การเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาแบบทั่วไป: อธิบายการเสด็จเยือนชิลีและเปรู
‘ให้เราภาวนาสำหรับชิลีและเปรูเพื่อพระเจ้าจะได้อวยพรทั้งสองประเทศ’
วันพุธที่ 24 มกราคม ค.ศ.2018
การเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตะปาปาแบบทั่วไป ได้มีขึ้นเวลา 9.25 น. ของวันพุธที่ 24 มกราคม ค.ศ.2018 ณ ลานมหาวิหารนักบุญเปโตรซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสทรงพบกับกลุ่มผู้แสวงบุญจากประเทศอิตาลีและจากทั่วโลก
คำปราศรัยเป็นภาษาอิตาเลียนของพระสันตะปาปาเกี่ยวกับเรื่องการเสด็จไปเยือนประเทศชิลีและเปรูเป็นหลักซึ่งพระองค์ทรงเสด็จกลับมาไม่กี่วันก่อน จากนั้นพระองค์ก็ทรงแสดงความเสียใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสาธารณะรัฐประชาธิปไตยคองโก
หลังจากที่สรุปคำสอนในหลายภาษาแล้วพระองค์ทรงกล่าวต้อนรับกลุ่มสัตบุรุษที่มาเข้าเฝ้าการเข้าเฝ้าจบลงด้วยการสวดข้าแต่พระบิดาตามด้วยการอวยพรของสมเด็จพะสันตะปาปา
ต่อไปนี้เป็นคำแปลพระดำรัสของสมเด็จพระสันตะปาปา:
***
อรุณสวัสดิ์พี่น้องชายหญิงที่รักทั้งหลาย
การเข้าเฝ้าครั้งนี้จะมีในสองสถานที่ คือกับพวกท่าน ณ ที่จตุรัสแห่งนี้และในห้องโถงที่ติดกับที่นี้ พ่อจะพบกับเด็กพิการกลุ่มหนึ่ง พวกเขาจะพบท่านและท่านจะได้พบกับพวกเขา เราจะเชื่อมโยงกันด้วยวิธีนี้ ขอให้พวกเราไปทักทายเด็กๆที่อยู่ในห้องโถงถัดไป น่าจะดีกว่าที่พวกเขาต้องมาอยู่ในที่โล่งซึ่งอากาศหนาวเย็น
พ่อกลับมาจากการเยือนเพื่อการอภิบาลประเทศชิลีและเปรูได้สองวันแล้ว เป็นสองประเทศที่ประชากรเป็นคนดี… ข้าพเจ้าโมทนาคุณพระเจ้า เพราะทุกอย่างดำเนินไปด้วยดี ข้าพเจ้าสามารถพบกับประชากรของพระเจ้าที่กำลังเดินทางอยู่ในประเทศเหล่านี้ และแม้ผู้ที่ไม่เดินทาง ผู้ที่ชอบอยู่เฉยๆ … แต่พวกเขาก็เป็นคนดี – ข้าพเจ้าให้กำลังใจพวกเขาให้ช่วยกันพัฒนาสังคม ข้าพเจ้าได้แสดงความกตัญญูต่อเจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน และบรรดาบิชอปที่ให้การต้อนรับข้าพเจ้าด้วยใจกว้างรวมถึงผู้ร่วมงานและอาสาสมัครด้วย ขอบคุณที่ทราบว่าแต่ละประเทศมีอาสาสมัครตั้ง 2 หมื่นคนทั้งประเทศเปรูและชิลี พวกเขาใจดีทุกคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นเยาวชน
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะไปชิลีมีการประท้วงกันหลายครั้งด้วยเหตุผลหลายอย่างดังที่ท่านทราบกันดีทางหน้าหนังสือพิมพ์ นี่ทำให้ให้เจตนาของข้าพเจ้าในการเยือนครั้งนี้มีความเร่งด่วนและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น“Mi paz as doy – ข้าพเจ้าขอมอบสันติสุขให้ท่าน” นี่เป็นพระวาจาของพระเยซูเจ้าที่ทรงมอบให้กับบรรดาศิษย์ของพระองค์ ซึ่งเรานำเอามากล่าวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณ ซึ่งเป็นพระพรแห่งสันติสุขซึ่งมีเพียงผู้ที่สิ้นพระชนม์และเสด็จกลับคืนชีพเท่านั้นที่จะสามารถมอบให้กับผู้ที่มอบตนเองให้กับพระองค์ นี่ไม่ใช่เพียงพวกเราบางคนที่ต้องการสันติสุขแต่โลกก็ต้องการสันติภาพในทุกวันนี้ซึ่งกำลังทำสงครามโลกกันที่นี่บ้างที่โน่นบ้าง… โปรดให้เราอธิษฐานภาวนาเพื่อสันติสุขด้วย!
ในการประชุมกับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและพลเรือนของประเทศ ข้าพเจ้าสนับสนุนวิถีการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยของชิลีซึ่งประชากรมีความเอื้ออาทรต่อกันและสามารถทีจะอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง ด้วยเป้าประสงค์นี้ข้าพเจ้าจึงชี้ให้เห็นวิธีการที่ต้องรู้จักฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องฟังคนยากจน เยาวชน คนชรา ผู้อพยพย้ายถิ่น รวมถึงต้องฟังชาวโลกด้วย
ในบูชามิสซาครั้งแรกที่ถวายเพื่อสันติสุขและความยุติธรรม ความสุขแท้หรือมหาบุญลาภต่างๆส่งเสียงกังวานออกมา โดยเฉพระอย่างยิ่ง “ผู้สร้างสันติสุขย่อมเป็นสุข เพราะเขาจะได้ชื่อว่าเป็นบุตรของพระเจ้า” (มธ. 5: 9) นี่เป็นบุญลาภในการเป็นประจักษ์พยานด้วยวิธีสร้างความใกล้ชิด แบ่งปัน และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กันและกันโดยอาศัยพระหรรษทานของพระเยซูคริสตเจ้าซึ่งเป็นสายใยแห่งความเป็นหนึ่งเดียวของสังคมพระศาสนจักรและสังคมพลเรือน
ในกระบวนการแห่งความใกล้ชิดกันนี้ การแสดงท่าทีออกมามีความสำคัญกว่าคำพูด เพราะเป็นการแสดงท่าทีที่มีความสำคัญซึ่งข้าพเจ้าสามารถทำได้คือการไปเยี่ยมเรือนจำหญิงที่กรุงซานติอาโก(Santiago)ข้าพเจ้าเห็นหน้านักโทษหญิงเหล่านั้น บางคนเป็นคุณแม่ที่ยังสาวอยู่กำลังอุ้มลูกอยู่ในอ้อมแขน ถึงแม้จะต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ พวกเขาก็ยังแสดงให้เห็นถึงความหวัง ข้าพเจ้าสนับสนุนพวกเขาให้เรียกร้องทั้งเพื่อพวกเขาเองและสถาบันเรือนจำให้มีการเตรียมตัวเพื่อการกลับเข้าสู่สังคมเพื่อสร้างกำลังใจและความหวังให้กับความทุกข์ประจำวันของพวกเขา เราไม่อยากที่จะคิดถึงคุก ไม่ว่าจะเป็นคุกที่ไหนโดยที่จะไม่คิดถึงมิติแห่งการที่ต้องกลับคืนเข้าสู่สังคม เพราะหากปราศจากซึ่งความหวังประการนี้ คุกก็คือสถานที่ทรมาน อันไม่รู้จักจบสิ้น ตรงกันข้ามหากท่านจะพยายามกระทำการเพื่อคืนพวกเขาเข้าสู่สังคม แม้พวกที่ต้องโทษตลอดชีวิตก็อาจกลับคืนสู่สังคมได้โดยอาศัยผลงานของผู้คุมขังและสังคมด้วยการเปิดให้มีการเสวนากัน แต่ว่าทุกเรือนจำจะต้องมีมิติแห่งการเตรียมนักโทษให้กลับคืนสู่สังคมเสมอ
พร้อมกับบรรดาบาทหลวง บรรดาผู้รับเจิมถวายตัว และบิชอปแห่งประเทศชิลีข้าพเจ้ามีประสบการณ์จากการประชุมสองครั้งซึ่งเป็นประโยชน์และมีการแบ่งปันบาดแผลบางประการซึ่งเป็นเรื่องทรมานใจของพระศาสนจักรในประเทศนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าพเจ้าได้ยืนยันกับบรรดาพี่น้องว่าไม่ให้มีการออมชอมกันในเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็ก/ผู้เยาว์ และขณะเดียวกันก็ให้ไว้วางใจในพระเจ้าซึ่งอาศัยวิกฤตนี้จะทรงชำระล้างและฟื้นฟูสังฆบริกรของพระองค์
