พบไม้กางเขนเก่าแก่ในปากีสถาน
17 มิถุนายน 2020 (Mondo e Missione)
ที่เมือง Skardu บนภูเขา Karakorum นักโบราณคดีแห่งมหาวิทยาลัย Baltistan ได้ค้นพบไม้กางเขนหินอ่อนใหญ่ ซึ่งทำให้รู้ว่าศาสนาคริสต์อยู่ที่เขตนั้น นานมาแล้ว
ประมาณพันปีในเขตเมือง Skardu บนภูเขาทางภาคเหนือของประเทศปากีสถาน มีชุมชนคริสตชน โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ในวันอาทิตย์ ที่ 14 มิถุนายน 2020 ว่าค้นพบไม้กางเขน สูง 2 เมตร ที่บริเวณภูเขาแอลป K2 สูง 8609 เมตร (จากระดับน้ำทะเล) ซึ่งสูงเป็นอันดับที่ 2 ของโลก …กางเขนนี้น่าจะมีอายุ 1000 ปีแล้ว และเมือง Skardu น่าจะมีอายุ 1500 ปี มีชุมชนคริสตชน ในบริบทของศาสนาพุทธ (200 ก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 500) ก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้าสู่ดินแดนนี้ (ค.ศ. 711)
ข้อมูลการค้นพบไม้กางเขนที่ Skardu นี้อาจยืนยันร่องรอยโบราณของศาสนคริสต์บนเทือกเขาปากีสถาน อาจเป็นผลของการประกาศข่าวดียิ่งใหญ่ ของพระศาสนจักรตะวันออก บรรดาธรรมทูตยิ่งใหญ่ของพันปีแรกในทวีปอาเซีย ดังที่ ฟิลิป เจนกินส์ เขียนหนังสือ “เรื่องราวที่สูญหายของศาสนาคริสต์” (สำนักพิมพ์ EMI) การเทศน์สอนของฤาษีเนสโตเรียนทำให้เกิดชุมชนคริสตชนในประเทศจีน และหลายแห่งในทวีปอาเซียกลาง การเผยแผ่ข่าวดีในส่วนใหญ่ลำบาก ในศตวรรษต่อมา ยกเว้นในประเทศอินเดีย ที่พระศาสนจักรของนิกายมาลาบาร์ (เกราล่า) และมาลังการา ที่รู้จักว่าเป็นชาวคริสต์ของนักบุญโทมัส เหมือนประเพณีเดียวกับอัสซีเรีย
หมายเหตุ ปากีสถาน มีประชากรประมาณ 180 ล้านคน นับถือศาสนา
- ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 96 ประมาณ 173 ล้านคน
- ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู 1.85 ประมาณ 3.2 ล้านคน
- ศาสนาคริสต์ร้อยละ 1.6 ประมาณ 2.8 ล้านคน
- ศาสนาซิกซ์ ร้อยละ 0.01 ประมาณ 20,000 คน
- ศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.01 ประมาณ 20,000 คน (วิถิพีเดีย)
ฟ.วีระ อาภรณ์รัตน์ แปลสรุป
(21 มิถุนายน 2020)