Skip to content

วันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2020 (VIA CRUCIS)

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงนำการเดินรูป 14 ภาค

บทรำพึงไตร่ตรองของการเดินรูป 14 ภาค ปี 2020 เขียนขึ้นโดยนักโทษแห่งเรือนจำ ชื่อ “ดูเอ ปาลาซซี่” (Due Palazzi) ณ เมืองปาดัว (Padua) ประเทศอิตาลี

สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงนำการเดินรูป 14 ภาค ณ หน้าพระลานมหาวิหารนักบุญเปโตร นครรัฐวาติกัน

เนื่องจากจารีตพิธีในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ปีนี้ เหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวยจึงไม่มีฝูงชนเฉกเช่นในปีก่อนๆ เพราะการระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรนา ในปีที่ผ่านๆมาสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงจัดให้มีการเดินรูป 14 ภาค ณ “โคลีเซี่ยม” ใจกลางกรุงโรม

ปีนี้การรำพึงในการเดินรูป 14 ภาค เตรียมโดยบาดหลวงผู้ดูแลประจำที่เรือนจำ “ดูเอ ปาลาซซี่ หรือ สองตำหนัก (Due Palazzi) ซึ่งเป็นสถานที่กักขังนักโทษในเมือง ปาดัว (Padua) ประทศอิตาลี  สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงเชื้อเชิญ 14 ท่านจากเรือนจำให้ช่วยเตรียมบทรำพึงเกี่ยวกับพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์โดยคำนึงถึงสถานภาพของตนเองที่อยู่ ณ เรือนจำแห่งนี้  ผู้ที่ได้รับเชิญประกอบด้วยนักโทษ 5 คน จากครอบครัวหนึ่งที่เป็นผู้เคราะห์ร้าย (เหยื่อ) ของการถูกสังหาร ลูกสาวของชายคนหนึ่งที่ต้องโทษติดคุกตลอดชีวิต ครูผู้สอนนักโทษคนหนึ่ง ผู้พิพากษาคนหนึ่ง แม่ของนักโทษคนหนึ่ง ครูสอนคำสอนคนหนึ่ง เจ้าหน้าที่ผู้คุมเรือนจำคนหนึ่ง และบาดหลวงท่านหนึ่งที่เคยถูกกล่าวหา และในที่สุดศาลท่านยกฟ้องหลังจากถูกติดคุกไป 10 ปี

ในจดหมายวันนี้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสขอบพระทัยพวกเขาที่ได้ทำการไตร่ตรองมาเป็นอย่างดี และทรงเตือนใจ ให้กำลังใจพวกเขาว่าพระองค์ทรง “คิดถึงพวกเขาอยู่ในหัวใจเสมอ” พระองค์ทรงขอร้องให้พวกเขาสวดภาวนาสำหรับพระองค์ด้วย

ในการติดตามพระเยซูคริสต์ในมรรคาศักดิ์สิทธิ์จากบุคคลที่ไม่มีปากเสียงอะไรเลยของคนที่อยู่ภายในกำแพงคุก เป็นโอกาสดีที่ได้เห็นการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ระหว่างชีวิตกับความตาย ที่พวกเขาพบว่าเส้นด้ายแห่งความดีและความชั่ว มีความเกี่ยวพันกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างไร  เมื่อมองเนินเขากัลวารีโอจากหลังกรงเหล็กทำให้เชื่อว่าชีวิตของคนเรานั้นอาจมีการพลิกแพลงได้ทันทีอย่างที่ปรากฏกับโจรผู้นั้นที่กลับใจเป็นคนดี  สิ่งที่ต้องการคือในช่วงเวลานั้นคือการยอมรับความจริง เขาเสียใจในบาปที่ตนได้กระทำ เขารับรู้ว่าความตายมิได้ตายตลอดไป เขามั่นใจว่าพระเยซูคริสต์เป็นผู้บริสุทธิ์ที่ถูกเย้ยหยันอย่างไม่ชอบธรรม  ทุกสิ่งเป็นไปได้สำหรับผู้ที่มีความเชื่อ  เพราะแม้กระทั่งในความมืดมนแห่งชีวิตในคุกหรื่อที่ต้องกักก็ยังมีเสียงสะท้อนแห่งความหวังอยู่ “เพราะว่าสำหรับพระเจ้าแล้วไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” (ลก. 1: 37) หากจะมีใครยื่นมือไปยังพวกเขา แม้ผู้ที่อาจกระทำชั่วอย่างร้ายกาจที่สุด เขาก็สามารถที่จะได้รับหนทางการกลับเป็นขึ้นมาใหม่อย่างไม่คาดฝันได้ เราอาจมั่นใจได้ว่า “แม้เมื่อพวกเราพูดถึงความชั่ว พวกเราก็สามารถเปิดพื้นที่สำหรับการกลับเป็นขึ้นมาใหม่ได้ ท่ามกลางความชั่วร้ายต่างๆ พวกเรายังสามารถรับรู้ได้ถึงการกระทำความดีและเปิดพื้นที่ใหม่ได้” (สาส์นของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสสำหรับวันสื่อสารมวลชนสากล 2020)

