Skip to content

แผนกฆราวาสและครอบครัว  ในสหพันธ์สภาบิชอปแห่งเอเชีย (FABC)  ได้จัดศึกษาเรื่องข่าวดีของครอบครัว  วันที่ 8-12 ตุลาคม ค.ศ. 2017  ณ ศูนย์อภิบาลคามิลเลี่ยน ลาดกระบัง กรุงเทพฯ  โดยศึกษาสมณลิขิตเตือนใจ  ความปีติยินดีแห่งความรัก (AL) และการสัมมนาเรื่อง การอภิบาลครอบครัว ของ FABC (ธันวาคม ค.ศ. 2016)  มีสมาชิกจาก 9 ประเทศ  จำนวน 19 คน  จากประเทศไทย คือ บิชอป สิริพงษ์  จรัสศรี  คุณพ่อเฉลิม  กิจมงคล  และคุณพ่อภูวนารถ  แน่นหนา

แนวทางสำหรับศาสนบริการครอบครัวในเอเชีย

การทำงานด้านครอบครัว  จำเป็นต้องมีการอบรม  เพื่อให้ทุกคนรู้สึกว่า  เราได้รับเรียกให้รักครอบครัวและทะนุถนอมค้ำชู  ครอบครัวไม่ใช่ปัญหาแต่สำคัญที่สุดก่อนอื่นใด ครอบครัวเป็นโอกาส (AL 7)

ครอบครัวในเอเชีย  พบกับการเบียดเบียนศาสนา  ความยากจน  การอพยพ  ความขัดแย้งทางการเมือง – วัฒนธรรม  การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ  และความเครียด

ในการทำงานอภิบาลครอบครัว  เราจึงมีแนวทางต่อไปนี้

  1. ศาสนบริการครอบครัว คือ ศาสนบริการแห่งเมตตาธรรม ดังนั้นจำเป็นต้องมีการฝึกทักษะพื้นฐาน  ให้รู้จักฟังอย่างเห็นใจ (มิใช่ตัดสิน) รู้จักเคารพผู้ที่มาหาเรา  ไม่ว่าเขาอยู่ในสถานการณ์ใดๆ (AL 310, 318, 322)
  2. ศาสนบริกรต้องใช้ “กฎแห่งการค่อยเป็นค่อยไปในงานอภิบาล” และการแยกแยะด้านอภิบาล  การพบปะครอบครัว ณ สภาพของเขา  และก้าวเดินไปกับเขาเพื่อเปิดรับพระวรสารด้านการแต่งงาน (AL 122, 293, 295)
  3. ศาสนบริกรครอบครัวต้องเข้าใจเทววิทยาด้านการแต่งงาน เพื่อแนะนำคู่แต่งงานด้านศีลสมรส (AL 71, 73, 120-121)
  4. ศาสนบริกรครอบครัวควรช่วยครอบครัวให้ตระหนักแนวทางที่ทำลายชีวิตครอบครัว และส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งชีวิต (AL 32-51)
  5. ศาสนบริกรครอบครัวต้องตระหนักและยืนยันศักดิ์ศรีของสตรี ส่งเสริมความสัมพันธ์เสมอภาคในการแต่งงาน  ที่บ้าน  การตัดสินใจด้วยกัน  ความรับผิดชอบฐานะผู้ปกครอง ฯลฯ  เรื่องนี้ควรมีประจักษ์พยานจากเขตวัดด้วย (AL 54)
  6. ศาสนบริกรครอบครัวจำเป็นต้องสนใจครอบครัวที่ถูกลืม และต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เอาใจใส่ครอบครัว เช่น สุขภาพอนามัย  การหางาน  และบ้าน (AL 44)
  7. การแต่งงานกับคนต่างความเชื่อ เป็นข้อเท็จจริง  เราต้องสนใจอภิบาลครอบครัวลักษณะนี้ (AL 247, 248)
  • ในสถานการณ์อันสลับซับซ้อนบางอย่าง เราควรเข้าไปหา
  • ควรต้อนรับเข้าในวิถีชุมชนวัด (BEC)
  • ถือเป็นโอกาสเสวนาและประกาศข่าวดี
  • สนใจอบรมความเชื่อแก่ลูกๆ ในครอบครัวนี้
  1. ศาสนบริกรครอบครัวต้องตระหนักถึงเทคโนโลยีและใช้สื่อสังคม เพื่อการอภิบาลครอบครัว (FABC XI, 37-38)
  2. การร่วมมือกันและการประสานงานในเขตวัดและสังฆมณฑล กับบุคลากรที่ทำงานช่วยครอบครัว  และผู้เชี่ยวชาญ (เช่น นักสังคม  แพทย์  นักจิตวิทยาบำบัด ฯลฯ)
  3. มีโครงสร้างสำหรับศาสนบริการครอบครัวในเขตวัด และสังฆมณฑลที่ยังไม่มีผู้รับผิดชอบด้านนี้
  4. ศาสนบริกรครอบครัวต้องรับการอบรมต่อเนื่อง และรู้จักดูแลตนเองเพื่อทำงานให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น

แปลสรุปจาก Guidelines for Family Ministry (October 2017)