Skip to content

การเข้าเฝ้าแบบทั่วไปกับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

การสอนคำสอน เรื่อง “การสวดภาวนา”

คำสอนหัวข้อใหม่ เรื่องการสวดภาวนา

การเข้าเฝ้าแบบทั่วไปกับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ตอนเช้าเวลา 9.30 น. จากห้องสมุดวาติกัน

ในคำปราศรัยเป็นภาษาอิตาเลียน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเริ่มคำสอนชุดใหม่หรือซีรี่ใหม่เกี่ยวกับการสวดภาวนา (มก. 10: 46-52)

หลังจากที่สรุปคำสอนเป็นหลายภาษาแล้วสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงทักทายประชาสัตษุรุษ จากนั้นพระองค์ทรงขอร้องโลกให้ช่วยกันดูแลคนงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ไม่เอารัดเอาเปรียบกับบรรดาผู้ใช้แรงงาน

การเข้าเฝ้าสิ้นสุดลงด้วยการขับร้องบทเพลงข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย และการอวยพรของสมเด็จพระสันตะปาปา

คำสอนของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

อรุณสวัสดิ์ ลูกๆ และพี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย 

วันนี้พวกเราจะเริ่มคำสอนชุดใหม่ด้วยกัน เกี่ยวกับ เรื่องการสวดภาวนา  การสวดภาวนาคือลมหายใจของความเชื่อ ซึ่งเป็นการแสดงที่เหมาะสมที่สุดดุจดังเสียงร้องที่เกิดจากหัวใจของผู้ที่มีความเชื่อและมอบตนเองไว้กับพระเจ้า พวกเราคิดถึงเรื่องของบาร์ตีเมอุส (คนตาบอด) ซี่งเป็นบุคคลหนึ่งที่มีการกล่าวถึงในพระวรสาร (เทียบ มก. 10: 46-52)  ซึ่งพ่อต้องสารภาพกับลูกๆและพวกท่านว่าสำหรับพ่อแล้วทุกคนมักจะเป็นเช่นนี้  เขาเป็นคนตาบอด นั่งขอทานอยู่ข้างถนนชายเมืองเยริโก เขาไม่ใช่เป็นคนที่ไม่มีใครรู้จัก เขามีหน้าตาและมีชื่อว่าบาร์ตีเมอุส “บุตรของตีเมอุส” วันหนึ่งเขาไดยินข่าวร่ำลือว่าพระเยซูคริสต์กำลังดำเนินผ่านมาทางนี้  อันที่จริงเยริโกเป็นทางแพ่งของประชาชน  ซึ่งนักเดินทางและนักธุรกิจมักจะต้องเดินผ่านเสมอ ดังนั้นบาร์ตีเมอุสจึงนอนเฝ้า ณ ตรงนั้น เขาทำทุกอย่างเพื่อที่จะได้พบกับพระเยซูคริสต์ หลายคนก็ทำเช่นเดียวกัน  พวกเรานึกถึงซักเคอุส คนเก็บภาษีร่างเตี้ยซึ่งปีนขึ้นไปบนต้นไม้  หลายคนต้องการพบพระเยซูคริสต์ เขาก็เช่นเดียวกัน

ดังนั้นชายผู้นี้จึงเข้าไปอยู่ในพระวรสารดุจเสียงที่ตะโกนออกมาด้วยเสียงอันดัง  เขาไม่สามารถมองเห็น เขาไม่ทราบว่าพระเยซูคริสต์ทรงอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล แต่เขาเข้าใจจากฝูงชนซึ่งเพิ่มมากขึ้นในขณะที่พระองค์ใกล้เข้ามา… ทว่าเขาอยู่เพียงลำพังและไม่มีใครให้ความสนใจเขา  แล้วบาร์ตีเมอุสทำอย่างไร?

