เมื่อก่อนเราไม่ค่อยเห็นซิสเตอร์สอนเทววิทยา หรือ ปรัชญา แก่สามเณรใหญ่ แต่ปัจจุบัน หลายสังฆมณฑลในหลายประเทศก็ค่อยๆ มีเพิ่มจำนวนขึ้น
แม้นักบวชหญิงมีจำนวนมาก สตรีมีบทบาทเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในสังคม ในการจัดการ การปกครอง และการบริหาร รวมทั้งเป็นครูในสามเณราลัย
ซิสเตอร์ซาร่า บัทเลอร์ ได้รับเชิญให้สอนเทววิทยาในสามเณราลัย ตั้งแต่ ค.ศ. 1978 ในรัฐอิลลินอยส์ ในนิวยอร์ค เธอกล่าวว่า “สามเณราลัยมีมิติด้านธรรมทูตด้วย… เป็นการเพิ่มคุณค่าสำหรับทุกคน”
สำหรับสามเณรใหญ่ การมีครูสตรี มีค่ามากกว่าการสอนวิชาความรู้ ยังหมายความถึง การมีรูปแบบที่แตกต่าง และการยอมรับความเสมอภาคตามธรรมชาติ
“ดิฉันคิดว่าการรู้จักและการสัมพันธ์กับบรรดาสตรี เป็นเครื่องช่วยสำคัญต่อบรรดานักศึกษา ซึ่งเป็นบาทหลวงในอนาคตของเรา มีผลดี มีสัมพันธภาพในทางสร้างสรรค์กับบรรดานักศึกษาและผู้ร่วมงาน”
จากสหรัฐอเมริกามาสู่ฟิลิปปินส์ พระคาร์ดินัลตาเกล ของมนิลา ก็ไว้ใจให้ซิสเตอร์นิมฟา อีบอรา สอนวิชาพระคัมภีร์ เธอบอกว่า “ก่อนเข้าชีวิตนักบวช ฉันได้สอนในโรงเรียนประถม ฉันไม่คิดว่าจะต่ออาชีพนี้ในฐานะนักบวช เมื่อจบขั้นโนวิส ผู้ใหญ่ของคณะได้ส่งฉันให้เรียนเทววิทยา จนจบปริญญาโทด้านพระคัมภีร์ ได้สอนในมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งหนึ่งที่เซบู ฟิลิปปินส์ ในปี ค.ศ. 2010 ผู้ใหญ่ส่งฉันไปศึกษาต่อที่กรุงเยรูซาเล็มกับบรรดาบาทหลวงฟรังซิสกัน ที่ Studium Biblicum จบปริญญาโทด้านพระคัมภีร์และโบราณคดี ฉันเดินทางกลับฟิลิปปินส์และผู้ใหญ่ให้ฉันไปสอนในบ้านเณร”
ซิสเตอร์นิมฟาบอกว่าในฟิลิปปินส์มีครูผู้หญิงสอนเป็นสิ่งธรรมดาแล้ว เป็นการเพิ่มคุณค่าสำหรับบรรดาสามเณร ไม่ใช่แค่พวกเขาวางตนสัมพันธ์กับสตรีเท่านั้น แต่สตรีเองก็ช่วยให้การอบรมสมบูรณ์ขึ้น พวกเขาสามารถได้รับมุมมองทางเทววิทยาที่แตกต่างไปจากสตรีด้วย อะไรอีก บางครั้งในชั้นเรียนก็มิได้มีเฉพาะสามเณรเท่านั้น แต่มีนักบวชหญิงและฆราวาสสตรีที่เลือกเรียนเทววิทยาด้วย ในชั้นเรียนวิชาเทววิทยาที่เรียนด้วยกัน ความเห็นของทั้งชายและหญิงในเวลาต้องอภิปราย ก็เติมเต็มให้กัน ให้คุณค่าเพิ่มขึ้นต่อกันและกัน ด้วยวิธีนี้การประกาศข่าวดีเป็นของทุกคนทั้งชายและหญิง
สตรีและบาทหลวง
เรามั่นใจในเรื่องนี้สำหรับอนาคตของพระศาสนจักร แม้ว่ามีการรังเกียจสตรี ความกลัว ความสงสัย ความสะดวก หรือการเฉยเมย ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบาทหลวงและสตรีได้ถูกมองข้ามมานาน มันเป็นพื้นฐานหากชีวิตของชุมชนคริสตชน เป็นการพบปะของการเติบโตและพัฒนาการที่เกิดผลจริงสำหรับทุกคน ทำไม… บาทหลวงยังคงเห็นสตรีเป็นอุปสรรค กลัวเสียกระแสเรียก มากกว่าถือว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความสมบูรณ์ ทำไมไม่มีสตรีในกระบวนการอบรมสามเณร
นักบุญยอห์น ปอล ที่ 2 ได้เน้นใน Pastores Dabo Vobis (ค.ศ. 1992) “มิติความสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของเอกลักษณ์บาทหลวง” ความสัมพันธ์อะไรสามารถถูกสร้างได้ ถ้าคนหนึ่งไม่ถือบุคคลอื่นในฐานะเท่าเทียมกัน ยิ่งกว่านั้น บรรดาสามเณร อนาคตเป็นบาทหลวง เจ้าอาวาส ธรรมทูต หรือครู ต่างก็อาศัยในโลกที่มีทั้งชายและหญิง ด้วยข้อเท็จจริงนี้ เราจึงทำพันธกิจโดยปราศจากอคติ ความคิดครอบงำ หรือความหยิ่งยโส
บิชอป วีระ อาภรณ์รัตน์ แปล
จาก L’Osservatore Romano, บทความของ Franca Giansoldati, 20 พฤษภาคม 2016, หน้า 10-11.