Skip to content

ทูตสวรรค์ผู้อารักขาเป็นใคร?
น่าจะมี 8สิ่งด้วยกันที่เราต้องทราบและแบ่งปันกันเกี่ยวกับทูตสวรรค์ผู้อารักขา

วันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2018

ในเชิงเทวศาสตร์เป็นที่เชื่อกันอย่างแน่นอนว่าสมาชิกทุกคนแห่งชุมชนความเชื่อมีทูตสวรรค์ผู้อารักขาประจำตัว ตั้งแต่เวลาที่ได้รับศีลล้างบาป

ในจารีตพิธีกรรมของศาสนาคริสต์คาทอลิกของวันที่ 2 ตุลาคม ทุกๆปี เป็นวันรำลึกถึงทูตสวรรค์ผู้อารักขา

ต่อไปนี้น่าจะเป็น 8 สิ่งที่เราควรทราบและนำมาแบ่งปันกันเกี่ยวกับทูตสวรรค์ผู้อารักขาที่เราทำการฉลองกันในวันนี้

1.ทูตสวรรค์ผู้อารักขาเป็นใคร?

ทูตสวรรค์ผู้อารักขาเป็นสภาวะจิต ถูกสร้างจากพระเจ้า ไม่ใช่มนุษย์ อยู่ในสภาวะที่ไม่มีร่างกาย ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้อารักขาบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยบุคคลนั้นๆให้หลีกเลี่ยงอันตรายฝ่ายจิตและได้รับความรอด

ทูตสวรรค์อาจช่วยเราให้พ้นจากอันตรายฝ่ายกายได้ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากจะเป็นการช่วยให้เขาได้รอดไปสวรรค์ บางคนบอกว่ารู้สึกสังหรณ์ใจ เหมือนมีเสียงอะไรมาบอก ทำให้สถานการณ์แห่งความเสี่ยงเปลี่ยนไปในทางที่ดี

2.เราจะพบทูตสวรรค์ด้วยการอ่านพระคัมภีร์ได้จากที่ใดบ้าง?

เราจะพบทูตสวรรค์ด้วยการอ่านพระคัมภีร์ในหลายโอกาส  แต่มีบางกรณีที่เราจะพบทูตสวรรค์ทำหน้าที่ให้การคุ้มครองตลอดระยะเวลาหนึ่ง

ในหนังสือโทบิต ทูตสววรรค์ราฟาแอลถูกกำหนดให้ให้ทำพันธกิจในการช่วยบุตรของโทบิต (และครอบครัวของเขา) เป็นเวลานาน

ในหนังสือดาเนียล ทูตสวรรค์มีคาแอลได้รับการอธิบายว่าเป็น “เจ้าชายผู้ยิ่งใหญ่ซึ่งทำหน้าที่ดูแลประชากรของดาเนียล” (ดนล. 12: 1) ดังนั้นท่านจึงถูกถือว่าเป็นทูตสวรรค์อารักขาชนชาติอิสราเอล

ในพระวรสารพระเยซูทรงแสดงให้เห็นว่ามีทูตสวรรค์ผู้อารักขาสำหรับแต่ละบุคคลรวมถึงเด็กๆด้วย  พะองค์ตรัสว่า”

จงระวังให้ดี อย่าดูหมื่นคนธรรมดาๆเหล่านี้เลย เราบอกท่านทั้งหลายว่า ตลอดเวลาในสวรรค์ทูตสวรรค๋ของเขาเฝ้าชมพระพักตร์พระบิดาของเราผู้สถิตในสวรรค์(มธ. 18: 10)

3.พระเยซูทรงหมายความว่าอะไรเมื่อพระองค์ตรัสว่าทูตสวรรค์เหล่านี้ “ยึดมั่นเสมอ” ในความจริงของพระบิดา?

นี่อาจหมายความว่าทูตสวรรค์เหล่านั้นยืนอยู่ในสวรรค์คอยรายงานสิ่งที่จำเป็นในหน้าที่ของพวกเขาต่อพระองค์

หรืออีกทางหนึ่งจากความคิดที่ว่าทูตสวรรค์คือผู้นำสาร (กรีก angelos= “ผู้นำสาร”)  ในราชสำนักสวรรค์ อาจหมายความว่าเมื่อใดที่ทูตสวรรค์เหล่านี้ต้องการเข้าราชสำนักสวรรค์ พวกเขาจะได้รับอนุญาตเสมอและได้รับอนุญาตให้รายงานต่อพระเจ้าถึงการปฏิบัติงานของตน

4.พระศาสนจักรสอนว่าอย่างไรบ้างเกี่ยวกับทูตสวรรค์ผู้อารักขา?

      ตามคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก:ตั้งแต่เกิดจนตายชีวิตมนุษย์ถูกห้อมล้อมด้วยการเอาใจใส่ดูแลและการทูนขอจากทูตสวรรค์

ตั้งแต่เวลาที่เขาผู้นั้นได้รับศีลล้างบาป  ข้างกายของแต่ละคนทูตสวรรค์จะยืนอยู่เคียงข้างคอยพิทักษ์ปกป้องดูแลนำเขาไปสู่ชีวิตนิรันดร์ ตั้งแต่ในโลกนี้ชีวิตคริสตชนมีความเชื่อในการอยู่เป็นเพื่อนของทูตสวรรค์และทำให้มนุษย์เป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้า [CCC 336]

5.ใครบ้างที่มีทูตสวรรค์ผู้อารักขา?

      เราเชื่อถือได้อย่างแน่นอนทางเทวศาสตร์ว่าผู้ที่มีความเชื่อแต่ละคนมีทูตสวรรค์อารักขาพิเศษตั้งแต่เวลาที่ได้รับศีลล้างบาป

ความคิดนี้สะท้อนให้เห็นในหนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคทอลิกด้วยซึ่งพูดถึงผู้มีความเชื่อแต่ละคนว่ามีทูตสวรรค์อารักขา

แม้จะแน่นอนว่าสัตบุรุษทุกคนมีเทาวทูตอารักขา แต่มีความคิดทั่วไปที่กว้างกว่านั้นอีก ลุดวิก โอท(Ludwig Ott)อธิบายว่าตามคำสอนทั่วไปของนักเทวศาสตร์ไม่เพียงแต่ผู้ที่ได้รับศีลล้างบาปเท่านั้นแต่มนุษย์ทุกคนแม้ไม่มีความเชื่อต่างก็มีทูตสวรรค์ผู้อารักขาตั้งแต่เกิด (Fundamentals of Catholic Dogma, 120)

ความเข้าใจเช่นนี้สะท้อนให้เห็นในคำปราศรัยช่วงที่มีการสวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าวโดยพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16ที่ตรัสว่า:

พี่น้องที่รักทั้งหลาย  พระเจ้าทรงใกล้ชิดและกระทำการอยู่อย่างเข้มแข็งในประวัติศาสตร์มนุษย์  พระองค์ทรงติดตามเราอย่างใกล้ชิดพร้อมกับทูตสวรรค์ของพระองค์ ซึ่งทุกวันนี้พระศาสนจักรให้ความเคารพในฐานะที่เป็น “ทูตสวรรค์ผู้อารักขา”  กล่าวคือ เป็นสังฆกรแห่งการเอาใจใส่ดูแลของพระเจ้าสำหรับมนุษย์ทุกคน  ตั้งแต่เกิดจนเวลาที่เราตายชีวิตมนุษย์ ซึ่งถูกห้อมล้อมด้วยการพิทักษ์คุ้มครองเสมอของพวกทูตสวรรค์เหล่านั้น [Angelus, Oct., 2, 2011]

5.เราจะขอบคุณท่านเหล่านั้นสำหรับความช่วยเหลือต่างๆได้อย่างไร?

สมณกระทรวงเพื่อการนมัสการพระเจ้าและศีลศักดิ์สิทธิ์อธิบายว่า:

ความศรัทธาต่อทูตสวรรค์ผู้ศักดิ์สิทธิ์ก่อให้เกิดรูปแบบชีวิตคริสตชนบางอย่าง ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้:

  • กตัญญูด้วยความศรัทธาต่อพระเจ้าผู้ทรงประทานจิตสวรรค์ที่ศักดิ์สิทธิ์และมีศักดิ์ศรียิ่งใหญ่มาคอยรับใช้มนุษย์
  • ทัศนคติแห่งความศรัทธาอันเกิดจากความเข้าใจที่ตนกำลังดำเนินชีวิตท่ามกลางทูตสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าอยู่เสมอ จึงมีความสงบสุขุมและความมั่นใจในการเผชิญหน้ากับความยากลำบาก เพราะพระเจ้าทรงชี้นำและคุ้มครองสัตบุรุษในหนทางแห่งความยุติธรรมโดยอาศัยพันธกิจแห่งทูตสวรรค์ศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์  ในบรรดาบทสวดต่อทูตสวรรค์ผู้อารักขา บททูตสวรรค์ของพระเจ้า(Angele Dei)ดูจะเป็นที่นิยมกันเป็นพิเศษ บ่อยครั้งครอบครัวจะใช้สวดกันในการสวดภาวนาเช้าเย็นหรือตอนที่สวดบททูตสวรรค์แจ้งข่าว[Directory on Popular Piety and the Liturgy, 261]

