สันตะสำนักออกหนังสือ คู่มือการสอนคำสอน
พร้อมกับคำแนะนำใหม่ในการสอนคำสอน
สมณสภาเพื่อการประกาศพระวรสารใหม่ได้ออกคู่มือการสอนคำสอนโดยให้คำแนะนำสำหรับพันธกิจของพระศาสนจักรในการประกาศพระวรสารโดยการสอนคำสอน และการประกาศข่าวดี
คู่มือใหม่อันทันสมัยเพื่อการสอนคำสอนที่พวกเรารอคอยกันมาเป็นเวลานานได้มีการประกาศออกมาแล้วจากวาติกันเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 2020 คู่มือใหม่ฉบับนี้ ได้มีการร่างเนื้อหาภายใต้การควบคุมดูแลของสมณสภาเพื่อการประกาศพระวรสารใหม่ และได้รับการอนุมัติจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ในวันที่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันรำลึกถึงนักบุญตูริบิอุส (Saint Turibius of Mongrovejo) ในคริสตศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุนการประกาศพระวรสาร และการสอนคำสอนที่เข้มแข็ง การแก้ไขคู่มือฉบับล่าสุดนี้เกิดจากการติดตาม”คู่มือการสอนคำสอนทั่วไป” ของปี ค.ศ. 1971 และปี ค.ศ. 1997 ซึ่งคู่มือทิ้งสองฉบับออกโดยสมณกระทรวงเพื่อสมณะ (พระสงฆ์)
คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่พยายามเน้นถึงการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่างการประกาศพระวรสารและการสอนคำสอน ซึ่งมีการเน้นว่าทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาปล้วนเป็นธรรมทูต ผู้ถูกเรียกให้แสวงหาหนทางใหม่เพื่อถ่ายทอดความเชื่อซึ่งถือว่าเป็นความรับผิดชอบและเป็นหน้าที่ ในบริบทนี้คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่เสนอหลักใหญ่แห่งการปฏิบัติสามประการด้วยกัน: 1) การเป็นประจักษ์พยาน 2) ความเมตตา และ 3)การเสวนา คู่มือนี้มี 300 กว่าหน้า แยกออกเป็นสามส่วนกอปรด้วย 12 บท
การอบรมครูสอนคำสอน
ภาคแรกชื่อว่า “การอบรมคำสอนในการประกาศพันธกิจของพระเยซูคริสต์” ซึ่งพูดถึงการอบรมการเรียนการสอนคำสอน
คู่มือการสอนคำสอนนี้ชี้ให้เห็นว่า เพื่อที่จะเป็นพยานต่อความเชื่อที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้นครูสอนคำสอนจะต้องเป็น “ผู้ที่ได้รับความรู้เกี่ยวกับคำสอนก่อนที่จะเป็นครูสอนคำสอน” นี่หมายถึงการทำงานแบบไม่มีสินจ้างหรือค่าตอบแทนเป็นเพียงเชิงสัญญลักษณ์ ต้องเสียสละ และต้องมีพฤติกรรมดีงามตามเจตนารมย์แห่งธรรมทูต กล่าวคือต้องไม่ยอมแพ้ต่อ “ความเหนื่อยหน่ายในการอภิบาลแม้แลดูไร้ผล”
ครูสอนคำสอนยังถูกเรียกร้องให้ต้องเฝ้าระวังในการทำหน้าที่จำเพาะของตน “เพื่อประกันว่าทุกคนจะต้องได้รับการปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองโดยเฉพาะผู้เยาว์ และบุคคลที่มีความเปราะบาง”
กระบวนการสอนคำสอน
ภาคที่สอง – “กระบวนการสอนคำสอน” จะเน้นถึงความสำคัญของ “รูปแบบของการสื่อที่ล้ำลึกและมีประสิทธิภาพ” มีการเสนอให้ใช้ศิลปะโดยอาศัยการพิศเพ่งความงดงามเพื่อเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงกับพระเจ้า และใช้ดนตรีศักดิ์สิทธิ์เป็นหนทางในปลูกฝังให้มีความปรารถนาเข้าถึงพระเจ้าในหัวใจของประชาชน
บทบาทของครอบครัวก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน ภายในครอบครัวผู้ที่ได้รับการประกาศพระวรสารสามารถดำเนินชีวิตในความเชื่อในทำนองที่เรียบง่าย โดยเป็นไปตามธรรมชาติ และครอบครัวเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนสามารถรับการศึกษาในวิธีการที่สุภาพและน่าเอ็นดู