นอกนั้นข้าพเจ้ายังได้ถวายบูชามิสซาอีกสองครั้งในประเทศชิลี ครั้งแรกทางภาคใต้และอีกครั้งทางภาคเหนือ ทางภาคใต้เราทำกันที่เมืองอาราอูคาเนีย(Araucania)เป็นดินแดนที่ชาวอินเดียน ชนเผ่าพิ้นเมืองมาปูเก้(Mapuche)ตั้งรกรากอยู่ พิธีบูชามิสซาได้เปลี่ยนความทุกข์ยากของประชาชนให้เป็นความชื่นชมยินดี มีการอธิษฐานให้เกิดสันติภาพโดยให้มีความสมานฉันท์กันในความแตกต่าง และให้ทุกคนปฏิเสธการใช้ความรุนแรง ส่วนอีกมิสซาหนึ่งที่ทำในภาคเหนือนั้นทำที่เมืองอีกวีค(Iquique)ที่อยู่ระหว่างมหาสมุทรกับทะเลทราย นี่เป็นการพบปะกันของชนหลายเผ่าพันธุ์ที่แสดงความเป็นอัตลักษณ์ของตนด้วยศรัทธาประชานิยม
การประชุมกับบรรดาเยาวชนและมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งชิลีเป็นการตอบสนองต่อการท้าทายที่สำคัญและความแหมายแห่งชีวิตของชนรุ่นใหม่ ข้าพเจ้าได้นำเอาคำพูดของนักบุญอัลแบร์โต อูร์ตาโด(Albert Hurtado)มาให้เยาวชนคิดอีกครั้งหนึ่ง “ถ้าพระคริสตเจ้าเป็นข้าพเจ้า พระองค์จะทำอย่างไร?” ส่วนที่มหาวิทยาลัย ข้าพเจ้าเสนอรูปแบบของการอบรมแบบองค์รวม เพื่อสร้างความเป็นอัตลักษณ์ของความเป็นคาทอลิกซึ่งทำให้ทุกคนสามารถสร้างสังคมที่มีความหลากหลายให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีการซ่อนความขัดแย้งไว้แต่ได้รับการจัดการด้วยการเสวนา ความขัดแย้งจะมีอยู่เสมอ แม้กระทั่งในบ้าน แต่การจัดการความขัดแย้งที่ไม่ถูกต้องจะยิ่งกลายเป็นผลร้ายกว่า ต้องไม่ปัดความขัดแย้งไว้ใต้พรม หากมีความขัดแย้งต้องแก้ไขด้วยการเสวนา ลองคิดถึงความขัดแย้งเล็กๆน้อยๆที่บ้าน จงอย่าไปซ่อนความขัดแย้งเอาไว้ ต้องมีความกล้าหาญเผชิญหน้ากับมัน จงหาเวลาที่จะทำเช่นนั้นเพื่อเจรจากัน เราจะสามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีนี้คือการเสวนา
ณ ประเทศเปรูคติธรรมแห่งการเยือนคือ ‘Unidospor la esperanza–การเป็นหนึ่งเดียวกันในความหวัง”เป็นหนึ่งเดียวกันไม่ใช่อยู่ร่วมกันเฉยๆ ทุกคนเหมือนกันหมด นี่ไม่ใช่เป็นหนึ่งเดียวกัน แต่ในความมั่งคั่งแห่งความแตกต่างซึ่งเราได้รับมรดกจากประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม การที่ได้พบปะกับชนพื้นเมืองอาเมซอนเปรู(Peruvian Amazon)เป็นประจักษ์พยานได้ดีถึงประเด็นนี้ และนี่ก็เป็นเหตุจูงใจที่เราจะมีการประชุมสมัชชาซีน็อดแห่งมหภาคอเมซอน(Pan Amazon Synod)ในเดือนตุลาคม ค.ศ.2018 และเป็นเวลาที่ข้าพเจ้าได้อยู่กับชนพื้นเมืองปูเอโต มาลโดนาโด(Puerto Maldonado)เด็กๆของบ้านแห่งเจ้าชายน้อย“House of the Little Prince” เราทุกคนต่างพูดว่า “ไม่เด็ดขาด” ต่อการสร้างอาณานิคมแห่งเศรษฐกิจและอุดมการณ์
ในโอกาสที่สนทนากับเจ้าหน้าที่ภาครัฐและพลเรือนของประเทศเปรูข้าพเจ้าแสดงความชื่นชมต่อมรดกทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และชีวิตจิตของประเทศนั้น ข้าพเจ้าชี้ไปยังสองประเด็นใหญ่ที่กำลังส่งสัญญาณอันตราย นั่นคือความเสื่อมโทรมของของระบบนิเวศน์/สังคม และการคอรัปชั่น ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าท่านเคยได้ยินเรื่องคอรัปชั่นของประเทศนี้ไหม… ข้าพเจ้าไม่ทราบนะ… ไม่ใช่ว่าเราอาจพบได้ในที่ต่างๆ แต่ที่นี่ก็เป็นไปกับเขาด้วย และนี่แหละเป็นอันตรายยิ่งกว่าโรคไข้หวัดใหญ่เสียอีกซึ่งทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างยุ่งเหยิงและทำลายหัวใจ ขอร้องเถิด จงอย่ามีพฤติกรรมคอรัปชั่นเลย ข้าพเจ้าได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าไม่มีใครได้รับการยกเว้นจากความรับผิดชอบท่ามกลางอันตรายสองประการนี้ และทุกคนต้องรู้สึกเป็นหน้าที่รับผิดชอบ ที่จะต้องขจัดสิ่งเล็วร้ายนี้ให้จงได้
