Skip to content

ประเทศจีนและบิชอป: เหตุใดจึงเป็นเรื่องใหญ่?

Pope Francis and bishops gathered in the Synod Hall

เพื่อการก้าวเดินไปสู่เส้นทางแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์และให้ความน่าเชื่อถือต่อชีวิตแห่งชุมชนความเชื่อของพี่น้องชาวจีนเราต้องมาพิจารณากันว่าอะไรที่ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวกัน จากจุดนี้เราจึงจะมีพลังที่จะเอาชนะสิ่งที่ทำให้เราแตกแยก เราต้องขอให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบางกรณีที่เราเห็นว่ายังเป็นจุดอ่อน

ด้วยว่าเกิดมีหลายปัญหาเกี่ยวกับชีวิตของพระศาสนจักรในประเทศจีน  ในการเจรจากันระหว่างสันตะสำนัก นครรัฐวาติกัน และเจ้าหน้าที่บ้านเมืองของประเทศจีน มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมาก กล่าวคือ การแต่งตั้งบิชอป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการคัดเลือกผู้ที่จะเป็นบิชอป(Bishops) รวมถึงวิธีการแต่งตั้งในส่วนที่เป็นอำนาจของพระสันตะปาปา

แน่นอนว่ามีอีกหลายปัญหาเกี่ยวกับประเด็นนี้เช่น การยอมรับของประชาชนต่ออะไรที่เรียกว่า “พระศาสนจักรใต้ดิน”  ความถูกต้องตามกฎหมายของบิชอปที่ได้รับการบวชที่ไม่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา สภาบิชอปของประเทศจีน กับการกำหนดเขตการปกครองใหม่ของสังฆมณฑล ฯลฯ  ปัญหาเหล่านี้ควรเป็นเรื่องที่จะต้องเอามาศึกษาและเสวนากันต่อไป

ในจดหมายของพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ถึงพระศาสนจักรในประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ.2007  อธิบายว่าเพราะเหตุใดเรื่องการแต่งตั้งบิชอปจึงมีความสำคัญ:

เป็นที่ทราบกันดีว่าความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างล้ำลีกซึ่งผูกมัดพระศาสนจักรในประเทศจีนเข้าไว้ด้วยกันซึ่งทำให้พวกเขาเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างใกล้ชิดกับพระศาสนจักรอื่นๆทั่วโลกนั้นมีฐานรากไม่เฉพาะแต่ในความเชื่อและในศีลล้างบาปที่เหมือนกันเท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือในศีลมหาสนิทและในสังฆภาพบิชอป  เช่นเดียวกันความเป็นหนึ่งเดียวกันของบรรดาบิชอปซึ่งมี “พระสันตะปาปาผู้สืบทอดตำแหน่งจากนักบุญเปโตรเป็นหัวหน้าบรรดาอัครสาวกซึ่งเป็นรากฐานถาวรที่มองเห็นได้นั้น” สืบทอดติดต่อกันมานานนับหลายศตวรรษด้วยการสืบทอดตำแหน่งซึ่งเป็นฐานรากแห่งความเป็นอัตลักษณ์ของพระศาสนจักรในทุกยุคทุกสมัยซึ่งสร้างขึ้นโดยพระคริสตเจ้าโดยอาศัยนักบุญเปโตรและอัครสาวกอื่นๆ

        ทุกวันนี้ไม่มีผู้ใดสงสัยเลยว่าคาทอลิกในประเทศจีนมีความเชื่อเดียวกัน ศีลล้างบาปเดียวกัน ศีลมหาสนิทที่ถูกต้องและบิชอปที่สืบทอดอำนาจจากอัครสาวกด้วยว่าพระศาสนจักรในประเทศจีนต้องประสบกับปัญหา ความยากลำบาก และความกังวลมากมาย  ต้องอดทนกับความแตกแยก และทุกข์กับบาดแผลและการแตกแยก แต่นี่ไม่ได้เกิดขึ้นในระดับศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีความถูกต้องเสมอในพื้นฐานหลัก และด้วยว่าสิ่งต่างๆเกิดขึ้นในระดับภายนอก ในระดับความสัมพันธ์ฉันพี่น้องและในหนทางแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ระดับเหล่านี้มีความสำคัญยิ่งสำหรับชีวิตในประสบการณ์ของความเชื่อ ความรัก รวมถึงประสิทธิภาพในพันธกิจและการดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยานร่วมกันในโลก