โดยอาศัยวิธีนี้การเดินรูป 14 ภาค จะกลายเป็น “การเดินสู่ความสว่าง”

VIA CRUCIS AD VIA LUCIS

บทรำพึงเหล่านี้ถูกรวบรวมโดยคุณพ่อมาร์โก ปอซซี่ (Marco Pozza) บาดหลวงศาสนบริกรผู้ดูแลชีวิตฝ่ายจิตประจำเรือนจำแห่งนี้และนักข่าวอาสาสมัคร ชื่อตาติอานา มารีโอ (Tatiana Mario) เขียนบทรำพึงขึ้นโดยใช้สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง แต่มีการตกลงกันห้ามเอ่ยชื่อของนักโทษผู้ที่มีส่วนร่วมในการไตร่ตรองนี้ ซึ่งพวกเรานำความคิดและเสียงร่ำร้องของเขาสื่อไปยังทุกคนทั่วโลก ผู้ซึ่งตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับพวกเขา  ค่ำนี้ในความเงียบของเรือนจำเสียงของบุคคลคนหนึ่งจะกลายเป็นกระบอกเสียงของทุกคน

บทรำพึงมรรคาศักดิ์สิทธิ์ ที่เขียนโดยนักโทษ ผู้ต้องกัก (แบบสรุปเนื้อหา)

การรำพึงมรรคาศักดิ์สิทธิ์หรือการเดินรูป 14 ภาคในวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ปีนี้จัดเตรียมโดยนักโทษ อาสาสมัคร สมาชิกของครอบครัว และคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับเรือนจำของประเทศอิตาลีภาคเหนือ

การปิดเมืองเพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาในประเทศอิตาลี ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม จากนั้นได้มีการก่อการจลาจลจากนักโทษทั่วประเทศอิตาลี เพราะญาติพี่น้องไม่อาจไปเยี่ยมนักโทษได้ หลังจากเกิดจลาจลเหตุการณ์สับสนได้สองวันสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงถวายบูชาขอบพระคุณสำหรับบรรดานักโทษ  “พ่อประสงค์อย่างยิ่งจะภาวนาสำหรับผู้ที่อยู่ในเรือนจำ” พระองค์ตรัสว่า “พวกเขากำลังมีทุกข์ใหญ่หลวง พวกเราต้องมีความใกล้ชิดกับพวกเขาเป็นพิเศษในคำภาวนา วอนขอพระเจ้าให้ช่วยพวกเขา และบรรเทาใจปลอบโยนพวกเขา ในยามแห่งความทุกข์ยากลำบากนี้”

ภาคที่หนึ่ง พระเยซูคริสต์ถูกตัดสินประหารชีวิต

๑ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่หนึ่งเป็นนักโทษที่ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต  “การถูกตรึงบนไม้กางเขนของข้าพเจ้า เริ่มตั้งแต่ข้าพเจ้ายังเป็นเด็ก” เขากล่าวโดยอธิบายว่าการพูดติดอ่างของทำให้เขากลายเป็นบุคคลตกขอบสังคม ไม่มีใครยอมรับเขา ประเภทจัณฑาล  เขามีความรู้สึกว่าเขาเป็นเหมือนบารับบัส (โจรกลับใจ) มากกว่าเป็นพระเยซูคริสต์  บางครั้งเขาก็คร่ำครวญร้องไห้ “หลังจากที่อยู่ในคุกมา 29 ปี ข้าพเจ้าก็ยังคงร้องไห้ รู้สึกอับอายเรื่องราวในอดีตของข้าพเจ้า รวมถึงความชั่วต่างๆที่ข้าพเจ้าได้กระทำ”  ในชีวิตนั้นหรือคือ “ไม่ใช่ชีวิต” ที่เขาดำเนินในอดีต เขา “พยายามแสวงหาอะไรบางอย่างที่เป็นชีวิตเสมอ” เขากล่าว  วันนี้ดูเหมือนจะแปลกใจสักหน่อย “ภายในเรือนจำกลายเป็นความรอดของข้าพเจ้า” เขากล่าวเพิ่ม

