ทูตสวรรค์แจ้งข่าว วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2020
เปโตรมีความเชื่อในพระเยซูคริสต์เป็นพระผู้ไถ่และเป็นพระบุตรของพระเจ้า
พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงไตร่ตรองพระวรสารของวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2020 ก่อนสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าว เที่ยงวันพร้อมกับผู้เข้าเฝ้าจำนวนจำกัด ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน
พระสันตะบิดรทรงเตือนใจผู้ฟังให้ทราบถึงความสำคัญแห่งพระวรสารตอนนี้ (มธ. 16: 13-20) ซึ่งเปโตรน้อมรับความเชื่อของตนว่าพระเยซูคริสต์คือพระผู้ไถ่ ทรงเป็นพระบุตรที่แท้จริงของพระเจ้า
“ความสับสนของอัครสาวกถูกกระตุ้นโดยพระเยซูคริสต์เอง ซี่งปรารถนาที่จะนำศิษย์ของพระองค์ให้ตัดสินใจเด็ดขาดในการมีความสัมพันธ์กับพระองค์” พระสันตะปาปาย้ำอีกว่า “อันที่จริง การเดินทางของพระเยซูคริสต์พร้อมกันกับผู้ที่ติดตามพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอัครสาวกทั้ง 12 องค์ล้วนแล้วแต่เป็นการสั่งสอนอบรมความเชื่อของพวกเขา”
สวัสดี ลูกๆและพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย
บทอ่านของพระวรสารวันอาทิตย์ (ม. 16: 13-20) แสดงให้เห็นวินาทีที่เปโตรแสดงความเชื่อของตนเองในองค์พระเยซูคริสต์ว่า พระองค์ทรงเป็นพระผู้ไถ่และเป็นพระบุตรของพระเจ้า ความเชื่อของอัครสาวกได้รับการกระตุ้นจากพระเยซูคริสต์เองผู้ทรงปรารถนาที่จะนำศิษย์ของพระองค์ให้ตัดสินใจเด็ดขาดในความสัมพันธ์กับพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอัครสาวก 12 องค์ อันที่จริงการเดินทางทั้งชีวิตของพระเยซูคริสต์กับผู้ที่ติดตามพระองค์ล้วนแต่เป็นการสอนอบรมความเชื่อของพวกเขา ประการแรกพระองค์ตรัสถามพวกเขาว่า “ประชาชนคิดว่าบุตรของพระเจ้าคือผู้ใด? (ข้อ13) อัครสาวกชอบพูดเกี่ยวกับประชาชนก็เหมือนพวกเรา คือพวกเราชอบพูดซุบซิบนินทา การพูดถึงคนอื่นวิจารณ์ผู้อื่นเพราะพวกเราแลดูไม่ต้องเสียอะไร นี่คือเหตุผลที่พวกเราชอบพูดถึงคนอื่น แม้กระทั่งพูดให้คนอื่นเสียหาย ในกรณีเช่นนี้ความเชื่อจึงเป็นสิ่งจำเป็นแทนที่จะเป็นการซุบซิบนินทา พระองค์จึงถามย้ำว่า “ผู้คนเขาคิดว่าเราเป็นผู้ใด?” บรรดาศิษย์ดูเหมือนจะชิงกันแสดงความคิดเห็นต่างๆ ซี่งส่วนใหญ่พวกเขามักจะแสดงความคิดเห็นร่วมกัน พระเยซูคริสต์แห่งนาซาเร็ธถูกถือว่าเป็นประกาศก (ข้อ 14)
