Skip to content

สมณสภาเพื่อการประกาศพระวรสารใหม่ แนวคำสอนใหม่คือ “เหตุการณ์น่าชื่นชมในชีวิตพระศาสนจักร”

สมณสภาเพื่อการประกาศพระวรสารแบบใหม่เปิดเผยคำแนะนำในการสอนคำสอนยุคใหม่ต่อผู้สื่อข่าวที่วาติกัน

คู่มือการสอนคำสอนเป็นเหตุการณ์น่าชื่นชมยินดีในชีวิตของพระศาสนจักร”  นี่เป็นคำพูดของอาร์ชบิชอป ริโน ฟิสิเกลล่า (Rino Fisichella) ประธานสมณสภาเพื่อส่งเสริมการประกาศพระวรสารใหม่ ในช่วงของการให้สัมภาษณ์นักข่าวในโอกาสของการแถลงข่าวคู่มือในการสอนคำสอนเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 25 มิถุนายน 2020  ในการแถลงข่าวอาร์ชบิชอปฟิสิเกลล่า กล่าวว่าคู่มือฉบับใหม่นี้เป็นฉบับที่สามตั้งแต่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 นั้น เป็นผลจากการปรึกษาหารือกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก  คู่มือการสอนคำสอนฉบับใหม่นี้ออกต้นฉบับเป็นภาษาอิตาเลียน แต่จะพิมพ์เป็นภาษาสำคัญอื่นๆด้วย  ผู้แถลงข่าวร่วมอื่นๆ ได้แก่ อาร์ชบิชอปอ็อคตาวิโอ รูอิซ อาเรนาส (Octavio Ruiz Arenas) และบิชอปฟรานซ์ ปีเตอร์ เตบาร์ทซ์ (Franz-Peter Tebartz-van Elst) เลขาธิการแห่งสมณสภาเพื่อส่งเสริมการประกาศพระวรสารใหม่

ภูมิหลัง

        อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา ตั้งข้อสังเกตว่า “ความจำเป็นสำหรับคู่มือฉบับใหม่เกิดขึ้นจากกระบวนการปรับวัฒนธรรม ซึ่งทำให้การสอนคำสอนมีคุณสมบัติจำเพาะ โดยเฉพาะสำหรับสมัยนี้ที่เรียกร้องให้ต้องมีการตั้งเป้าเป็นพิเศษ”

        ท่านยกตัวอย่างแห่งปรากฏการณ์โลกาภิวัตน์ของวัฒนธรรมดิจิตอลโดยชี้ให้เห็นว่าเครื่องมือที่มีการสร้างขึ้นมาในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานั้นแสดงให้เห็นถึง “การเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคนแห่งพฤติกรรม” ซึ่งมีอิทธิพลต่อ “การอบรมความเป็นอัตลักษณ์แห่งบุคคลและความสัมพันธ์ระหว่างกัน”  ระบบใหม่แห่งการสื่อสารข้อมูล “ยังมีผลกระทบต่อพระศาสนจักรในโลกที่มีความยุ่งยากสลับทับซ้อนแห่งการศึกษาอีกด้วย”

        เหตุผลเชิงเทวศาสตร์และพระศาสนจักรก็มีส่วนในการเตรียมคู่มือฉบับใหม่ด้วย อาร์ชบิชอปฟิสิเกลล่า กล่าวว่า ณ ที่ประชุมสภาซีน็อดหลายครั้งได้มีการพูดกันเกี่ยวกับการประกาศพระวรสาร และการเรียนคำสอนเสมอ สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเองก็ทรงนำเรื่องนี้ไปลงในสมณสาส์นเตือนใจ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Gaudium) ในโอกาสครบ 25 ปีของการพิมพ์หนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก

        “เพราะฉะนั้นการสอนคำสอนต้องเป็นหนึ่งเดียวกันภายในกับงานประกาศพระวรสาร และไม่สามารถที่จะแยกออกจากกัน” อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลายืนยันว่า  “การประกาศพระวรสารเป็นพันธกิจที่พระเยซูคริสต์ ผู้ทรงเสด็จกลับคืนพระชนม์ชีพ มอบให้กับพระศาสนจักรของพระองค์ เพื่อในทุกยุคทุกสมัยจะทำการประกาศประวรสารของพระองค์ด้วยความซื่อสัตย์”

 

“การสอนคำสอนเพื่อการประกาศพระวรสาร”

        “หัวใจของการสอนคำสอนคือการประกาศพระเยซูคริสต์” อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา กล่าวว่า  พระเยซูคริสต์ “ก้าวข้ามเวหาและกาลเวลาเพื่อเผยพระองค์แก่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัย ในฐานะที่เป็นข่าวดีที่ทรงประทานให้ถึงความหมายแห่งชีวิต”