        ทุกคนล้วนตระหนักดีว่า ณ จุดใดจุดหนึ่งหรือเวลาใดเวลาหนึ่งในหัวใจแห่งพระศาสนจักรในประเทศจีนนั้น ประเด็นนี้ได้ก่อให้เกิดวิกฤตที่นำไปสู่การสร้างสองชุมชนใหญ่ในหลายสังฆมณฑลที่ถูกเรียกว่า “พระศาสนจักรใต้ดิน”เป็นฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งถูกเรียกว่าพระศาสนจักร “ทางการ” หรือ “รักชาติ” ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีผู้อภิบาล (สังฆราขและบาทหลวง) ของตน  วิกฤตนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะการเลือกภายในของพระศาสนจักร แต่เป็นเพราะสภาพสิ่งแวดล้อมที่มีธรรมขาติโครงสร้างทางการเมือง

        ในช่วงของประวัติศาสตร์สองพันปีที่ผ่านมา บ่อยครั้งพระศาสนจักรคาทอลิกแพ้ต่อการประจญที่แบ่งแยกตนเอง และเหตุผลของการแตกแยกนั้นมีต่างๆนานาร้อยแปด สิ่งแวดล้อมชัดเจนอันนำไปสู่การสร้างสองชุมชนในประเทศจีนไม่เกี่ยวกับข้อความเชื่อและคำสอนด้านจริยธรรมในศตวรรษที่ 16 โดยตรงเฉกเช่นพระศาสนจักรในยุคต้นๆและยุคต่อๆมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป  และก็มิใช่เกิดจากลักษณะของจารีตพิธีกรรมหรือมิติของกฎหมายเฉกเช่นที่เกิดขึ้นในสหัสวรรษที่หนึ่งและที่สอง

        สิ่งแวดล้อมชัดเจนในประเทศจีนคือมิติของการเมืองและเป็นสิ่งที่เกิดจากภายนอก  หากเราไม่มัวแต่จะไปคิดถึงเกี่ยวกับความรับผิดชอบในอดีต เราควรจะถามว่าพระศาสนจักรในประเทศจีนควรที่จะพิจารณาไตร่ตรองถึงเหตุการณ์ปัจจุบันและพันธกิจในโลกด้วยรูปแบบใหม่ในทุกเวลาและทุกสถานที่ไหม?    ประเด็นนี้น่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับผนึกเหตุการณ์ต่างๆเข้าไว้ด้วยกันที่ปรากฏอยู่ในพระศาสนจักรทุกยุคทุกสถานที่ ซึ่งหมายถึงแนวโน้มที่จะ “มองแต่ตัวตนเอง” ซึ่งหากละเลยไปก็อาจนำไปสู่ซึ่งโลกียวิสัยได้ รวมถึงแนวโน้มที่มองแต่ชีวิตจิตที่หากคิดแต่ประเด็นนี้ด้านเดียวก็อาจนำไปสู่แนวคิดที่เป็นเพียงนามธรรม  ต้องพิจารณาสองประเด็นนี้ควบคู่กันไป ต้องพาดพิงกัน เข้าใจกัน เดินไปด้วยกัน เพื่อความดีของพระศาสนจักรและการประกาศพระวรสาร

        ด้วยว่าเหนือจิตสำนึกฝ่ายจิตต่างๆ แน่นอนว่ามีการเลือกที่เป็นรูปธรรมด้วยที่กระทำบนพื้นฐานของมาตรการที่เป็นรูปธรรมต่างๆในการดำเนินชีวิตตามคุณค่าที่มีความสำคัญ เช่น ความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระสันตะปาปา การเป็นประจักษ์พยานแห่งพระวรสาร การเอาใจใส่ต่อความดีของพระศาสนจักรและดวงวิญญาณ  ดังนั้นในมิติหลายอย่างเหล่านี้เป็นไปได้ที่เราจะช่วยกันหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อที่จะเอาชนะต่อจุดยืนที่แตกต่างและหันกลับมามีประสบการณ์แห่งความเป็นปกติของพระศาสนจักรได้มากยิ่งขึ้น

สิ่งที่แน่นอนคือ ท่ามกลางสภาพแห่งการแตกแยกของพระศาสนจักรในประเทศจีน ทุกคนต้องรับทุกข์ หรือพบว่าตนเองมีความไม่สบายใจ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในพระศาสนจักร  ชุมชนความเชื่อของคริสตชน ซึ่งบางทีอาจเป็นภาครัฐเองด้วยซ้ำ  ความที่ยังไม่เข้าใจหรือการเข้าใจผิดไม่เกิดประโยชน์เลย  ในฐานะคาทอลิกที่ต้องก้าวหน้าต่อไปทั้งๆที่มีจำนวนน้อย ผนวกกับการแตกแยกออกเป็นสองฝ่ายที่ปราศจากซึ่งคุณค่าและความรักที่เพียงพออันจะทำให้การแสวงหาการคืนดีกันยังแต่จะเพิ่มความทุกข์ให้ทวีมากยิ่งขึ้นไปอีก  สิ่งสำคัญต้องเป็นความรักจากภายในชุมชนเองที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่าพระเยซูคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา

