บทสัมภาษณ์บิชอป โรเบิร์ต บาร์รอน (Robert Barron) นักปรัชญา นักพระคัมภีร์ นักเทศน์ นักอภิบาล เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคาทอลิกท่ามกลางวิกฤตไวรัสโคโรนา
ในการสัมภาษณ์ทั่วไปบิชอปผู้ช่วยแห่งอัครสังฆมณฑลลอสแอนเจลีส กล่าวกับ นักข่าวของเซนิท (ZENIT) เกี่ยวกับคำแนะนำฝ่ายจิตสำหรับประชาสัตบุรุษ “เพื่อที่จะเปลี่ยนระยะเวลาช่วงวิกฤตของโรคระบาดนี้ให้เป็นโอกาสเพื่อการประกาศพระวรสาร (วันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 2020)
ท่ามกลางโรคระบาดโควิด-19 ทั่วโลก บิชอปโรเบิร์ต บาร์รอน กล่าวว่า “เปลี่ยนเวลาแห่งการรอคอยนี้ ให้เป็นโอกาสทองสำหรับการประกาศพระวรสาร…”
ในการให้สัมภาษณ์กับ ZENIT บิชอปผู้ช่วยแห่งลอสแอนเจลีส และผู้ก่อตั้งรายการวิทยุ-โทรทัศน์ “Word on Fire Catholic Ministries” พระคุณเจ้าได้ให้ข้อเสนอหลังจากที่ท่านได้ไตร่ตรองถึงวิธีต่างๆที่บรรดาสัตบุรุษสามารถเชื่อมโยงชีวิตฝ่ายจิตกันได้ในช่วงเวลาที่กำลังเผชิญเหตุการณ์อันน่าเป็นห่วงนี้
ในการสัมภาษณ์บิชอปชาวอเมริกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านพระคัมภีร์ และนักเทศน์ที่มีชื่อเสียงมากได้ไตร่ตรองเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในรัฐคาลิฟอร์เนียและในประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงแม้จะมีความตายและความทุกข์ที่เกิดจากโรคระบาดดังกล่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วโลก และส่งผลให้ต้องบังคับควบคุมประชาชนให้อยู่ภายในบ้าน พวกเราที่เป็นคริสตชนจะต้องดำเนินชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมในความเชื่อ และจะรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ท่ามกลางความทุกข์ยากยากลำบากเช่นนี้ได้อย่างไร?
ยิ่งกว่านั้นพระคุณเจ้าบาร์รอนได้ไตร่ตรองท่าทีสำคัญของพระสันตะปาปาฟรานซิสในช่วงนี้ และทรัพยากรที่อาจช่วยพวกเราได้ในระยะเวลาที่ลำบากเช่นนี้
“พ่อคิดว่าเหตุการณ์ ณ เวลานี้ได้ปลุกให้เกิดมีความกระหายศีลมหาสนิทกันในบรรดาคาทอลิกจำนวนมาก” บิชอปบาร์รอนกล่าว
นอกเหนือจากให้คำแนะนำฉันพี่น้องกับบรรดาเพื่อนศาสนบริกร (บาดหลวง นักบวช) บิชอปบาร์รอน ยังได้ตอบสนองอย่างตรงไปตรงมา เกี่ยวกับการไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ในช่วงนี้ ด้วยการให้คำแนะนำชีวิตฝ่ายจิตอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย ท่านยังได้แบ่งปันประสบการณ์ของท่านที่เพิ่งประสบมาเมื่อไม่นานนี้ ด้วยการให้ความคิดบางประการจากประสบการณ์ และเวลาที่ท่านอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในโอกาสครบรอบปี ที่อาสนวิหารนอเตอร์ดามแห่งกรุงปารีสที่ถูกเพลิงเผาไหม้จนราบเป็นหน้ากองอันเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ครั้งหนึ่ง
ZENIT: สถานการณ์ของประชาสัตบุรุษในรัฐคาลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นรัฐแรกที่มีการประกาศ “สถานการณ์ฉุกเฉิน’ และต่อมาในประเทศสหรัฐอเมริกาทั่วไป?