เขาตะโกน ตะโกน แล้วก็ตะโกน เขาใช้อาวุธที่เขามีอยู่อย่างเดียวนี้คือเสียงร้อง เขาเริ่มตะโกนว่า “ข้าแต่พระเยซูคริสต์ บุตรแห่งดาวิด โปรดเมตตาข้าพเจ้าด้วย” (ข้อ 47)  เขาตะโกนเช่นนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  เสียงตะโกนของเขาเป็นการรบกวนและดูเหมือนจะไม่ค่อยสุภาพ หลายคนพากันตำหนิเขาและบอกให้เขาเงียบ “สุภาพหน่อย อย่าทำอย่างนั้น”  แต่บาร์ตีเมอุสไม่ยอมนิ่ง ตรงกันข้าเขายิ่งตะโกนเสียงดังกว่าเดิม”  “พระเยซูคริสต์ บุตรแห่งดาวิด โปรดเมตตาข้าพเจ้าด้วย”  นี่เป็นการตื้อของคนเหล่านั้นที่ต้องการพระหรรษทาน แล้วก็เคาะที่ประตูแห่งดวงพระทัยของพระเจ้า  เขาตะโกนแล้วก็เคาะ คำๆนั้น “บุตรแห่งดาวิด” มีความสำคัญมาก ซึ่งหมายถึง “พระผู้ไถ่” เขายอมรับพระผู้ไถ่ เป็นการแสดงความเชื่อที่เกิดจากปากของชายผู้นั้น ซึ่งทุกคนดูหมิ่นดูแคลนเขา   แล้วพระเยซูคริสต์ก็ยินเสียงร้องของเขา คำภาวนาของบาร์ตีเมอุสสัมผัสดวงพระทัยของพระองค์  ดวงพระทัยของพระเจ้า แล้วประตูแห่งความรอดก็เปิดออกให้เขา พระเยซูคริสต์ให้คนไปตามเขามา เขากระโดดลุกขึ้นยืนและคนที่อยู่ก่อนหน้านั้นสั่งให้เขาเงียบต่างช่วยกันพาเขาไปพบพระเยซูคริสต์ พระเยซูคริสต์ตรัสกับเขา  ขอให้เขาบอกสิ่งที่เขาอยากได้ นี่คือสิ่งสำคัญ แล้วเสียงร้องนั้นก็กลายเป็นการวิงวอน “ข้าแต่พระเจ้า โปรดให้ข้าพเจ้ามองเห็นได้ด้วยเถิด” (ข้อ 57)  พระเยซูคริสต์ทรงทราบถึงอำนาจแห่งความเชื่อซึงดึงดูดพระเมตตาและอาจของพระเจ้าในคนยากจน คนที่ช่วยตนเองไม่ได้ คนที่ถูกเหยียดหยาม ความเชื่อคือการยกสองแขนขึ้นส่งเสียงร้องขอพระหรรษทานแห่งความรอด  คำสอนคาทอลิกยืนยันว่า “มนุษย์คือรากฐานแห่งการสวดภาวนา” (คำสอนของพระศาสนจักร CCC, ข้อ 2559)

การอธิษฐานภาวนามาจาก humus (มนุษย์ หรือดิน) ที่แผลงมาเป็นคำ “humble” (สุภาพ) – “humility” (ความสุภาพ) ซึ่งมาจากสภาพที่แปลกมหัศจรรย์ในพวกเรา จากความกระหายที่ไม่รู้จบของเราต่อพระเจ้า (เทียบ Ibid., ข้อ 2560-2561)

ความเชื่อที่เห็นในตัวชายตาบอด ชื่อบาร์ตีเมอุสเป็นเสียงร่ำร้อง ซึ่งผู้ที่ไม่มีความเชื่อพยายามกลบเสียงนี้ เป็นทัศนคตินั้นที่ประชาชนมีเพื่อที่จะหุบปากเขา พวกเขาเป็นคนที่ไม่มีความเชื่อ ตรงข้ามชายผู้นั้นมีความเชื่อ  เพื่อที่จะระงับเสียงร้องนั้นเป็น omerta” [กฎรักษาความเงียบ] ชนิดหนึ่ง  ความเชื่อเป็นการคัดค้านสภาพอันน่าเจ็บปวดซึ่งพวกเราไม่ทราบเจตนาในเรื่องนี้  การไม่มีความเชื่อเป็นการจำกัดตนเองให้ยอมทนต่อสถานภาพที่พวกเราปรับตัว  ความเชื่อเป็นความหวังที่จะได้รับความรอด การไม่มีความเชื่อเป็นการคุ้นเคยกับความชั่วที่ข่มเหงรังแกพวกเราและจะทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

ลูกๆ และพี่น้องชายหญิงที่รัก  พวกเราเริ่มคำสอนในหัวข้อใหม่วันนี้ เกี่ยวกับเสียงร้องของชายตาบอด บาร์ตีเมอุส เพราะบางทีในรูปแบบเฉกเช่นนี้ทุกสิ่งถูกบันทึกไว้แล้ว บาร์ตีเมอุสเป็นคนที่ยืนหยัดมั่นคง มีคนรอบตัวเขาที่อธิบายว่าการขอร้องนั้นไม่มีประโยชน์ การร้องตะโกนนั้นจะไม่ได้รับคำตอบ เขาส่งเสียงรบกวนเปล่าๆ เขาเป็นคนประเภทนักรบกวน น่ารำคาญในสังคม ดังนั้นขอให้เขาเลิกร้องตะโกนเถิด  ทว่าเขาไม่หยุดร้อง จนในที่สุดเขาก็ได้สิ่งที่เขาต้องการ