ข้าพเจ้าได้ถวายบูชามิสซาแรกที่ประเทศเปรูติดชายทะเลในเมืองตรูฮิลโย(Trujillo)ซึ่งปีที่ผ่านมาพายุชื่อนิโน คอสติเอโร(Nino costiero)ได้ถล่มอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนได้รับความเสียหายเป็นอันมาก ดังนั้นข้าพเจ้าจึงสนับสนุนให้ประชาชนมีปฏิกิริยาต่อเรื่องนี้รวมทั้งพายุแห่งอาชญากรรมอื่นๆด้วย เป็นต้นว่า การขาดการศึกษา การตกงาน และการมีบ้านที่ปลอดภัย ที่เมืองตรูฮิลโย ข้าพเจ้าได้พบกับบาทหลวงและผู้รับการเจิมถวายตัวแห่งภาคเหนือของประเทศเปรูโดยแบ่งปันกับพวกเขาเกี่ยวกับความชื่นชมยินดีแห่งกระแสเรียก พันธกิจ และความรับผิดชอบในความเป็นหนึ่งเดียวของพระศาสนจักร ข้าพเจ้าขอร้องให้พวกเขาจดจำความมั่งคั่งแห่งมรดกที่พวกเขาได้รับและมีความซื่อสัตย์ต่อรากเหง้าของตนเอง และในบรรดารากเหง้าเหล่านี้คือ ความศรัทธาประชานิยมต่อแม่พระ และที่เมืองตรูฮิลโย(Trujillo)นี้ ได้จัดให้มีการฉลองแม่พระซึ่งข้าพเจ้าทำพิธีสวมมงกุฎแม่พระให้เป็นพระแม่พรหมจารีแห่งประตูสวรรค์และประกาศให้พระแม่เป็น “พระมารดาแห่งพระเมตตาและความหวัง”
วันสุดท้ายของการเดินทางซึ่งเป็นวันอาทิตย์ข้าพเจ้าได้ถวายบูชามิสซาที่กรุงลีมาเมืองหลวงของประเทศเปรู โดยเน้นประเด็นไปที่ชีวิตจิตและพระศาสนจักร ในสถานที่สักการะที่มีชื่อเสียงแห่งเปรูมีภาพวาดพระเยซูคริสต์ถูกตรึงบนไม้กางเขนชื่อว่า “Senor de los Milagros” ข้าพเจ้าพบชีลับประมาณ 500 คน ผู้ซึ่งถือว่าเป็น “ปอด” แห่งความเชื่อและเป็นคำภาวนาสำหรับพระศาสนจักรและสังคม ในอาสนวิหารข้าพเจ้าทำพิธีอธิษฐานภาวนาพิเศษโดยอาศัยการวอนของของบรรดานักบุญชาวเปรูแล้วตามมาด้วยการประชุมกับบรรดาบิชอปแห่งประเทศซึ่งข้าพเจ้าเสนอแบบฉบับของนักบุญตูริบิอุสแห่งมอนโกรเวโย(Turibiusof Mogrovejo)ข้าพเจ้ายังชี้ให้พวกเขาเห็นบรรดานักบุญชายหญิงหนุ่มสาวชาวเปรูที่ไม่เสียเวลาไปกับ “การตบแต่ง” ภาพพจน์ของตน แต่ติดตามพระเยซูคริสตเจ้าผู้ทรงมองพวกเขาด้วยความหวัง พระวาจาของพระเยซูประทานความหมายให้กับทุกสิ่งเสมอ และพระวรสารแห่งการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิทครั้งสุดท้ายก็สรุปสารของพระเจ้าต่อประชากรของพระองค์ในประเทศชิลีและประเทศเปรู “จงเสียใจในบาปและจงเชื่อในข่าวดี” (มก. 1: 15) ดังนั้นพระคริสตเจ้าดูเหมือนจะกล่าวว่า ท่านจะได้รับสันติสุขที่เรามอบให้ และท่านจะเป็น หนึ่งเดียวกันในความหวังของเรา นี่คือการสรุปการเดินทางโดยประมาณของข้าพเจ้า ขอให้เราอธิษฐานภาวนาสำหรับประเทศชิลีและประเทศเปรูเพื่อพระเจ้าจะได้อวยพรทั้งสองประเทศนั้น
(วิษณุ ธัญญอนันต์ – เก็บข่าวคราวนี้มาเพื่อการไตร่ตรองร่วมกัน)ั
นดินแดน