        หากสำหรับใครบางคน ข้าพเจ้ายังคงเป็นบารับบัส ข้าพเจ้าก็จะไม่โกรธ  ข้าพเจ้ารู้แก่ใจว่าพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ถูกลงโทษเช่นเดียวกับข้าพเจ้า ทรงเสด็จมาเพื่อที่จะพบกับข้าพเจ้าในเรือนจำ เพื่อที่จะสอนข้าพเจ้าเกี่ยวกับชีวิต

ภาคที่สอง พระเยซูคริสต์ทรงรับแบกไม้กางเขน

๒ พ่อแม่ของลูกสาวคนหนึ่งที่ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหด พวกเขาเล่าถึง “ชีวิตแห่งการพลีกรรมของพวกเขาที่มีพื้นฐานจากการทำงานและจากครอบครัวของเขา”  เขาทั้งสองมักจะถามตนเองว่า “เหตุใดเราจึงทำใจไม่ได้สักทีกับความชั่วร้ายที่เกิดขึ้น?” พวกเขาไม่อาจพบกับสันติสุขในใจได้ “ณ เวลาของการสิ้นหวัง หมดอาลัย หดหู่ ดูเมือนเข้ามาครอบงำเรา พระเยซูคริสต์ทรงเสด็จมาพบพวกเราในวิถีทางต่างๆ” พวกเขากล่าวอีกว่า “พระองค์ทรงประทานพระหรรษทานให้เราทั้งสองรักกันยิ่งขึ้นดุจบุคคลที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ เราช่วยเหลือ ส่งเสริมกำลังใจกันและกัน แม้จะต้องเผชิญความทุกข์ยากลำบาก”  วันนี้เขาทั้งสองยังคงเปิดใจกว้างให้กับทุกคนที่มีความเดือดร้อนในชีวิต

        พระบัญชาที่สั่งให้พวกเราปฏิบัติกิจกรรมเมตตาธรรมเป็นการไถ่กู้ชนิดหนึ่งที่ทำให้พวกเราไม่ยอมแพ้ต่อความชั่วร้ายต่างๆ  ความรักของพระเจ้าสามารถฟื้นฟูชีวิตของพวกเราได้อย่างแท้จริง เพราะว่าพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ทรงรับการทรมานต่อหน้าต่อตาพวกเรา เพื่อพวกจะมีประสบการณ์กับการเห็นอกเห็นใจที่แท้จริงและเอื้ออาทรต่อกันและกัน

ภาคที่สาม พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่หนึ่ง

๓ “นี่เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าหกล้ม แต่สำหรับข้าพเจ้าแล้วการหกล้มนั้นคือความตาย” การรำพึงสถานที่สามนี้เขียนโดยนักโทษคนหนึ่ง   เขาไม่ทราบว่าความชั่วกำลังเติบโตขึ้นในตัวเขา  หลังจากมีชีวิตที่ค่อนข้างลำบากในเย็นวันหนึ่ง  “ดุจหิมะถล่ม… ความโกรธ ความแค้น ได้ฆ่าความใจดีของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงฆ่าชีวิตของคนหนึ่งไป” หลังจากนั้นเขาคิดจะฆ่าตัวตายในคุก  ในที่สุดเขาได้มีโอกาสพบกับบุคคลหนึ่งที่มอบความเชื่อที่เขาสูญเสียไปกลับคืนมาให้เขา

        การล้มครั้งแรกของข้าพเจ้าเป็นการพลาดในการรับรู้ว่า ความดียังคงมีอยู่ในโลกนี้  การล้มครั้งที่สองของข้าพเจ้าเป็นความคิดที่อยากฆ่าคนซึ่งเป็นผลที่ตามมา เพราะข้าพเจ้าได้ตายไปแล้วในชีวิตภายใน