Bishop Barron: พ่อคิดว่าประชาสัตบุรุษในรัฐคาลิฟอร์เนียร่วมมือกันดีมากกับคำแนะนำของภาครัฐโดยให้อยู่กับบ้าน พวกเขาน้อมรับในความสำคัญของคำสั่งนี้ ในขณะเดียวกันพวกเขาก็รู้สึกวิตกกังวลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับการร่วมฟังมิสซา และการรับศีลมหาสนิท พ่อคิดว่าเวลานี้แหละ เป็นโอกาสปลุกจิตสำนึกของประชาสัตบุรุษจำนวนมากให้มีความกระหายแท้จริงต่อการรับศีลมหาสนิท พวกเขาหันมาชื่นชอบให้ความสำคัญ นี่คือ “แหล่งสุดยอดแห่งชีวิตคริสตชน” ในรูปแบบใหม่ ซึ่งบัดนี้พวกเขาถูกบังคับให้ต้องงดการรับศีลมหาสนิททางกายภาพ
ZENIT: ระหว่างสิ่งสุดขั้วในบรรดาคาทอลิกเกี่ยวกับสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคาทอลิกในวิธีที่ชาญฉลาด (เพื่อป้องกันการติดต่อเชื้อ) ในการดำรงชีวิตในความเชื่อ หากจะพูดกันอย่างเป็นรูปธรรมแล้วท่านเชื่อว่าอะไรคือหนทางที่ถูกต้องที่จะเชื่อมช่องว่าง เพื่อทำให้เกิดการสมดุลระหว่างความปลอดภัยและกฎบังคับที่เป็นผลกระทบต่อเสรีภาพในการปฏิบัติศาสนกิจ?
Bishop Barron: พ่อไม่เห็นด้วยกับคนที่พูดว่าข้อบังคับเหล่านี้เป็นการริดรอนเสรีภาพในการนับถือศาสนา ในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในอัครสังฆมณลลอสแองเจลีส พ่อสามารถพูดด้วยใจจริงว่า สิ่งที่กระทำไปเพราะความห่วงใยต่อประชารชนของพวกเรา ซึ่งไม่มีเล่ห์เพทุบายอะไร หรือวาระซ่อนเร้นใดๆจากกฎบังคับของภาครัฐ ในความเป็นจริงก็มีความขัดแย้งกันอยู่บ้างระหว่างพระศาสนจักรกับภาครัฐ เช่นเมื่อปีที่แล้วรัฐคาลิฟอร์เนียพยายามออกกฎหมายที่เป็นการล่วงละเมิดต่อความลับในที่ฟังแก้บาป แต่นี่ไม่เกี่ยวกัน พระศาสนจักรมีการตอบสนองต่อวิกฤตนี้โดยจัดให้มีพิธีมิสซา การแนะนำ ออนไลน์อย่างกว้างขวาง อย่างเช่นโครงการในรายการ “Word on Fire Ministry” ของพ่อเองก็มีการถ่ายทอดสดมิสซาทุกวันตลอดเดือนที่แล้ว และพวกเราต่างตอบสนอง มีผู้รับชมราว 5 ล้านคนจากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก พ่อขอชื่นชมกับบางสังฆมณฑลที่จัดให้มีการอวยพรศีลมหาสนิทด้วยวิธีทิ้งระยะห่างทางสังคม (social distancing)
ZENIT: เช้าวันศุกร์ที่ 14 เมษายน ที่ผ่านมา ในช่วงมิสซาตอนเช้า ณ วัดน้อยภายในสถานพำนักซางตามาร์ธา นครรัฐวาติกัน สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเตือนใจพวกเราว่า นี่ไม่ใช่พระศาสนจักร “ที่แท้จริง” ทุกสิ่งเป็นเสมือนภาพทดแทน พระองค์ทรงหมายถึงอะไร?
Bishop Barron: แน่นอนว่าพระสันตะปาปากล่าวถูกต้องแล้ว ไม่ว่าอะไรที่พวกเรามอบให้ ณ เวลานี้ เป็นสิ่งเสมือนจะมาทดแทนมิสซาหรือศีลศักดิ์สิทธิ์ไม่ได้ พวกเราเป็นพระศาสนจักรที่มีชีวิตใหม่ในความแข็งแกร่ง พวกเรารับรู้อย่างดีว่าปารปรากฎทางกายภาพ การสัมผัส อากัปกิริยา ความเป็นหมู่คณะเดียวกันนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง และอันที่จริงแล้วการรับพระกายและพระโลหิตของพระเยซูคริสต์นั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่อันหาขอบเขตมิได้มากกว่าการฟังมิสซาทางโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ สิ่งเหลานี้ก็ดีแล้วสำหรับช่วงระยะนี้ พวกเรากระทำแบบชั่วคราวในเหตุการณ์ที่จำเป็น แต่พวกเราจะต้องไม่ทำให้จนกลายเป็นความเคยชิน ซึ่งจะอันตรายและไร้ความหมาย
ZENIT: สำหรับบรรดาศาสนบริกร บาดหลวง นักบวช เป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร ที่จะกล้าไปเยี่ยมคนป่วย เพราะว่าบาดหลวง นักบวช จำนวนมากเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19?