        ท่านชี้ให้เห็นว่าในแสงสว่างแห่งสมณสาส์นเตือนใจ “Evangelii Gaudium” คู่มือเล่มนี้สนับสนุน “การสอนคำสอนเพื่อการประกาศพระวรสาร” เพราะว่า “ความสำคัญสุดยอดคือการประกาศพระวรสารไม่ใช่เพื่อการเรียนคำสอน” ดังนั้นการประกาศพระเยซูคริสต์ (ผู้เป็น kerygma) จึงจำต้องเป็นการประกาศพระเมตตาของพระเจ้าที่มุ่งไปยังคนบาปด้วย ผู้ซึ่งที่ไม่ถูกตัดออกไป แต่เป็นแขกรับเชิญผู้มีอภิสิทธิ์ ณ โต๊ะการเลี้ยงแห่งความรอด

เนื้อหาต่างๆ

อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา (Fisishella) อธิบายว่าคู่มือเล่มนี้จะพูดถึงเนื้อหาที่มีความหลากหลายด้วยกัน ประการแรกคือ “mystagogs” (การสอนก่อนที่จะรับศีลศักดิ์สิทธิ์) จะมีการชี้นำด้วย 2 ปัจจัย: ฟื้นฟูการประเมินเครื่องหมายด้านพิธีกรรมแห่งการรับสมาชิกคริสตชนใหม่ และวุฒิภาวะที่เจริญขึ้นในกระบวนการอบรมซึ่งรวมถึงทั้งชุมชนด้วย

        เนื้อหาอีกประการหนึ่งคือการเชื่อมโยงระหว่างการประกาศพระวรสารกับผู้ที่เรียนคำสอน นี่ชี้ให้เห็นถึงความเร่งด่วนของการ “กลับใจเชิงอภิบาล” เพื่อทำให้การสอนคำสอนเป็นอิสระจากปัจจัยอื่นที่เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพ

        เมื่ออธิบายพระกระแสดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสในสมณสาส์นเตือนใจ “ความชื่นชมยินดีแห่งพระวรสาร” (Evangelii Gaudium) พระองค์สนับสนุนการสอนและอบรมโดยใช้ “วิธีแห่งความสวยงาม” (via pulchritudinis) อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา (Fisishella) ชี้ให้เห็นว่าคู่มือดังกล่าว “ได้ใช้วิธีแห่งความสวยงามเป็นแหล่งสำคัญประการหนึ่งแห่งการสอนคำสอน”

        อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา (Fisishella) ยังชี้ให้เห็นด้วยว่าคู่มือเล่มนี้พยายามที่จะ ค่อยๆแทรกให้พวกเราเข้าไปในพระธรรมล้ำแห่งความเชื่อ”  ท่านบอกว่าคุณสมบัตินี้ไม่อาจที่จะจำกัดอยู่แค่มิติเดียว ตรงกันข้าการสอนคำสอนสามารถชี้นำพวกเราให้ยอมรับและดำเนินชีวิตในพระธรรมล้ำลึก “อย่างสิ้นเชิงในความเป็นอยู่ประจำวันของพวกเรา”

        ในการเสริมแทรกดังกล่าวบิชอปฟรานซ์ ปีเตอร์ เตบาร์ทซ์ (Franz-Peter Tebartz-van Elst) กล่าวว่า หนังสือคู่มือเล่มนี้ใส่ใจเป็นพิเศษถึงเครื่องหมายของกาลเวลาและตีความไปตามแสงสว่างแห่งพระวรสาร ท่านชี้ให้เห็นว่านี่เป็นกำลังใจให้กับความเชื่อพร้อมกับชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสอนคำสอนในกระบวนการที่กว้างขึ้นแห่งการประกาศพระวรสาร ท่านยังหวังด้วยว่าคู่มือเล่มใหม่จะเป็นแรงบันดาลใจให้พระศาสนจักรท้องถิ่นพัฒนาคู่มือของตนเองขึ้นมาโดยยึดเอาคู่มือใหม่นี้เป็นแนวทาง

        อาร์ชบิชอปฟิสิเกลลา (Fisishella) กล่าวสรุปว่า ท่านหวังว่าคู่มือใหม่นี้จะช่วยให้มี “การฟื้นฟูการสอนคำสอนเพื่อกระบวนการประกาศพระวรสาร ซึ่งพระศาสนจักรไม่เคยหยุดยั้งที่จะปฏิบัติ”

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บข่าวนี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)