ตามลำคลองที่เน่าเหม็นแต่ว่าซ่อนตัวพ้นจากสายตาผู้คนนั้นมีชุมชนที่ประกอบด้วยครอบครัวคาทอลิกและโปรเตสแตนท์ที่ยากจนแต่ว่าอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืนสงบสุข พวกเขาทำงานที่มีรายได้ไม่แน่นอนเพื่อค้ำจุนครอบครัวของตน ส่วนมากเป็นชาวลาหู่ที่เกิดในประเทศไทย รวมถึงมีชาวอาข่าจำนวนหนึ่งและแรงงานที่อพยพมาจากประเทศเมียนมาร์ พวกเขาต่อสู้ดิ้นรนทุกๆวันเพื่อทำให้วันนั้นจบลงได้
ชุมชนนี้อยู่ใกล้ถนนศรีปิงเมืองที่พวกเราไปทำการเฉลิมฉลองวันแห่งความยากจนโลก พระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปา ฟรังซิสเมื่อวันที่ 18พฤศจิกายนนี้ ตรัสถึงหัวข้อ “คนยากจนร้องทูลพระยาห์เวห์ก็ทรงฟัง” (สดุดี 34:6) และเพื่อเป็นการสนองตอบกับพระดำรัสของพระองค์ เยาวชนและผู้ใหญ่ของคณะโฟโคลาเรจึงได้จัดกิจกรรมสำหรับเด็กๆในห้องชั้นสองของชุมชนที่พวกเขาใช้สำหรับสวดภาวนาและจัดประชุม
สมเด็จพระสันตะปาปาทรงตรัสว่า “คำตอบของพระเจ้าสำหรับคนยากจนคือกิจการที่ช่วยพวกเขาให้รอดซึ่งสมานรอยบาดแผลของร่างกายและจิตวิญญาณ” พวกเราพยายามที่จะแจกจ่ายอาหารทั้งฝ่ายกายและฝ่ายจิตให้กับพวกเขา สำหรับความหิวกระหายฝ่ายจิต พวกเรามอบพระวาจาทรงชีวิตและสอน “ศิลปะแห่งการรัก” โดยใช้ลูกเต๋าแห่งความรัก พระวาจาทรงชีวิตนั้นพวกเขาสามารถนำไปปฏิบัติได้แม้แต่ในเรื่องที่เล็กน้อยรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่กระทำไปด้วยความรัก สำหรับความหิวกระหายฝ่ายร่างกาย พวกเราแบ่งปันขนมจีนน้ำเงี้ยวจำนวนมากให้แก่เด็กๆและผู้ใหญ่ รวมถึงนมให้แก่เด็กทุกคนและชายหนุ่มพิการ เราสังเกตเห็นว่าเด็กๆหลายคนไม่ได้ใส่รองเท้าเมื่อเดินไปรอบ ๆ บริเวณนี้พวกเราจึงแจกรองเท้าแตะให้เด็กทุกคนรวมถึงบรรดาคุณแม่ด้วย
พวกเรามีความสุขที่ได้รับโอกาสในการทำกิจกรรมเพื่อตอบสนองต่อเสียงร้องของผู้ที่มีความจำเป็นต้องการด้วยการแบ่งปันซึ่งถึงแม้ว่าจะเพียงน้อยนิดก็ตาม ความหวังของเราก็คือการที่สามารถทำให้ผู้อื่นได้รู้สึกถึงความรักของพระเจ้าที่ทรงมีต่อพวกเขาในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงนั้น ประสบการณ์ของเราสรุปด้วยพระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปาว่า “อาจจะเหมือนกับหยดน้ำในทะเลทรายแห่งความยากจน แต่ว่าหยดน้ำนี้สามารถรับใช้เราเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการแบ่งปันกับผู้ที่มีความจำเป็นต้องการ และทำให้พวกเขามีความรู้สึกสัมผัสได้ถึงการมีพี่น้องชายหญิงที่อยู่กับพวกเขา”