Bishop Barron: พ่อรู้สึกสะเทือนใจมากที่เพื่อนบาดหลวงหลายคนยอมเสียสละชีวิตเพื่อรับใช้ประชาสัตบุรุษในยามวิกฤตนี้ พวกเขาปฏิบัติอย่างที่บรรดานักบุญหลายองค์เคยกระทำในทำนองเดียวกัน พ่อประสงค์อย่างยิ่งขอร้องให้ศาสนบริกร บาดหลวงทุกคนจำเป็นต้องออกไปเยี่ยมสัตบุรุษที่เจ็บป่วย แต่ต้องป้องกันตัวเองด้วยทุกวิธีอย่างรอบคอบที่สุดที่จะสามารถทำได้ ความร้อนรนในการอภิบาลนั้นดี แต่ไม่ได้หมายถึงขนาดต้องลุกลี้ลุกลนจนขาดความเฉลียวฉลาด และขาดความรอบคอบ
ZENIT: พระคุณเจ้าประทับใจอะไรบ้างกับการที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงออกมาตอบโต้กับวิกฤตครั้งนี้?
Bishop Barron: ขอพูดตรงๆเลยนะ พ่อคิดว่าอีกร้อยปีข้างหน้า สิ่งที่ประชนจะจดจำได้ดีที่สุด และกล่าวขานกัน เกี่ยวกับสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส การที่พระองค์ทรงประทานพรพิเศษในค่ำคืน ขณะที่ฝนกำลังตก ณ บริเวณลานมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน ทั้งพระกระแสดำรัส การปรากฏพระองค์แสดงความใกล้ชิดห่วงใย การอวยพรประชาชนทั่วโลกด้วยศีลมหาสนิท นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกมิอาจลืมได้เลย เป็นภาพที่ประทับในหัวใจ พ่อคิดว่าเย็นค่ำของวันนั้น (ศุกร์ที่27 มีนาคม 2020) สรุปเหตุการณ์ที่สำคัญหลายประการในสมณสมัยของพระองค์
ZENIT: ก่อนสมโภชปัสการู้สึกว่าจะมีการคาดการณ์ไว้ล่วงหน้ากัน บัดนี้แม้เทศกาลปัสกาเพิ่งเริ่มต้นดูเหมือนจะมีบรรยากาศแห่งความสิ้นหวัง แบบเศร้าๆ มีการกล่าวกันน้อยมากถึงแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ พระคุณเจ้ามีคำแนะนำอะไรบ้าง เพื่อป้องกันความคิดในเชิงลบเช่นนี้?
Bishop Barron: พ่อคิดว่ายังมีเครื่องหมายเชิงบวก เส้นโค้งดูเหมือนจะกลายเป็นเส้นแนวราบในหลายภูมิภาคของประเทศ นักการเมืองและแพทย์กำลังเจรจากันหาหนทางที่จะทำให้เหตุการณ์กลับเป็นปกติ พ่อคิดว่าประชาชนควรอดทนสักอีกระยะหนึ่ง ข้อเสนอประการหนึ่งที่พ่ออยากบอกคือ เปลี่ยนเวลาแห่งการอคอยนี้ให้เป็นโอกาสสำหรับการประกาศพระวรสาร ในการคาดเดาล่วงหน้าว่าสักวันหนึ่งเมื่อพวกเราสามารถกลับไปวัดร่วมฟังมิสซา พวกเราหวังว่าจะพบกับบางคนที่ทิ้งวัดวาไปนาน พวกเขาจะกลับมาใหม่ ขอให้ทำเรื่องนี้ให้เป็นโครงการสำคัญแห่งการประกาศพระวรสารของพวกท่านในช่วงเวลาวิกฤตินี้
ZENIT: เพี่อที่จะไม่ปล่อยให้ช่วงเวลานี้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ พวกเราควรที่จะต้องทำอะไรบ้าง? และภายหลังเหตุกาณ์กลับสู่ปกติ พวกเราจะได้อะไรจากเหตุการณ์ในช่วงนี้บ้าง?