ด้วยคำถามที่สองพระเยซูคริสต์ทิ่มแทงถึงขั้วหัวใจพวกเขา “แล้วพวกท่านล่ะ? … พวกท่านคิดว่าเราเป็นใคร?” (ข้อ 15) ตรงนี้พวกเราดูเหมือนจะเห็นความเงียบเนื่องจากแต่ละคนที่อยู่ ณ ที่นั้นถูกเรียกร้องให้ต้องหาคำตอบคำถาม ให้ต้องแสดงเหตุผลที่ทำไมพวกเขาจึงติดตามพระเยซูคริสต์ ดังนั้นการหยุดคิดสักครู่หนึ่งจึงเป็นความชอบธรรม หากพ่อจะถามพวกท่านเวลานี้ว่า “สำหรับท่านแล้ว ท่านคิดว่าพระเยซูคริสต์คือผู้ใด?” ก็คงจะต้องมีการหยุดคิดเช่นกัน ซีมอนช่วยแก้หน้าพวกเขาด้วยการประกาศอย่างเข้มแข็งว่า “ท่านเป็นพระผู้ไถ่ เป็นบุตรของพระเจ้าผู้ทรงชีวิต” (ข้อ 16) คำตอบที่ครบครันและจรรโลงใจไม่ได้มาจากความคิดของตนเอง แม้จะแสดงถึงความมีใจกว้างเพราะเปโตรเป็นคนที่มีใจกว้าง แต่นี่เพราะว่าผลแห่งพระหรรษทานพิเศษของพระบิดาเจ้าสวรรค์ ที่จริงพระเยซูคริสต์ตรัสว่า “การเปิดเผยความจริงนี้มิได้มาจากเนื้อหนังมังสาของท่าน” กล่าวคือ จากวัฒนธรรม จากการที่ท่านได้รับการศึกษา ไม่เลย สิ่งนี้ไม่ได้เผยอะไรให้ท่านทราบ ความจริงถูกเปิดเผยให้ท่านทราบโดยพระบิดาของเราในสรวงสวรรค์” (ข้อ 17) การภักดีต่อพระเยซูคริสต์เป็นพระหรรษทานของพระบิดา การกล่าวว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระบุตรของพระบิดาผู้ทรงชีวิต ผู้ทรงเป็นพระผู้ไถ่ เป็นพระหรรษทานที่พวกเราต้องพยายามขอ “ข้าแต่พระบิดาเจ้า โปรดประทานให้ลูกเชื่อในพระเยซูคริสต์” ในขณะเดียวกันพระเยซูคริสต์ทรงยอมรับคำตอบโดยฉับพลันต่อแรงบันดาลใจแห่งพระหรรษทาน พระองค์จึงกล่าวด้วยเสียงหนักแน่นว่า (ท่านเป็นศิลา และบนศิลานี้เราจะสร้างพระศาสนจักรของเรา และประตูนรกจะไม่มีวันที่จะเอาชนะได้” (ข้อ 18) ด้วยการยืนยันนี้พระเยซูคริสต์ทรงทำให้ซีมอนรับรู้ถึงความหมายของชื่อใหม่ที่พระองค์ทรงประทานให้เขาว่า ชื่อ “เปโตร แปลว่า ศิลา” ความเชื่อที่เขาเพิ่งแสดงออกมาแสดงให้เห็นถึง “ศิลา” ที่ไม่มีวันสะเทือนหวั่นไหว ซึ่งพระบุตรของพระเจ้าทรงปรารถนาที่จะตั้งพระศาสนจักรของพระองค์ ซึ่งได้แก่ชุมชน และพระศาสนจักรจะคงก้าวหน้าต่อไปบนพื้นฐานแห่งความเชื่อของเปโตร อันเป็นความเชื่อที่พระเยซูคริสต์ยอมรับในเปโตรและที่ทำให้เขาเป็นหัวหน้าของพระศาสนจักร
วันนี้พวกเราได้ยินคำถามของพระเยซูคริสต์ต่อเราแต่ละคน “แล้วท่านล่ะ ท่านว่าเราเป็นผู้ใด? และเราแต่ละคนจะต้องไม่ให้คำตอบแบบที่เป็นทฤษฎี แต่ต้องเป็นคำตอบที่เป็นความเชื่อซึ่งได้แก่ชีวิต เพราะความเชื่อคือชีวิต “สำหรับตัวฉัน พระองค์ทรงเป็น…” และแล้วพวกเราก็เชื่อในพระองค์ ต้องเป็นคำตอบที่เรียกร้องให้พวกเราฟังเสียงภายในกับเสียงของพระบิดาดุจศิษย์รุ่นแรก และตามสิ่งที่พระศาสนจักรซึ่งล้อมรอบเปโตรยังคงทำการประกาศสั่งสอน ซึ่งเป็นเรื่องของความเข้าใจว่าพระเยซูคริสต์คือผู้ใดสำหรับพวกเรา หากพระองค์เป็นศูนย์ลางแห่งชีวิตของพวกเรา หากพระองค์คือเป้าหมายแห่งหน้าที่ของพวกเราในพระศาสนจักร และหน้าที่ของพวกเราต่อสังคม พระเยซูคริสต์เป็นใครสำหรับตัวฉัน? พระเยซูคริสต์เป็นใครสำหรับท่าน สำหรับท่าน สำหรับท่าน …? นี่เป็นคำถามที่พวกเราต้องตอบทุกวัน