ในบริบทนี้เป็นที่เข้าใจกันว่าการแต่งตั้งบิชอปโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็นเอกภาพของพวกเขาจึงเป็นปัญหาวิกฤต เพราะว่านี่คือหัวใจของพระศาสนจักรในประเทศจีน  เพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวกันต้องเอาชนะต่อปัญหาหลายประการ ปัญหาประการแรกคือ “สถานการณ์พิเศษในประเทศจีน”  ที่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองควบคุมชีวิตและพันธกิจของบิชอปในหลากหลายรูปแบบ ในมุมมองหนึ่งคือสิ่งนี้ทำให้บิชอปได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและได้รับการบวชโดยปราศจากซึ่งพระบัญชาของพระสันตะปาปา (กล่าวคือ ไม่ได้รับอนุญาตจากพระสันตะปาปา ผู้เป็นหัวหน้าบรรดาอัครสาวก)  ส่วนในอีกมุมมองหนึ่งนั้น บิชอปที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาแต่ภาครัฐไม่ยอมรับ สภาพการณ์ยุ่งยากนี้ไม่อาจแก้ไขได้เลย  ยกเว้นโดยการเริ่มสร้างทางใหม่สองประการอย่างชัดเจนซึ่งนำไปสู่การทำทุกสิ่งให้เป็นไปตามกฎของพระศาสนจักรและเป็นที่ยอมรับของทางการ

เพราะฉะนั้นการแสวงหาข้อตกลงระหว่างพระศาสนจักรกับเจ้าหนน้าที่ด้านการเมืองเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้แม้ว่าจะไม่ครบครันจึงเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วนยิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายต่อไป ด้วยเหตุนี้การกระทำของพระสันตะปาปาทั้งสามประองค์จึงขับเคลื่อนไปในแนวทางนี้ คือส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกันของชุมชน ช่วยบิชอปที่ “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ให้มาเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์  ในขณะเดียวกันก็สนับสนุนความซื่อสัตย์ของบิชอปเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น “พระศาสนจักรทางการ” หรือ “พระศาสนจักรใต้ดิน” ซึ่งมีความเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่แล้ว  ในที่สุดพวกเขาอยากที่จะทำการเดินทางไปสู่ความจริงแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระศาสนจักรในการดำเนินชีวิตแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกันอย่างสมบูรณ์

ในการตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพการณ์แห่งพระศาสนจักรในประเทศจีน พระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 ทรงตอบดังนี้ว่า:

ปัจจัยหลายอย่างเอื้อต่อการพัฒนาไปในทางที่ดีสำหรับพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศจีน ในด้านหนึ่งความปรารถนาร้อนรนที่จะเป็นหนึ่งเดียวกับพระสันตะปาปาไม่เคยขาดหายไปในบรรดาบิชอปที่ได้รับการบวชอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมาย สิ่งนี้ทำให้เป็นไปได้สำหรับพวกเขาทุกคนที่จะเข้าสู่หนทางแห่งความเป็นหนึ่งเดียวกัน  ซึ่งเป็นกระบวนการที่เราจำต้องร่วมเดินทางไปกับพวกเขาด้วยความเพียรและทำงานร่วมกันกับเขาแบบตัวต่อตัว  การมีจิตตารมยณ์แบบคาทอลิกพื้นฐานในพวกเขาที่บอกกับพวกเขาว่าผู้ใดจะเป็นบิชอปที่แท้จริงได้ก็ต่อเมื่อเขาผู้นั้นอยู่ในความเป็นหนึ่งเดียวกัน ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้นบิชอปที่ได้รับการบวชอย่างลับๆที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากภาครัฐขณะนี้สามารถได้ประโยชน์จากความจริงที่ว่า แม้จะเป็นด้วยเหตุผลทางการเมืองล้วนๆก็ไม่มีประโยชน์อีกต่อไปสำหรับภาครัฐที่จะจับบิชอปคาทอลิกไปจำคุกและทำให้หมดเสรีภาพเพราะความเป็นเอกภาพต่อกรุงโรม  นี่เป็นเงื่อนไขที่ยังไม่อาจตกลงกันได้ และในขณะเดียวกันก็เป็นความช่วยเหลือที่ดีที่สุดที่จะสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันที่สมบูรณ์ระหว่างชุมชนคาทอลิกทั้งสอง

 (Light of the World: The Pope, the Church, and the Signs of the Times, 2010, p.42).

(โดย Sergio Centofantiและคุณพ่อ Bernd Hagenkord, SJ)

 

(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บบทวิเคราะห์มาฝากเพื่อการภาวนาอันนำไปสู่เอกภาพของพระศาสนจักรในประเทศจีน)