6.บทสวดทูตสวรรค์ของพระเจ้า(Angele Dei)เป็นอย่างไร?

แปลจากภาษาลาตินเป็นอังกฤษแล้วแปลเป็นภาษาไทยได้ความว่าอย่างนี้:

ข้าแต่ทูตสวรรค์ของพระเจ้า

        ทูตสวรรค์ผู้อารักขาที่รักของข้าพเจ้า

ผู้ที่ความรักของพระเจ้าทรงส่งมาคอยพิทักษ์ข้าพเจ้า

ในวันนี้โปรดอยู่เคียงข้างข้าพเจ้า

เพื่อประทานความสว่าง ปกป้อง

ปกครอง และชี้นำข้าพเจ้าด้วยเทอญ

อาแมน

 

ภาวนาบทนี้มีความเหมาะสมเป็นพิเศษสำหรับความศรัทธาต่อทูตสวรรค์ผู้อารักขา เพราะเป็นการภาวนาตรงต่อทูตสวรรค์ผู้อารักขาของตนเอง

มีอะไรบ้างที่ต้องระวังในการแสดงความเคารพต่อทูตสวรรค์?

สมณกระทรวงฯ แถลงว่า:

ความศรัทธาประชานิยมต่อทูตสวรรค์ซึ่งเป็นสิ่งชอบธรรมและเป็นสิ่งดี ขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดการหลงผิดได้

  • บางครั้งอาจเกิดขึ้นได้เมื่อสัตบุรุษเกิดมีความคิดว่าโลกขึ้นอยู่กับการต่อสู้ของภูตผีปิศาจ หรือการต่อสู้กันไม่มีวันสิ้นสุดระหว่างความดีกับความชั่วหรือระหว่างทูตสวรรค์กับปิศาจซึ่งมนุษย์เราขึ้นอยู่กับอำนาจเหนือธรรมชาติแล้วเราก็ช่วยเหลืออะไรไม่ได้  ความคิดดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันน้อยมากกับพระวรสารที่แท้จริงเกี่ยวกับทัศนวิสัยในการเอาชนะต่อปิศาจซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับพระวรสารซึ่งเรียกร้องให้เราปฏิบัติตามกฎแห่งศีลธรรม ความสุภาพ และการสวดภาวนา
  • เมื่อเหตุการณ์ประจำวันแห่งชีวิตซึ่งไม่มีอะไรหรือมีเพียงนิดหน่อยเกี่ยวกับความเจริญก้าวหน้าในวุฒิภาวะในการเดินทางสู่พระคริสตเจ้านั้นเป็นการกระทำที่เป็นระบบหรือทำกันแบบง่ายๆธรรมดาแบบเด็กๆเพื่อที่จะโยนความไม่ถูกต้องต่างๆให้กับปิศาจและความสำเร็จทุกอย่างให้กับทูตสวรรค์ผู้อารักขา {op. cit., 217]

เราควรตั้งชื่อให้กับทูตสวรรค์ผู้อารักขาเราหรือไม่?

สมณกระทรวงฯ แถลงว่า:

แท้จริงแล้วไม่ควรส่งเสริมให้มีการตั้งชื่อทูตสวรรค์ผู้อารักขา ยกเว้นในกรณีของ คาเบรียล ราฟาแอล และมีคาแอล ซึ่งชื่อเหล่านี้ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์ แต่บางคนก็ตั้งชื่อให้ท่านแบบความสัมพันธ์ส่วนตัว แต่สมณกระทรวงฯ ไม่ได้สนับสนุนเรื่องนี้ เพียวแต่เคารพท่านที่เป็นผูพิทักษ์คุ้มครองเรา เราแสดงความกตัญญูต่อท่าน และสนทนากับท่าน[Ibid.]

 

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทความนี้มาเพื่อการไตร่ตรอง)