Skip to content

ฟื้นฟูด้วยความอ่อนโยน
การช่วยผู้อื่นให้ร่วมแก้ไขข้อขัดแย้ง

บทความนี้มาจากหนังสือ การแก้ไขข้อขัดแย้งประจำวัน  ซึ่งพ่อได้เคยแปลสรุปลงในอุดมสาร  ตอนนี้เป็นตอนที่ 16

วิคกี้ถูกไล่ออกจากงานเพราะความประพฤติ  มีนิสัยชอบวิจารณ์จูเลียนายจ้างของเธอ  วิคกี้มาขอคำแนะนำจากผมเพราะเธอขู่จะฟ้องร้องคดีที่ศาล  เราคุยกันนานและภาวนาว่าเธอจะทำให้พระเจ้าพอพระทัยและเทิดเกียรติพระองค์ในสถานการณ์นี้อย่างไร  พระเจ้าทรงทำงานในใจของวิคกี้  เธอตัดสินใจกลับไปหาจูเลียและรับผิดชอบปัญหา

เมื่อทั้งสองพบกันวันรุ่งขึ้น  จูเลียคิดว่าวิคกี้จะขอเงินเพื่อยกการฟ้องร้องขึ้นศาล  วิคกี้กลับยอมรับความผิดว่าเธอสมควรถูกไล่ออกและขอโทษ  จูเลียประหลาดใจมาก  จนอึ้ง

วิคกี้ขอโทษและขออนุญาตแชร์ความเห็นว่า  เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงปัญหากับนายจ้างในอนาคต
วิคกี้พูดจริงใจมากจนจูเลียยอมรับฟัง  เธอพูดด้วยความเคารพ และสังเกตว่าจูเลียมีน้ำตาคลอเบ้า
จูเลียบอกว่า  เวลาฟังวิคกี้พูด  เธอเป็นคนแรกที่แคร์ฉันมาก  และกล้ามาพูดแบบนี้
เมื่อวิคกี้พูดเสร็จ  จูเลียมิได้เห็นด้วยทุกประการ  แต่ก็ยอมรับข้อเสนอของวิคกี้โดยไม่มีข้อขัดแย้ง  อาศัยพระหรรษทานของพระเจ้า  เธอทั้งสองจากไปด้วยดี  มีสันติสุข

เราเห็นแล้วว่า กฎที่ 2 “จงเอาท่อนซุงออก” ว่าคุณไม่ควรเริ่มสนทนากับผู้อื่นเกี่ยวกับความผิดของพวกเขา  จนกว่าคุณได้ยอมรับผิดชอบส่วนที่คุณทำให้เกิดข้อขัดแย้ง  ถ้าคุณทำเช่นนี้ก่อน  สารภาพผิด  บ่อยครั้งคู่ขัดแย้งก็จะยอมรับผิด  แต่มิใช่ทุกคนจะตอบรับเช่นนี้เสมอ  บางคนอาจไม่รับผิดชอบ  แล้วคุณอาจจะอาย  ถ้าคุณเริ่มนำความผิดของเขามาพูด  พวกเขาก็อาจคิดว่าการยอมรับผิดของคุณเสแสร้ง  แต่ถ้าคุณเดินจากไปโดยไม่พูดถึงความผิดของพวกเขา  พวกเขาก็ไม่เปลี่ยนแปลง

การพูดกับผู้อื่นเกี่ยวกับข้อขัดแย้งอาจไม่เป็นที่พอใจ  ไม่มีใครอยากสร้างความตึงเครียดจนถึงจุดระเบิด  และร่ายยาวความผิดของกัน  บุคคลที่เราโจมตีก็จะป้องกันตัว  และว่ากล่าวถึงความผิดของเรากลับ  ซึ่งนำไปสู่ความเจ็บปวดตามมา  คนที่มีส่วนในข้อขัดแย้งนี้ที่มีทักษะพูดเก่ง ก็ชนะ  แต่ทุกคนก็จะเสียความสัมพันธ์ที่สำคัญต่อกัน

จึงต้องมีวิธีที่ดีกว่า  เพื่อสื่อสานกันเกี่ยวกับความผิดพลาดของพวกเขา  เวลาเหมาะสมที่จะถามว่า “ข้าพเจ้าจะช่วยพวกเขาแก้ไขข้อขัดแย้งนี้อย่างไร” นักบุญเปาโลสอนว่า “ถ้าท่านพบว่าใครคนหนึ่งทำผิด  ท่านซึ่งมีพระจิตเป็นผู้นำ  จงตักเตือนแก้ไขเขาด้วยความอ่อนโยน” (กท 6:1)

วรรคนี้ให้หลัก G ตัวที่ 3 ในการสร้างสันติ คือ ฟื้นฟูด้วยความอ่อนโยน (Gently restore)
แปลจาก  Resolving  Everyday Conflict   หน้า 83-86.

โดย  Ken  Sande  และ  Kevin  Johnson