ทว่ายังมีอยู่เสียงหนึ่งในดวงใจมนุษย์ที่วิงวอน เป็นเสียงที่ดังกว่าข้อโต้แย้งใดๆ พวกเราทุกคนมีเสียงนี้อยู่ภายใน เป็นเสียงที่เกิดขึ้นโดยทันทีทันใดโดยไม่ต้องมีใครสั่ง ซึ่งเป็นเสียงที่ถามถึงความหมายของการเดินทางของพวกเราในโลกนี้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเมื่อเราพบว่าตัวเราเองตกอยู่ในความมืด “ข้าแต่พระเยซูคริสต์ โปรดเมตตาลูกด้วย”  นี่เป็นคำภาวนาที่งดงามมาก แต่บางทีคำพูดเหล่านี้ก็ไม่ได้ถูกสลักลงบนสิ่งสร้างทั้งปวง  ทุกสิ่งขอร้องวิงวอนให้พระธรรมล้ำลึกแห่งพระเมตตาจงสำเร็จลุล่วงไป  บรรดาคริสตชนมิใช่เป็นผู้ที่ภาวนาเช่นนี้เท่านั้น พวกเราต้องแบ่งปันเสียงร้องแห่งคำภาวนานี้กับมนุษย์ชายหญิงทุกคน  ทว่าขอบฟ้าสามารถขยายให้กว้างขึ้นได้อีก  เปาโลยืนยันว่า สิ่งสร้างทั้งปวง “กำลังร้องครวญด้วยความเจ็บปวดราวกันสตรีที่กำลังคลอดบุตร” (รม. 8: 22) บ่อยครั้งศิลปินทำตัวเองเป็นผู้ตีความเสียงร้องที่เงียบกริบ หากสิ่งสร้างนี้ซึ่งเป็นภาระให้กับสิ่งสร้างทุกชนิดและปรากฏออกมาให้เห็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดวงใจของมนุษย์ เพราะว่ามนุษย์เป็น “ขอทานต่อพระพักตร์พระเจ้า” (Cf. CCC, ข้อ2559) เป็นขอทานต่อพระพักตร์พระเจ้าเป็นคำอธิบายที่สวยงามของมนุษย์ ขอขอบคุณทุกคน

คำปราศรัยเพิ่มเติมภาษาอิตาเลียนโดยพระสันตะปาปาฟรานซิส

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม นี้ ณ สักการะสถานปอมเปอี เนเปิ้ล ประเทศอิตาลี จะมีการสวดภาวนากันอย่างจริงจัง “วอนขอพระแม่แห่งสายประคำ” พ่อขอเตือนใจให้ทุกคนร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกันต่อศรัทธาประชานิยมนี้ เพื่ออาศัยการวิงวอนของพระแม่พระเจ้าจะได้ทรงประทานพระเมตตาและสันติสุขให้แก่พระศาสนจักรและแก่โลก

พ่อขอต้อนรับสัตบุรุษชาวอิตาเลียนทุกคน เมื่อไม่กี่วันมานี้พวกเราเริ่มเดือนแม่พระซึ่งเป็นศรัทธาประชานิยมที่อุทิศให้กับพระมารดาของพระเยซูคริสต์  พ่อขอเชิญให้ทุกคนมอบตนแด่พระแม่ ผู้ที่รับมอบให้เป็นมารดาของพวกเราภายใต้ไม้กางเขน

ขอส่งความคิดถึงเป็นพิเศษไปยังบรรดาเยาวชน ผู้สูงอายุ คนเจ็บป่วย และคนที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ ขอให้มอบตนด้วยความไว้ใจในการปกป้อง พิทักษ์คุ้มครองภายใต้เสื้อคลุมของพระแม่ และขอให้มั่นใจว่าพระแม่จะไม่ปล่อยให้พวกเราขาดความบรรเทาในยามที่พวกเราเผชิญกับความทุกข์ในชีวิต  ขอพระเยซูคริสต์ได้โปรดอวยพรลูกๆ และท่านทุกคน และขอให้พระแม่ปกป้องคุ้มครองพวกท่านเสมอ

การขอร้องของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ท่านผ่านมา พ่อได้รับหลายข้อความเกี่ยวกับโลกของการทำงานที่มีปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พ่อรู้สึกเสียใจกับผู้ใช้แรงงานในฟาร์ม ในท้องนา ซึ่งมีผู้อพยพรวมอยู่ด้วยจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอยู่ตามชนบทในประเทศอิตาลี โชคร้ายเหลือเกินที่พวกเขาหลายคนโดนเอารัดเอาเปรียบ  เป็นความจริงว่าวิกฤตปัจจุบันนั้นมีผลกระทบต่อทุกคน แต่ศักดิ์ศรีของมนุษย์ต้องได้รับความเคารพเสมอ  นี่คือเหตุผลที่พ่อขอร้องจริงๆแทนพวกคนงานเหล่านั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ อยุติธรรม ขอให้พวกเราฉวยโอกาสที่กำลังเผชิญวิกฤตนี้ ให้เป็นโอกาสเคารพศักดิ์ศรีของบุคคล และศักดิ์ศรีของการทำงานเป็นศูนย์กลางแห่งความกังวลห่วงใยต่อเพื่อนมนุษย์ของพวกเรา

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บคำสอนที่สำคัญและน่าติดตามของพระสันตะปาปามาแบ่งปันและไตร่ตรอง)