Skip to content

รางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ปี 2020

ความจำเป็นสำหรับความเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวกัน  และความร่วมมือกันหลายด้าน  เป็นความสำคัญเด่นชัดมากกว่าแต่ก่อน  คณะกรรมการรางวัลโนเบลของประเทศนอร์เวย์  ตัดสินมอบรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ  ปี 2020 แก่โครงการอาหารโลก (World Food Programme)ของสหประชาชาติ  ที่พยายามต่อสู้ความหิว  ที่ช่วยเหลือให้มีสภาพดีขึ้น  สำหรับสันติภาพ  ในสถานที่ที่มีความขัดแย้ง  และพยายามออกแรง  ป้องกันความหิวโหย  เหมือนผู้ที่ใช้อาวุธ ทำสงครามและความขัดแย้ง

โครงการอาหารโลก  เป็นองค์การช่วยมนุษย์ที่ใหญ่ที่สุด  ช่วยผู้หิวโหยให้มีอาหารรับประทาน  ใน ค.ศ. 2019  โครงการนี้ช่วยประมาณ  100 ล้านคน  ใน 88 ประเทศ  ผู้เป็นเหยื่อเคราะห์ร้าย  ขาดอาหาร  ใน ค.ศ. 2015 เป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ  คือขจัดความหิว  ไม่กี่ปีมานี้  สถานการณ์แย่ลง  ในปี 2019  ประชาชน 135 ล้านคน  เผชิญความหิวโหย  จำนวนสูงหลายปี  สาเหตุเพราะสงคราม  และความขัดแย้งที่ใช้อาวุธต่อสู้กัน

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า  ทำให้มีคนหิวโหยยิ่งขึ้น  ในหลายประเทศ เช่น เยเมน  สาธารณรัฐคองโก  ไนจีเรีย  ซูดานใต้  และบูร์กีนาฟาโซ  ความขัดแย้งรุนแรงภายในประเทศ  และการแพร่ระบาดทำให้ประชาชนรับเคราะห์หิวโหยเพิ่มจำนวนขึ้น   การเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัส โครงการอาหารโลก  ได้พยายามช่วยเหลืออย่างน่าประทับใจ  “อาหารเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด  ต่อสู้ความวุ่นวายนี้  จนกว่าเราจะมีวัคซีนเยียวยารักษา”

โลกกำลังประสบวิกฤติความหิว  ถ้าโครงการอาหารโลก  และองค์การอื่นๆที่ช่วยเหลือด้านอาหาร  ไม่รับช่วยเหลือด้านการเงินตามที่พวกเขาร้องขอมา

ความเชื่อมโยงระหว่างความหิว  และความขัดแย้งที่ใช้อาวุธ  เป็นวงจรชั่วร้าย  สงครามและความขัดแย้ง  เป็นสาเหตุให้ขาดอาหาร  และความหิวโหย   เหมือนความหิวและการขาดอาหาร ก็เป็นสาเหตุความขัดแย้ง  ก่อให้เกิดความรุนแรงได้   เราจะไม่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายขจัดความหิวได้ หากเราไม่ยุติสงคราม  และความขัดแย้งที่ใช้อาวุธ

คณะกรรมการรางวัลโนเบิล แห่งประเทศนอร์เวย์  ปรารถนาเน้นว่าการจัดความช่วยเหลือเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร  มิใช่ป้องกันความหิวเท่านั้น  แต่ยังสามารถช่วยให้เกิดความมั่นคง  และสันติภาพด้วย  โครงการอาหารโลกเป็นผู้นำในการทำงานนี้  กับพยายามส่งเสริมสันติภาพ  โดยอาศัยโครงการริเริ่มต่างๆในทวีปอเมริกาใต้  อาฟริกา  และอาเซีย

            โครงการอาหารโลก  ได้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในกระบวนการทางทูต ในเดือนพฤษภาคม  2018  ในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ  ซึ่งเป็นครั้งแรก  ที่ประกาศเชื่อมโยงระหว่างความขัดแย้งและความหิว…  และเป็นเจตนาของอัลเฟรด  โนเบล  ที่ต้องการสร้างภราดรภาพในประเทศต่างๆ

งานของโครงการอาหารโลก  ควรได้รับการรับรู้  การรับรอง  และการสนับสนุนจากประเทศต่างๆในโลก

กรุงออสโล    9 ตุลาคม 2020
ฟ.วีระ  อาภรณ์รัตน์  แปลสรุป (12 ตุลาคม 2020)
https://www.nobelprize.org/prizes/peace/2020/press-release