ภาคที่สี่ พระเยซูคริสต์ทรงพบพระมารดาของพระองค์

๔ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่สี่เป็นคุณแม่ที่ลูกชายอยู่ในคุก เธอกล่าวว่าเธอไม่เคยคิด “แม้แต่วินาทีเดียว” ที่จะทอดทิ้งบุตรชายของเธอที่ต้องรับโทษ ณ สถานเรือนจำ เธอกล่าวว่าวันนั้น “ทั้งครอบครัวเดินทางไปที่เรือนจำพร้อมกับบุตรชายของเธอ” เธอกล่าวว่าผู้คนต่าง “ชี้นิ้วประณาม” แม้ทุกวันและยิ่งวันยิ่งเพิ่มขึ้น  เธอขอมอบบุตรชายเพียงคนเดียวไว้กับแม่พระ พร้อมกับกล่าวว่าเธอรู้สึกมีความใกล้ชิดกับแม่พระ “ลูกขอมอบความกลัวของลูกไว้กับพระแม่ เพราะว่าพระแม่เองก็มีความรู้สึกเช่นนี้บนเส้นทางสู่เนินเขากัลวารีโอ”

        ในดวงใจขอพระแม่ทรงรับรู้อย่างดีว่าบุตรของพระแม่คงจะหลีกหนีจากความชั่วร้ายของมนุษย์ไปไม่พ้น  แต่พระแม่ก็ไม่ได้ทรงทอดทิ้งพระองค์ พระแม่ทรงยืนเคียงข้างพิศเพ่งไปยังการทรมานของพระองค์ อยู่เป็นเพื่อนกับพระองค์  ข้าพเจ้าคิดว่าพระเยซูคริสต์ทรงมองดวงตาเหล่านั้นเปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา และทรงไม่รู้สึกว่าพระองค์อยู่ตามลำพัง ข้าพเจ้าอยากที่จะทำเช่นเดียวกัน

ภาคที่ห้า ซีมอนชาวไซรีนช่วยพระเยซูคริสต์แบกไม้กางเขน

๕ ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่ห้าเป็นนักโทษคนหนึ่ง เขาพูดว่าเขาหวังที่จะนำความยินดีไปสู่คนบางคนสักวันหนึ่ง “ทุกคนรู้จักซีมอนชาวไซรีน” เขาอธิบาย นั่นอาจเป็นชื่อเล่นของคนอื่นที่ช่วยแบกไม้กางเขนของตนขึ้นไปยังเขากัลวารีโอ เขาอธิบายว่าเพื่อนนักโทษของเขาเป็นซีมอนชาวไซรีนอีกคนหนึ่ง  เขาคือใครบางคนก็ได้ที่นอนตามม้านั่ง เขาไม่มีบ้าน เขาไม่มีสิ่งของใดๆในชีวิต

        ความร่ำรวยของเขามีแค่ขนมกล่องเดียว  เขาชอบของหวาน แต่เขาอยากที่จะให้ข้าพเจ้านำไปมอบให้ภรรยาของขาพเจ้าเมื่อเธอมาเยี่ยมข้าพเจ้า  เธอร้องไห้อย่างหนักทันทีเมื่อสัมผัสพฤติกรรมของสามีอย่างไม่คาดฝัน และหัวใจที่คิดถึงเธอ

ภาคที่หก เวโรนิกาเช็ดพระพักตร์ของพระเยซูคริสต์

๖ ครูสอนคำสอนผู้เขียนบทรำพึงสถานที่หกนี้  เธอเช็ดน้ำตาของหลายคนดุจนางเวโรนิกา “ช่างท่วมท้นหัวใจของคนอกหักชนิดที่ควบคุมตัวเองไม่ได้” เธอกล่าว ในความจริงที่มืดมนแห่งเรือนจำ เธอได้พบกับดวงวิญญาณที่สิ้นหวังมากมายซึ่งเธอพยายามที่จะเข้าใจว่าเหตุใดจึงต้องมีความชั่ว เธอบอกว่าการหาคำตอบนั้นยากมาก  เธอยังถามตนเองว่าพระเยซูคริสต์เช็ดน้ำตาเหล่านั้นอย่างไร ถ้าหากพระองค์มาประทับอยู่ในเรือนจำนี้ พระเยซูคริสต์จะบรรเทาความร้อนอกร้อนใจของบุคคลเหล่านี้อย่างไร ดังนั้นเธอจึงพยายามทำสิ่งที่เธอเชื่อว่าพระเยซูคริสต์จะทรงกระทำอะไรบ้าง เสมือนพระองค์ประทับที่นี่