แต่เพราะว่าจะขาดเสียมิได้ และเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมที่การอภิบาลชุมชนของพวกเราจะต้องเปิดกว้างสู่หลายรูปแบบของความยากจนและวิกฤตต่างๆซึ่งมีอยู่ทั่วไป ความรักเมตตาที่เป็นทางหลวงแห่งการเดินทางของความเชื่อ แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่งานต่างๆในความเอื้ออาทรและของเมตตากิจที่พวกเราทำจะต้องไม่ทำให้พวกเราไขว้เขวไปจากความสัมพันธ์กับพระเยซูคริสต์ ความรักเมตตาของคริสตชนต้องไม่เป็นเพียงงานมนุษยธรรม แต่ในมุมมองหนึ่งเป็นการมองไปยังผู้อื่นด้วยสายพระเนตรของพระเยซูคริสต์เอง และในอีกมุมมองหนึ่งต้องมองเห็นใบหน้าของพระเยซูคริสต์ในคนยากจน นี่คือหนทางที่แท้จริงของคริสตชนที่มีความรักเมตตาโดยมีพระเยซูคริสต์เป็นศูนย์กลางเสมอ ข้อให้พระแม่มารีย์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความสุขแท้เพราะพระแม่ทรงเชื่อ ขอให้พระแม่เป็นผู้ชี้นำทางและเป็นแบบฉบับบนหนทางแห่งความเชื่อในพระเยซูคริสต์ พร้อมกับโปรดให้พวกเรารับรู้ว่าความวางใจในพระองค์ จะให้ความหมายที่แท้จริงต่อความรักเมตตาของพวกเราและต่อการมีชีวิตของพวกเรา
หลังการสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าวพระสันตะปาปายังทรงมีพระดำรัสดังนี้
ลูกๆ และพี่น้องชายหญิงที่รัก
เมื่อวานนี้พวกเรามีการฉลองวันสากลเพื่อรำลึกถึงผู้เคราะห์ร้าย (เหยื่อ) ของการใช้ความรุนแรงที่มีพื้นฐานอยู่บนศาสนาหรือความเชื่อ ขอให้พวกเราอธิษฐานภาวนาเพื่อบรรดาพี่น้องชายหญิงของพวกเรา ขอให้พวกเราอธิษฐานภาวนา และมีความเอื้ออาทรต่อผู้คนอีกมากมายซึ่งทุกวันนี้ถูกเบียดเบียน เพราะควารมเชื่อแตกต่างหรืออคติทางศาสนา
พรุ่งนี้วันที่ 24 สิงหาคม เป็นวันครบรอบ 10 ปีของวันสังหารหมู่ผู้อพยพย้ายถิ่น 72 คนที่ประเทศเม็กซิโก (San Fernando, Tamuaulipas, Mexico) ผู้เคราะห์ร้ายเป็นคนที่อพยพมาจากประเทศต่างๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีกว่า พ่อปรงสงค์ขอแสดงความเอื้ออาทรกับครอบครัวของพวกที่ตกเป็นผู้เคราะห์ร้ายเหล่านั้น ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังเรียกร้องหาความจริง และความยุติธรรมเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น พระเจ้าจะถือว่านี่เป็นความรับผิดชอบของพวกเราต่อผู้อพยพย้ายถิ่นทุกคน ซึ่งสิ้นหวังในการเดินทางเพื่อความหวัง พวกเขาเป็นเหยื่อของวัฒนธรรมแห่งการทิ้งขว้าง