ในรูปโฉมของครอบครัวใหม่ในสังคมร่วมสมัย คริสตชนถูกเรียกร้องให้ติดตามผู้อื่นอย่างใกล้ชิดลักษณะกัลยาณมิตร ฟังและเข้าใจพวกเขาเพื่อที่จะฟื้นฟูความหวัง และความไว้ใจให้กับทุกค
วัฒนธรรมแห่งการผนึกเข้าไว้ด้วยกัน
คู่มือการสอนคำสอนเล่มนี้ยังชี้ให้เห็นถึงควมสำคัญของ “การให้การต้อนรับและการยอมรับ” ซึ่งกันแกกันแม้จะมีความแตกต่าง โดยเน้นย้ำว่าศิษย์พระเยซูคริสต์ต้องเป็นประจักษ์พยานต่อความจริงเที่ยงแท้แห่งชีวิตมนุษย์ และต้องให้การต้อนรับกับของขวัญที่ยิ่งใหญ่นี้ ครอบครัวของพวกเขายังสมควรที่จะได้รับ “ความเคารพ และความชื่นชม” ด้วย
ในทำนองเดียวกันการเรียนการสอนคำสอนต้องเน้นที่การยอมรับ ความไว้ใจ และความเอื้ออาทรต่อผู้อพยพ ซึ่งพวกเขาจำต้องอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนซึ่งอาจมีประสบการณ์กับวิกฤตแห่งความเชื่อ ผู้อพยพควรได้รับการสนับสนุนในการต่อสู้กับความลำเอียง การถูกเอารัดเอาเปรียบ และอันตรายต่างๆที่พวกเขาต้องเผชิญ เช่นการค้ามนุษย์เป็นต้น
การเลือกเข้าข้างคนยากจน การสอนคำสอนให้กับนักโทษ ผู้ต้องกัก
คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้นี้ยังเรียกร้องให้ผู้สอนคำสอนต้องเอาใจใส่ต่อสถานเรือนจำ ซึ่งเนื้อหาในคู่มือชี้ว่า สถานผู้ต้องกักเป็น “ดินแดนแห่งพันธกิจที่แท้จริง” มีการเสนอสำหรับผู้ที่ถูกจองจำว่า เนื้อหาของการประกาศข่าวดีควรเน้นถึงการไถ่กู้ในพระเยซูคริสต์รวมถึงการตั้งใจฟัง ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงโฉมหน้าของพระศาสนจักร สำหรับคนยากจน การสอนคำสอนควรอบรมพวกเขาเกี่ยวกับความยากจนตามเจตนารมย์แห่งพระวรสาร นอกนั้นควรส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความเป็นภราดรภาพพร้อมกับสนับสนุนพวกเขาให้รังเกียจสถานการณ์ที่น่าสมเพช และความอยุติธรรมที่คนยากจนต้องรับทุกข์
วัด โรงเรียน และสถาบันต่างๆของพระศาสนจักร
ภาคที่สามที่ชื่อว่า “การสอนคำสอนในแต่ละภาคส่วนพระศาสนจักร” อุทิศให้กับการสอนคำสอนตามวัด สถาบันการศึกษา และสถาบันต่างๆของพระศาสนจักร
วัดมีความสำคัญในฐานะที่เป็น “แบบฉบับแห่งการแพร่ธรรมของชุมชน” ซึ่งควรอบรมคำสอนที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับประสบการณ์ในการดำเนินชีวิตของผู้คน หน่วยงานอื่นๆของพระศาสนจักรควรรับรู้ว่ามี “ความสามารถอันยิ่งใหญ่ในการประกาศพระวรสาร” ซึ่งเพิ่ม “ความมั่งคั่งให้กับพระศาสนจักร”
เกี่ยวกับโรงเรียนคาทอลิก และสถาบันการศึกษา คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ เสนอการขับเคลื่อนจาก “สถาบันการศึกษา” ให้กลายเป็น “ชุมชนขององค์ความรู้” แห่งความเชื่อ โดยโครงการการศึกษาที่มีพื้นฐานจากคุณค่าแห่งพระวรสาร นอกนั้นคู่มือฉบับนี้ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การสอนเรื่องราวศาสนาอื่นๆ จะต้องเป็นการเอื้อต่อการสอนคำสอนคาทอลิกด้วย
เมื่อย้ำว่า “ปัจจัยทางศาสนาเป็นมิติที่ต้องมีอยู่ ซึ่งจะต้องไม่มีการมองข้าม” คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ยืนยันว่า “เป็นสิทธิของบิดามารดาและนักเรียน” ที่ต้องได้รับการอบรมแบบองค์รวมที่ต้องมีการสอนศาสนาที่แตกต่างด้วย
ความหลากหลายแห่งวัฒนธรรมและศาสนา
คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ ชี้ให้เห็นว่าความเป็นเอกภาพของคริสตชน และการเสวนาระหว่างศาสนา กับศาสนายูดาย กับศาสนาอิสลาม กับพุทธศาสนา และกับศาสนาอื่นๆที่ได้รับการยอมรับ อันเป็นพื้นที่พิเศษสำหรับการสอนคำสอน การสอนคำสอนคาทอลิกจะต้อง “ส่งเสริมความปรารถนาที่จะมีความเป็นเอกภาพ” เพื่อที่จะเป็นเครื่องมือของการประกาศพระวรสารที่แท้จริง
ในสภาวะเช่นนี้เรียกร้องให้ต้องมีการเสวนาเพื่อป้องกันการต่อต้านการเป็นปฏิปักษ์ต่อศาสนายูดาย ในขณะเดียวกันเรียกร้องให้ประชาสัตบุรุษหลีกเลี่ยงการมองศาสนาอื่นอย่างผิวเผิน เพื่อที่จะส่งเสริมการเสวนากับศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ และศาสนาอื่นๆ (traditional religions)
ในบริบทแห่งศาสนาหลากหลายร่วมสมัย คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้เรียกร้องการสอนคำสอนที่สามารถ “สร้างความล้ำลึก และพลังให้กับอัตลักษณ์ของผู้ที่มีความเชื่อ” ส่งเสริมแรงบันดาลใจในงานธรรมทูตด้วยการเป็นประจักษ์พยานรวมทั้งการเสวนา “ที่เป็นกัลยาณมิตรและจริงใจ”
เทคโนโลยีและโลกดิจิตอล
คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ ยืนยันว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีไว้เพื่อรับใช้มวลมนุษย์ และควรใช้เพื่อพัฒนาสภาพการดำเนินชีวิตของมนุษย์
คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ เสนอว่าการสอนคำสอนควรเน้นไปที่สอนให้ประชาชนรู้จักใช้วัฒนธรรมดิจิตอลอย่างเหมาะสม ซึ่งระบบดิจิตอลนั้นมีทั้งปัจจัยที่ดีและที่เลว การสอนคำสอนจึงควรเน้นที่จะช่วยเยาวชน บรรดาคนรุ่นใหม่ให้รู้จักแยกแยะความจริงและคุณภาพท่ามกลางวัฒนธรรมที่ผุดขึ้นมาอย่างกระทันหัน”
เรื่องอื่นๆที่คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้กล่าวถึงเป็นการเรียกร้องให้ “มีการกลับใจเกี่ยวกับระบบนิเวศ” การสอนคำสอนส่งเสริมการกลับใจนี้ด้วยการใส่ใจในการปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองสิ่งสร้าง และหลีกเลี่ยงลัทธิบริโภคนิยม
นอกนั้นคู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้เน้นว่าการสอนคำสอนยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับแรงงานตามคำสอนด้านสังคมของพระศาสนจักดร โดยใส่ใจเป็นพิเศษต่อการปกป้องสิทธิของผู้ที่อ่อนแอมากที่สุด นอกนั้นยังส่งเสริมการพัฒนาการผลิดอุปกรณ์ในการสอนการเรียนคำสอนที่ผลิตขึ้นในระดับท้องถิ่น เพื่อรับใช้การการเรียนการสอนคำสอนรวมถึงการประชุมซีน็อดของบรรดาบิชอป และสภาของบิชอปแต่ละประเทศอีกด้วย
Credit to By Vatican News
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บข่าวเรื่องการสอนคำสอนมาแบ่งปัน)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- สมณลิขิต (Apostolic Letter) ของสันตะปาปาฟรานซิส โอกาสครบ 1600 ปีหลังการมรณภาพของนักบุญเจโรม
- บทสัมภาษณ์แบบ “วงใน” เกี่ยวกับความเป็นไปได้ ที่สมเด็จพระสันตะปาปา….
- คำปราศรัยของพระสันตะปาปาฟรานซิส ประทานแด่ที่ประชุมสมัชชาเทววิทยาสากลเกี่ยวกับชีวิตสมณะ
- สมณลิขิตในรูปแบบพระสมณอัตตาณัติ (Motu Proprio) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส “ANTIQUUM MINISTERIUM”
- ชุมนุมเยาวชนคาทอลิกระดับชาติครั้งที่ 32