        ในทำนองเดียวกันกับที่พระเยซูคริสต์ทรงมองมายังความอ่อนแอ และข้อจำกัดของพวกเราด้วยสายพระเนตรที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา  ทุกคนซึ่งรวมถึงบุคคลที่อยู่ภายในเรือนจำ  ด้วยความหวังและมีโอกาสในแต่ละวันที่พวกเขาจะกลับกลายเป็นคนใหม่  ต้องขอบคุณการเฝ้ามองของพระเยซูคริสต์าที่ไม่ทรงพิพากษา ซ้ำเติม แต่ทรงประทานชีวิตและความหวัง

ภาคที่เจ็ด พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สอง

๗ นักโทษผู้หนึ่งเขียนบทรำพึงสถานที่เจ็ดกล่าวว่า บ่อยครั้งเขาเดินผ่านเรือนจำและเคยคิดกับตนเองว่าเขาคงจะไม่มีวัน “พลัดเข้าไปที่นั้น”  และแล้วเขาก็ถูกจับเรื่องค้ายาเสพติด เขาจึงพบว่าตนเองตกอยู่ในสถานที่ซึ่งตนเรียกว่า “สุสานแห่งคนที่ยังมีชีวิต”  เขากล่าวว่าตอนนี้เขาไม่รู้ว่าเขากำลังทำอะไร ชีวิตอยู่ในทิศทางไหน

        ข้าพเจ้าพยายามที่จะสร้างชีวิตของข้าพเจ้าขึ้นมาใหม่โดยอาศัยความช่วยเหลือของพระเจ้า  ข้าพเจ้าเป็นหนี้บุญคุณกับพ่อแม่… และที่สำคัญที่สุด ข้าพเจ้าเป็นหนี้ต่อตนเอง ความคิดที่ว่าปล่อยให้ความชั่วยังคงเป็นตัวนำชีวิตของข้าพเจ้านั้นเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้จริงๆ  นี่คือสิ่งที่กลายเป็นวิธีแห่งมรรคาแห่งไม้กางเขนสำหรับข้าพเจ้า

ภาคที่แปด พระเยซูคริสต์ทรงพบกับสตรีแห่งกรุงเยรูซาเล็ม

๘ ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่แปดนี้ ได้อธิบายว่าทั้งชีวิตของเธอต้องแตกสะบั้นเมื่อคุณพ่อของเธอถูกตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิต  เธอเดินทางไปทั่วประเทศอิตาลีเป็นเวลา 28 ปี ตลอดระยะเวลานั้นได้ติดตามพ่อไป เนื่องพ่อถูกย้ายจากคุกแห่งหนึ่งไปยังสถานกักกันอีกแห่งหนึ่ง  เธอขาดความรักของพ่อและพ่อไม่สามารถมาอยู่ด้วยในวันที่เธอแต่งงาน แล้วเธอก็ต้องพยายามบรรเทาใจแม่ที่เครียดอยู่ตลอดเวลาด้วย

        นี่เป็นความจริงเพราะความรักของพ่อแม่เรียนรู้จักการรอคอยจนกว่าลูกจะโต สำหรับกรณีของข้าพเจ้าในเรื่องความรักแล้ว ข้าพเจ้ารอวันรอคืนเมื่อไรพ่อจะกลับมา สำหรับคนอย่างพวกเราความหวังถือว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องอยู่ในตัว

ภาคที่เก้า พระเยซูคริสต์ทรงหกล้มครั้งที่สาม

๙ ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่เก้า โดยเขารับรู้ว่าหลายครั้งเขาหกล้ม และเขาก็ลุกขึ้นหลายครั้ง  เฉกเช่นเปโตรพยายามได้หาข้อแก้ตัวพันแปดต่างๆนานา เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับความผิดของตนเอง

        นี่เป็นความจริงที่ชีวิตข้าพเจ้าต้องแตกกระจุยกระจายเป็นพันชิ้น แต่สิ่งที่น่าอัศจรรย์คือชิ้นส่วนเหล่านั้นยังสามารถนำปะติดปะต่อกันได้ แม้ว่าไม่ใช่เรื่องง่าย แต่นี่คือหนทางเดียวที่ทำให้ชีวิตมีความหมายในที่นี้