Bishop Barron: ในช่วงหลายวันมานี้ พ่อคิดหนักเกี่ยวกับแนวคิดของเบล็ส ปาสกัล (Blaise Pascal) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ในคริสตศตวรรษที่ 17 ที่กล่าวว่าปัญหาทุกอย่างของมนุษย์เกิดจากการไร้ความสามารถของมนุษย์ที่จะนั่งอย่างเงียบๆในห้องตามลำพัง สิ่งที่เขาหมายถึงก็คือพวกเราส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปในการเบี่บงเบนความสนใจของเราเองจากปัญหาที่ยิ่งใหญ่แห่งชีวิต นั่นคือ ความตาย ความหมายของชีวิต และพระเจ้า พวกเราชอบเบี่ยงเบนไปที่เรื่องอื่นๆซึ่ง ปาสกัล (Pascal) เรียกว่า “divertissements” (ความรื่นเริง) เมื่อพวกเรามีโอกาสที่จะผลักดันการเบี่ยงเบนนี้ออกไป และการปิดเมืองซึ่งบังคับให้พวกเราต้องอยู่กับที่ พวกเราจึงจะสามารถจัดการกับปัญหาใหญ่ๆได้
นั้นคือเหตุผลที่พ่อขอร้องประชาชนในช่วงเวลานี้ให้อ่านพระคัมภีร์ อ่านช้าๆอ่านแบบไตร่ตรอง และอธิษฐานภาวนาพร้อมกันไป พ่อขอร้องให้บรรดาสัตบุรุษหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตฝ่ายจิตที่พวกเขาไม่เคยมีเวลาที่จะอ่าน นั่นคือหนังสือของนักบุญออกัสติน ที่ชื่อว่า “Confessions” (การสารภาพ) หนังสือของนักบุญอิกญาซีอุสที่ชื่อว่า “Spiritual Exercises” หนังสือของนักบุญเทเรซาที่ชื่อว่า “Story of a Soul” หนังสือของโทมัส เมอร์ตันที่ชื่อว่า “Seven Storley Mountain” ฯลฯ พ่อยังเตือนใจประชาสัตบุรุษด้วยว่า นี่อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องหันกลับมาปฏิบัติตามคำแนะนำของพระคุณเจ้าฟูลตัน ชีล (Fulton Sheen) อดีตอาร์ชบิชอปแห่งนิวยอร์ค ด้วยการทำชั่วโมงศักดิ์สิทธิ์ทุกวัน การเฝ้าศีลมหาสนิท บางที่ท่านไม่อาจทำเช่นนี้ได้ต่อหน้าศีลมหาสนิท แต่พวกท่านสามารถใช้เวลาไปในการสวดสายประคำ สวดบทภาวนาของพระเยซูคริสต์ หรือทำ “Lectio Divina” ไตร่ตรองจากพระวาจาพระเจ้า
ZENIT: กรุณาบอกผลงานที่พระคุณเจ้าทำ ซึ่งประชาสัตบุรุษ สามารถติดตาม และหาดูได้ ซึ่งพวกเขาอาจนิยม และนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้บ้าง
Bishop Barron: ก็เพียงแต่กดไปที่ Wordonfire.org พวกท่านก็จะพบกับเรื่องราวมากมายจากการวิเคราะห์ของ YouTube เสียงออนไลน์ บทเทศน์ มิสซาประจำวัน และบทความทั้งหมดของพ่อ ทุกอย่างฟรีหมด และหากท่านพอใจท่านก็สามารถที่จะร่วมกับสถาบัน “Word on Fire” ได้ และสามารถเข้าถึงหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับการศึกษาเทวศาสตร์ ชีวิตฝ่ายจิต วัฒนธรรม และการประกาศพระวรสารที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งภาพยนตร์ หนังสือ และอื่นๆอีกมากมาย
ZENIT: พระคุณเจ้ากำลังเขียนหนังสือเล่มใหม่ หรือ มีโครงการใหม่บ้างไหม? มีวิธีใหม่อะไรบ้างที่ท่านใช้เวลาของท่าน?