พรุ่งนี้ยังเป็นวันครบปีที่สี่ของการเกิดแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประเทศอิตาลีภาคกลาง พ่อขอรื้อฟื้นการอธิษฐานภาวนาสำหรับครอบครัว และชุมชนที่ต้องรับทุกข์จากความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ซึ่งพวกเขาต้องการความเอื้ออาทรและความหวัง และพ่อก็หวังว่าจะมีการฟื้นฟูกันอย่างรวดเร็วเพื่อเขาเหล่านั้นจะได้มีชีวิตอย่างสงบในดินแดนที่สวยงามนั้นตามเนินเขาอัปเปนนีเน (Appennine)
พ่อปรงสงค์ที่จะเน้นถึงความใกล้ชิดห่วงใยของพ่อเองกับประชานแห่งกาโบ เดลกาโด (Cabo Delgado) ทางตอนเหนือของประเทศโมซัมบิค (Mozambique) ที่กำลังตกอยู่ในความทุกข์เพราะการก่อการร้ายระดับสากล พ่อยังจำได้จนติดหูติดตาถึงการเยือนของพ่อไปยังประเทศนั้นในปีที่แล้ว
พ่อขอต้อนรับทุกคนทั้งพี่น้องชาวกรุงโรม และผู้จาริกแสวงบุญโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนแห่ง “Cernusco Sul Naviglio” ที่แต่งชุดสีเหลืองอยู่แถวโน้น พวกเขาเดินทางจากเมื่องซีเอนา (Siena) โดยจักรยานและเดินทางมาตามเส้นทางฟรังชิเยนา (Francigena) พวกเขาทำได้ดีมาก และพ่อขอต้อนรับหลายครอบครัวที่มาจาก Carobbo Degli Angeli (จังหวัดแบร์กาโม) ซึ่งเดินทางแสวงบุญเพื่อรำลึกถึงผู้ที่ตกเป็นผู้เคราะห์ร้ายของไวรัสโคโรนา และขอให้พวกเราอย่าลืมผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของโควิด19 ด้วย เมื่อเช้านี้พ่อได้ยินประจักษ์พยานของครอบครัวหนี่งที่สูญเสียเหลนไปหลายคนโดยที่ไม่มีโอกาสร่ำลากัน อันมีความทุกข์มากมาย มีคนจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิต พวกเขาตกเป็นผู้เคราะห์ร้าย (เหยื่อ) ของเชื้อโรคนี้ ทั้งบรรดาอาสาสมัคร แพทย์ พยาบาล ซิสเตอร์ บาดหลวง นักบวชก็พลอยเสียชีวิตไปด้วย ขอให้พวกเรารำลึกถึงครอบครัวที่ต้องเผชิญความทุกข์เพราะเรื่องนี้
พ่อขอให้ทุกคนมีความสุขในวันอาทิตย์ โปรดอย่าลืมสวดภาวนาสำหรับพ่อด้วยขอให้ทานอาหารกลางวันด้วยความสุขทุกคน แล้วค่อยพบกันใหม่
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บคำปราศรัยของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมีความคิดที่จะปฏิรูปพระศาสนจักร
- สมณลิขิตในรูปแบบพระสมณอัตตาณัติ (Motu Proprio) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส “ANTIQUUM MINISTERIUM”
- สมณลิขิต (Apostolic Letter) ของสันตะปาปาฟรานซิส โอกาสครบ 1600 ปีหลังการมรณภาพของนักบุญเจโรม
- พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนยันว่า
เลบานอนคือประเทศต่อไปที่พระองค์จะเสด็จไปเยือน - บทสัมภาษณ์แบบ “วงใน” เกี่ยวกับความเป็นไปได้ ที่สมเด็จพระสันตะปาปา….