ภาคที่สิบ พระเยซูคริสต์ถูกเปลื้องอาภรณ์

ผู้เขียนบทรำพึงสถานที่สิบเป็นครูสอนนักโทษ เช่นเดียวกับที่พระเยซูคริสต์ถูกเปลื้องอาภรณ์ออก  เขาเห็นนักเรียนของเขาหลายคน “ปลดเปลื้องศักดิ์ศรีทุกอย่างของตนออกไป… ไม่เคารพตนเองและผู้อื่น” ที่อยู่ในเรือนจำ พวกเขาหมดหนทางที่จะช่วย พวกเขาสิ้นหวัง ท้อแท้เพราะความอ่อนแอ บ่อยครั้งบรรดานักโทษไม่สามารถที่จะเข้าใจความผิดที่ตนเองกระทำ  แต่บางครั้งพวกเขาก็เป็นเหมือนทารกเกิดใหม่ที่พวกเราสามารถสอนพวกเขาได้

แม้ข้าพเจ้าจะชอบงานนี้ บางครั้งข้าพเจ้าก็ต้องพยายามหาพลังที่จะสู้ทำต่อไปให้สำเร็จ  ในการรับใช้ที่มีความรู้สึกอ่อนไหว  พวกเราจำเป็นต้องรู้สึกว่าพวกเราจะไม่ถูกทอดทิ้งเพื่อจะสามารถสนับสนุนรักษาอีกหลายชีวิตที่ถูกมอบให้กับพวกเรา นักโทษเป็นชีวิตที่แต่ละวันเสี่ยงที่จะพินาศไป

ภาคที่สิบเอ็ด พระเยซูคริสต์ถูกตอกตะปูตรึงบนไม้กางเขน

ผู้เขียนบทรำพึงที่สิบเอ็ดเป็นบาดหลวงองค์หนึ่งที่ถูกใส่ร้าย ท่านถูกใส่ความ และกล่าวหาเท็จเรื่องการล่วงละเมิด ถูกขังคุกแบบไม่มีความผิด และต่อมาศาลตัดสินยกฟ้องคดี  นี่คือ “มรรคาแห่งไม้กางเขน” ของเขาซึ่งยืดเยื้อเป็นเวลา 10 ปี ในช่วงเวลานี้เขาถูกระงับหน้าที่ฐานะศาสนบริกร ท่านถูกกล่าวหา ถูกเหยียดหยาม ถูกประณามมากมาย  โชคดีที่เขากลายเป็นอีกตำนานหนึ่งของซีมอน ชาวไซรีนซึ่งช่วยให้เขาสามารถแบกน้ำหนักแห่งไม้กางเขนได้ “พร้อมกับข้าพเจ้า พวกเขาช่วยกันสวดภาวนาสำหรับชายหนุ่มที่กล่าวหาเท็จใส่ร้ายข้าพเจ้า” เขากล่าว

วันที่ข้าพเจ้าได้รับการปล่อยตัวข้าพเจ้ารู้สึกดีใจมากว่าตลอดเวลา 10 ปีที่แล้ว ข้าพเจ้าได้สัมผัสกับพระเจ้าโดยตรงผู้ซึ่งทำงานในตัวข้าพเจ้า เมื่อถูกแขวนอยู่บนไม้กางเขน ข้าพเจ้าได้ค้นพบความหมายแท้จริงของแห่งความเป็นบาดหลวงศาสนบริกรของข้าพเจ้า

ภาคที่สิบสอง พระเยซูคริสต์สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน

ผู้เขียนบทรำพึงที่สิบสองเป็นผู้พิพากษาศาล เขากล่าวว่า ไม่มีผู้พิพากษาคนไหนสามารถ “เอาคนไปตรึงบนไม้กางเขนได้… เพื่อรับโทษตามคำพิพากษา  ความยุติธรรมแท้จริงจะเป็นไปได้ก็ต้องอาศัยความเมตตาด้วย” เขากล่าว ความเมตตาจะช่วยให้ชีวิตของเราพบกับความดีงามอันไม่มีวันจะทำให้เรื่องราวจบสิ้นไปโดยสิ้นเชิง  แม้ว่าผู้ต้องหาจะกระทำความผิดทุกอย่าง  เพื่อจะทำเช่นนี้ได้เราต้อง “รับรู้ถึงบุคคลที่แอบซ่อนอยู่เบื้องหลังความผิดหรือผู้บงการนั่นเอง” เขากล่าว

