่อยู่รอบตัว ใขณะเดียวกันก็สอนให้เขาปฏิเสธวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการแพร่วัฒนธรรมการกินทิ้งกินขว้าง

* ประการที่สอง ฟังเสียงของเด็กและเยาวชนที่พวกเราถ่ายทอดคุณค่า และความรู้เพื่อที่จะช่วยกันสร้างอนาคตแห่งความยุติธรรม สันติสุข และชีวิตที่มีศักดิ์ศรีสำหรับทุกคน

* ประการที่สาม สนับสนุนการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ สำหรับเด็กหญิงและเยาวชนหญิงในการศึกษา

* ประการที่สี่ ต้องถือว่าบ้านเป็นสถานที่แรกของการศึกษาที่มีความสำคัญยิ่ง

* ประการที่ห้า ทั้งการให้การศึกษาและรับการศึกษา บ่งถึงความจำเป็นในการให้การยอมรับโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเปิดใจกว้างให้กับผู้ที่มีความเปราะบาง และผู้ที่อยู่ตามชายขอบสังคม

* ประการที่หก พยายามหาวิธีใหม่ในการเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง และการเจริญเติบโตก้าวหน้าที่สามารถยืนหยัดในการรับใช้บุคคล และครอบครัวมนุษย์ภายใต้บริบทของระบบนิเวศที่เป็นองค์รวม

* ประการที่เจ็ด ปกป้อง พิทักษ์คุ้มครอง และเสริมสร้างบ้านส่วนรวมของพวกเรา คุ้มครองผืนแผ่นดินโลกจากการถูกเอารัดเอาเปรียบทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมกับเลือกวิถีชีวิตแบบสมถะ โดยใช้พลังหมุนเวียนและให้ความเคารพต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมตามหลักการของการช่วยเหลือกัน ความเอื้ออาทร และเศรษฐกิจหมุนเวียน

        สุดท้าย พี่น้องชายหญิงที่เคารพ พวกเราต้องปรารถนาที่จะปวารณาตนเองด้วยความกล้าหาญที่จะพัฒนาแผนการศึกษาภายประเทศของพวกเราด้วยการลงทุนอย่างดีที่สุด โดยใช้กระบวนการที่สร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงกับสังคมพลเรือน สำหรับมิตินี้จุดอ้างอิงของพวกเราควรที่จะเป็นคำสอนด้านสังคมที่ได้รับแรงบันดาลใจและเผยแสดงโดยพระวาจาของพระเจ้า และในเจตนารมณ์แห่งคริสตชน ซึ่งให้พื้นฐานสำคัญและเป็นทรัพยากรอันประเสริฐเพื่อแยกแยะหนทางที่ต้องเดินในยามฉุกเฉินแห่งยุคปัจจุบัน

        เป้าหมายของการลงทุนในการศึกษานี้ที่มีรากฐานอยู่ในเครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ที่เปิดกว้าง ทั้งนี้เพื่อที่จะสร้างหลักประกันว่า ทุกคนสามารถเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพได้ตามศักดิ์ศรีของบุคคลและเป็นกระแสเรียกทั่วไปแห่งภราดรภาพ นี่ถึงเวลาแล้วที่จะต้องมองไปยังอนาคตด้วยความกล้าหาญและด้วยความหวัง โดยหวังที่จะมีสันติสุขและความยุติธรรม หวังที่จะเห็นความสวยงาม และความดีงามประโยชน์สุขส่วนรวม หวังที่จะดำรงชีวิตในสังคมที่มีความสมานฉัน

        พี่น้องที่เคารพ ขอให้พวกเราอย่างลืมว่า การเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ไม่ได้เกิดจากโต๊ะทำงานหรือในสำนักงาน ทว่าการมี “สถาปัตยกรรม” แห่งสันติสุข ที่สถาบันและปัจเจกบุคคลต่างๆในสังคมช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นมาในแต่ละคนตามความชำนาญและทักษะของตนเองโดยไม่ยกเว้นผู้ใด (เทียบ Fratelli Tutti, ข้อ 231) โดยอาศัยวิธีนี้พวกเราต้องก้าวไปข้างหน้าพร้อมกันทุกคน พวกเราต้องมองไปข้างหน้าเสมอเพื่อที่จะสร้างวัฒนธรรมแห่งความศิวิไลซ์  แห่งความสมานฉัน และความเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีพื้นที่สำหรับโรคระบาดแห่งวัฒนธรรมที่กินทิ้งกินขว้างอีกต่อไป  ขอขอบคุณ

____________________

1 Cf. M. DE CERTEAU, Lo straniero o l’unione nella differenza, Vita e Pensiero, Milan, 2010, 30. Original: L’etranger ou l’union dans la différence, Paris, 2017.

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บพระสมณดำรัสของพระสันตะบิดรฟรานซิสมาแบ่งปันและไตร่ตรอง)