Bishop Barron: พ่อก็เหมือนกับหลายๆคน คือรู้สึกช่วงเวลานี้ค่อนข้างน่าเบื่อ แต่จุดดีประการหนึ่งสำหรับพ่อคือโอกาสที่จะกลับไปยังโครงการเขียนหนังสือรวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับข้อความเชื่อ (Nicene Creed) ที่พ่อได้เริ่มเขียนมาหลายเดือนแล้ว แต่พ่อทำได้ช้ามากเพราะความรับผิดชอบในงานอภิบาลและในการบริหารงาน การเทศน์ ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาพ่อเขียนได้มากหน่อย พ่อเขียนในเชิงวิชาการค่อนข้างสูง เพราะอย่างที่ท่านทราบ พ่อคิดว่าศาสนาคริสต์คาทอลิกที่กำลังตกต่ำลงคือหายนะเชิงอภิบาล และมีส่วนอย่างมากในการก่อให้เกิดกองทัพเยาวชนที่แยกตัวออกไป ทิ้งวัดทิ้งพระศาสนจักร พ่อกำลังพยายามที่จะวางรากฐานแห่งความเชื่อของคริสตชนโดยทราบดีว่าสิ่งที่หลายคนได้รับในทุกวันนี้เป็นคำสอนที่ไม่เพียงพอของพระศาสนจักร คุณพ่อพอล เมอร์เรย์ (Paul Murray) คณะโดมินิกันเพื่อนของพ่อซึ่งเป็นนักเขียนเรื่องชีวิตฝ่ายจิตที่มหาวิทยาลัยอังเยลิกุม (Angelicum) ในกรุงโรมเป็นบุคคลแรกที่เสนอความคิดให้พ่อเขียนเรื่องนี้
ZENIT: พระคุณเจ้าศึกษาที่กรุงปารีสหลายปี ซึ่งไม่กี่วันมานี้เป็นวันครบรอบปีที่อาสนวิหารนอเตอร์ดามถูกไฟไหม้… ที่นั่นมีความกาวหน้าอะไรบ้างไหม? ท่านคิดว่าควรที่จะต้องทำประการใด?
Bishop Barron: เปลวเพลิงเผามหาวิหารนอเตอร์ดามก็เหมือนทำให้หัวใจพ่อแตกสลาย เพราะอาสนวิหารยิ่งใหญ่นั้นมีความหมายมากสำหรับพ่อ พ่อเป็นนักศึกษาในกรุงปารีส ในขณะที่พ่อพิมพ์คำพูดเหล่านี้ พ่อมองเห็นแค่เลยจอคอมพิวเตอร์ไปหน่อยเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นรูปอาสนวิหารนอเตอร์ดามที่พ่อซื้อมาจากร้านเล็กๆแห่งหนึ่งจากถนนเลียบแม่น้ำเซนเมื่อหลายปีมาแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการซ่อมแซมหรือฟื้นฟูพ่อไม่ทราบอะไรมากนัก พ่อทราบว่านั่งร้านที่ได้รับผลกระทบอย่างสาหัสจากเปลวเพลิงกลายเป็นอุปสรรคสำคัญในการบูรณะ พ่อได้แต่ภาวนาขอให้พวกเขาหาทางแก้ไขได้ ขอพระเจ้าโปรดให้พวกเขาสามารถฟื้นฟูอาสนวิหารให้ควงสภาพเดิมให้ได้ พ่อรู้สึกตกใจมากจากการออกแบบของสถาปนิกยุคสมัยใหม่ที่ยื่นเสนอแบบเข้ามา ซึ่งเป็นแบบทันสมัยแปลกๆ โครงสร้างเดิมของมหาวิหารอาจจะเปลี่ยนแปลงไปแบบศิลปสมัยใหม่ (modernity)!!
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทสัมภาษณ์นี้มาแบ่งปัน อาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้พวกเราในการช็เวลาในช่วงนี้ให้เกิดประโยชน์อย่างดีที่สุดและอย่างมีค่าที่สุด)
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
- สมณลิขิต (Apostolic Letter) ของสันตะปาปาฟรานซิส โอกาสครบ 1600 ปีหลังการมรณภาพของนักบุญเจโรม
- สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสมีความคิดที่จะปฏิรูปพระศาสนจักร
- ร่วมประชุมบิชอปเพื่อนคณะโฟโคลาเร
- สมณลิขิตในรูปแบบพระสมณอัตตาณัติ (Motu Proprio) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส “ANTIQUUM MINISTERIUM”
- พระสันตะปาปาฟรานซิสทรงยืนยันว่า
เลบานอนคือประเทศต่อไปที่พระองค์จะเสด็จไปเยือน