ในกระบวนการตัดสินคดีความนี้ บางครั้งดูจะเป็นไปได้ที่จะได้ลิ้มรสขอบฟ้าที่สามารถมอบความหวังในบุคคลนั้น และเมื่อได้รับใช้โทษทัณฑ์นั้นแล้ว  เขาก็จะกลับไปสู่สังคมและหวังว่าผู้คนจะให้การต้อนรับเขาหลังจากที่เคยปฏิเสธเขา  สำหรับเราทุกคนแม้ผู้ที่เคยต้องโทษอาชญากรรมล้วนเป็นบุตรแห่งครอบครัวมนุษย์เดียวกัน

ภาคที่สิบสาม พระเยซูคริสต์ถูกนำร่างกายลงจากไม้กางเขน

“นักโทษจะเป็นครูสอนข้าพเจ้าเสมอ” เขาเป็นภราดาเดอร์นักบวชคนหนึ่งที่ได้เขียนบทรำพึงสถานที่สิบสาม  เขาเป็นอาสาสมัครทำงานรับใช้ในเรือนจำเป็นเวลา 60 ปี “บ่อยครั้งพวกเราคริสตชนมักจะหลอกตัวเองว่าพวกเราเป็นคนดีกว่าคนอื่น”  เขากล่าว  ในชีวิตของพระเยซูคริสต์  พระองค์ทรงพอใจเลือกที่จะอยู่เคียงข้างบุคคลที่ต่ำต้อยที่สุด “เมื่อผ่านเรือนจำแต่ละแห่งข้าพเจ้าเห็นแต่ความตาย ของผู้ที่ผู้มีชีวิตอยู่ข้างใน” เขากล่าว แต่พระเยซูคริสต์ทรงบอกให้เขาทำงานนี้ต่อไป เพื่อที่จะนำพี่น้องนักโทษไปอยู่ในอ้อมแขนของพระองค์อีกครั้งหนึ่ง  ดังนั้นเขาจึงหยุดแล้วฟังเสียงของพระองค์

นี่เป็นวิธีเดียวที่ข้าพเจ้าทราบในการที่จะยอมรับบุคคลผู้นั้นพร้อมกับหันสายตาออกไปจากความผิดที่เขาเคยกระทำ มีแต่วิธีนี้เท่านั้นที่พวกเราสามารถไว้ใจและได้รับพลังคืนมาเพื่อจะยอมจำนนต่อความดีงามของพระเจ้าและเห็นตัวเองที่แตกต่างอย่างมาก

ภาคที่สิบสี่ พระเยซูคริสต์ถูกนำไปเก็บไว้ในคูหา

เจ้าหน้าที่เรือนจำคนหนึ่งเป็นผู้เขียนบทรำพึงสุดท้ายสำหรับการเดินรูป 14 ภาคของปีนี้ ด้วยดวงตาของเขาฐานะผู้ควบคุมนักโทษ ทุกวันเขาเห็นความทุกข์ของผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ “คนดีก็อาจกลายเป็นคนโหดร้าย และคนชั่วร้ายก็อาจกลายเป็นคนที่ดีกว่าได้” เขากล่าว  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน เจ้าหน้าที่ผู้คุมนักโทษกล่าวเพิ่มว่า คุกหรือเรือนจำทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไป  โดยส่วนตัวแล้วเขาตั้งใจให้โอกาสเสมอกับผู้ที่ได้เลือกกระทำสิ่งที่ผิดๆ ให้โอกาสนักโทษได้แก้ตัวใหม่

ข้าพเจ้าทำงานหนักเพื่อรักษาไว้ซึ่งความหวังให้มีชีวิตในคนที่ถูกปล่อยให้ต้องอยู่ตามลำพัง ในความหวาดกลัว แล้วคิดว่าวันหนึ่งเขาคงได้ออกจากเรือนจำนี้  แล้วสังคมก็ไม่ยอมรับเขาอีก ในเรือนจำข้าพเจ้าเตือนใจเขาว่า พร้อมกับพระเจ้าแล้วไม่มีบาปใดที่จะเป็นมีอำนาจเหนือเรา พระเจ้าเท่านั้นพิชิตทุกอย่าง

© Deborah Castellano Lubov
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทรำพึงมรรคาศักดิ์สิทธิ์นี้มาแบ่งปันและไตร่ตรอง)